จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันศุกร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2553

คำอธิบายรายวิชา HT 306 ธุรกิจการขนส่งเพื่อการท่องเที่ยวปี2006

โดย
พิทยะ ศรีวัฒนสาร
(ภาพBangkok Motorcars Parade 1908 , ขอขอบคุณแหล่งข้อมูล)
คำอธิบายรายวิชา HT 306 ธุรกิจการขนส่งเพื่อการท่องเที่ยว

รูปแบบของธุรกิจการขนส่ง ทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ ในบริบทของการท่องเที่ยว ประวัติความเป็นมา และองค์ประกอบของการขนส่ง การจัดสรรทรัพยากรในการขนส่ง ความสัมพันธ์ระหว่างการขนส่งในรูปแบบต่างๆ ภาษาเฉพาะในธุรกิจการขนส่ง ระบบการบริการผู้โดยสารในยานพาหนะ การคิดคำนวณค่าโดยสาร เอกสารสำคัญในการเดินทาง ตลอดจนกฎระเบียบและพิธีการเดินทางเข้าออกระหว่างประเทศ


วัตถุประสงค์ในการเรียนการสอน
1. เพื่อให้นักศึกษามีความรู้เกี่ยวกับวิวัฒนาการของการขนส่งเพื่อการท่องเที่ยว
2. เพื่อให้นักศึกษาสามารถอธิบายถึงความหมาย ความสำคัญและองค์ประกอบของการขนส่ง และความสำคัญของการขนส่งรูปแบบต่างๆ
3. เพื่อให้นักศึกษาเรียนรู้ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อราคาค่าโดยสาร และการเดินทางท่องเที่ยว
4. เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเอกสาร ระเบียบและพิธีการเดินทางเข้าออกระหว่างประเทศ
กิจกรรมการเรียนการสอนและวิธีการสอน
- การบรรยายในชั้นเรียน
- การอภิปราย/เปิดโอกาสให้นักศึกษาซักถามในชั้นเรียน
- มอบหมายงาน (เดี่ยวและงานกลุ่ม)

-สอนสร้างKM Web Blog เพื่อประโยชน์แห่งบูรณาการระดับสูงในการทำPRผลงานของตนในสื่อ Internet
- ฉายวิดีทัศน์
- การบรรยายพิเศษโดยผู้ทรงคุณวุฒิ
วิธีประเมินผลผู้เรียน
1. การเข้าชั้นเรียนและparticipation 10 %
2. การทำรายงานเดี่ยว 5 %
3. การทำรายงานกลุ่มและนำเสนอ 15 %
4. การสอบกลางภาค 20 %
5. การสอบปลายภาค 50 %
รวม 100 %

วันอังคารที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2553

จากบันทึกกิจกรรมงานแสดงรถโบราณที่สยามพารากอนครั้งที่32 วันที่21-25 พฤษภาคม 2551ถึงเทคนิคการปั่นจักรยานโบราณ

โดย พิทยะ ศรีวัฒนสาร
ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://bbs.pramool.com/webboard/view.php3?katoo เป็นอย่างยิ่ง

เมื่อวันอาทิตย์ที่ 25 พฤษภาคม 2551 ผู้เขียนได้ไปชมการแสดงและประกวดรถโบราณซึ่งจัดโดยสมาคมรถโบราณแห่งประเทศไทยและรอยัล พารากอน ฮอลล์ ทุ่มงบประมาณกว่า 10 ล้านบาทร่วมกันจัด “งานประกวดรถโบราณ ครั้งที่ 32” (THE GLOSSY HERITAGE AWARDS 2008) ณ รอยัล พารากอน ฮอลล์ ชั้น 5 ศูนย์การค้าสยามพารากอน ระหว่างวันพุธที่ 21 – อาทิตย์ที่ 25 พฤษภาคม 2551 นับเป็นงานประกวดรถโบราณที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประเทศไทย โดยมีรถโบราณ รถคลาสสิค และรถจักรยานยนต์โบราณเข้าประกวดและแสดงมากกว่า 180 คัน รวมมูลค่าถึง 360 ล้านบาท การจัดงานประกวดรถโบราณมีขึ้นอย่างต่อเนื่องมาจนถึงปีที่ 32 แล้ว และเป็นครั้งแรกที่ทางสมาคมฯ ได้ตั้งชื่อรางวัลว่า ” THE GLOSSY HERITAGE AWARDS” พร้อมสโลแกน “เกียรติยศรถโบราณ ศักดิ์ศรีงานบูรณะ” เพื่อเป็นกำลังใจให้แก่นักอนุรักษ์ให้บูรณะและบำรุงรักษารถโบราณเพื่อเป็นมรดกที่ทรงคุณค่าของชาติสืบไป

งานประกวดรถโบราณ ครั้งที่ 32 มีความพิเศษและยิ่งใหญ่กว่าทุกปีด้วยเหตุผลหลายประการด้วยกัน ประการแรก คืองานในปีนี้เกิดจากความร่วมมือระหว่างสมาคมฯ กับรอยัล พารากอน ฮอลล์ ผนึกกำลังกันจัดขึ้น อีกทั้งยังมีหน่วยงานที่สำคัญอีกหลายแห่งที่ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี อาทิ กรมการขนส่งทางบก บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด หอภาพยนตร์แห่งชาติ สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยกระทรวงวัฒนธรรม ชมรมอนุรักษ์และพัฒนาจักรยานยนต์โบราณไทยภายใต้มูลนิธิอนุรักษ์และพัฒนาอากาศยานไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ และชมรมลิงน้อยสโมสร เป็นต้น ประการที่สอง คือ เป็นครั้งแรกที่จัดงานในสยามพารากอน ซึ่งตั้งอยู่ใจกลางเมือง ทำให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติได้ง่ายขึ้น และประการสุดท้าย จากความร่วมมือของหน่วยงานต่าง ๆ ดังที่กล่าวเบื้องต้น ทำให้งานปีนี้มีกิจกรรมที่มีความหลากหลาย และครบถ้วน อาทิ บริการจัดทำใบขับขี่รูปแบบใหม่ในงาน การถ่ายภาพบุคคลกับรถโบราณลงบนแสตมป์ส่วนตัว นิทรรศการการฉายภาพยนต์โบราณแบบ Drive-inTheater การวาดรูปเหมือนคู่กับรถโบราณ,นิทรรศการของสะสมหายากโดยไอสุริยสรวง สรรพสิ่งสะสมสถาน การประมูลรถโบราณ การประกวด Queen Concours D’Elegance งาน Vintage Dance 2008
งานแสดงรถยนต์โบราณที่สยามพารากอน2551-52




จักรยานโบราณล้อโต

สไตล์ดุดัน


รถจักรยานยนต์ยี่ห้อBMW โชว์ที่สยามพารากอน 2551-52 รุ่นนี้เมื่อครั้งที่พิทยะยังเป็นเด็กนักเรียนชั้นประถมที่อำเภอศีขรภูมิ จ.สุรินทร์ เคยเห็นครูเสถียร แสงกล้า และพี่ชายขับประจำ ทั้งอำเภอมีรถจักรยานยนต์BMWเพียง 2 คัน เท่านั้น

เวสป้า อาจเป็นรุ่น1964 พ่วงข้าง

งานแสดงรถโบราณสยามพารากอน 2551-52


งานแสดงรถโบราณสยามพารากอน 2551-52
คันนี้โชว์ในงานแสดงรถโบราณที่สยามพารากอน ประมาณปี2551-52



คันนี้เป็นรถมือสองจากญี่ปุ่น เจอที่ร้านขายจักยานมือสองที่อ.เมืองนครนายก ซื้อมาในราคา 5,500 บาท คล้ายรุ่นที่จิม แครีย์ปั่นในภาพยนตร์เรื่อง Trueman Show ปัญหาที่คาดไม่ถึงคือเมื่อยางในหมดสภาพแล้วอะไหล่หายาก ตอนนี้จึงจอดยางแบนอยู่ที่บ้าน

พิทยะเคยมีรถจักรยานโบราณอายุเกือบ60ปี ยี่ห้อแฮมเบิร์ก ของญี่ปุ่น ลักษณะคล้ายรถยี่ห้อสแตนดาร์ด(มี 2 คาน) ซึ่งผลิตในประเทศไทย รถคันนี้พิทยะซื้อโครง(ไม่มียาง บังโคลน อาน บังโซ่ เบรก บันได) มาจากเพื่อนลุงป่วน บ้านพะเนียด อ.โคกสำโรง จ.ลพบุรี ราคา 1, 000 บาท จากนั้นก็เอามาตัดตะแกรงท้ายให้เล็กและแต่งเพิ่มนิดๆหน่อยๆ หมดเงินไปประมาณ 1,500 บาท ปั่นสนุกมาก และปั่นไปไหนใครๆต่างก็พากันมอง เพราะการออกแบบที่ดูแข็งแรง สง่างาม ได้กำลังดีเหลือหลาย จึงปั่นอย่างเร็วในซอยที่บ้าน ปรากกฏว่ามีรถปิกอัพ ออกตัวจะแล่นเข้าถนนหลังโรงเรียนไผทอุดมศึกษา วิภาวดีรังสิต64 จึงเบรกอย่างแรง ผลก็คือเบรคชำรุด โชคดีไม่ได้ถูกรถคันนั้นชนเอา

รถรุ่นนี้หากเป็นของญี่ปุ่น แล้วแทบจะไม่มีราคาด้านการสะสมในวงการรถโบราณเลยทีเดียวจึงเหมาะสำหรับการปั่นเลยออกกำลังกายเท่านั้น ต่อมาพิทยะจึงขายต่อให้ร้านซ่อมจักรยานย่านตลาดปทุมธานี ตรงข้ามกับฟิวเจอร์ปาร์คในราคา 3,800 บาท ในอดีตรถจักรยานผู้ชายจะถูกใช้ในการบรรทุกข้าวของ บางครั้งรับน้ำหนักมากถึง300กิโลกรัม

จักรยานผู้ชาย ยี่ห้อฮัมเบิร์ก ญี่ปุ่นทำเลียนแบบจักรยานของเยอรมัน เวลาดูรถบรรดาเซียนชอบมาดูที่ตราตรงนี้ พอรู้ว่าเป็นของญี่ปุ่นก็ถอยออกไปรุ่นที่นิยมสะสมกันเป็นของยุโรป อังกฤษ เยอรมัน ฯลฯ เช่น ฟิลิป ฮัมเบอร์ ราเลย์ ฯลฯ
พิทยะเคยถามนักศึกษาจีนจากมหาวิทยาลัยแห่งชนชาติกวางสี มณฑลกวางสีว่า จักรยานโบราณมือสองที่จีนราคาคันลัเท่าไร ก็ได้รับคำตอบว่า คันละ 100 หยวน(500 บาท ) ราคาอย่างนี้หากมีเงินมากๆก็น่าลงทุนสั่งเข้ามาขายในไทยเป็นอย่างยิ่ง เพราะรถมือสองที่เคยเป็นของครูสอนศาสนาในจีนที่ถูกนำมาขายในไทยบางคันถูกตั้งราคาไว้สูงถึงคัน 7,000-10,000 เลยก็มี ขณะที่จักยานพับได้ในกรุงเทพฯขายคันละ3,000-3,500 บาท ที่ชายแดนไทย - กัมพูชา ขายเพียงคันละ 1,500 บาทเท่านั้นเอง
พิทยะเคยเห็นนักปั่นจักรยานบางคนปั่นจักรยานมีเกียร์โดยใช้เกียร์สูง ทำให้ต้องปั่นด้วยจังหวะถี่ๆคล้ายปั่นอยู่กับที่ตลอดเวลาและการทรงตัวก็ไม่ค่อยดี แม้การปั่นเช่นนี้จะไม่ต้องใช้แรงมาก แต่ก็ส่งผลให้ผู้ปั่นปวดเมื่อยกล้ามเนื้อต้นขาและข้อสะโพก เพราะต้องปั่นมากรอบกว่าปกติ เหมือนจักรยานหมุนล้อฟรีและออกตัวไปได้น้อยกว่าการใช้เกียร์ต่ำซึ่งแม้จะหนักแรงแบบจักรยานธรรมดา แต่ก็สามารถเคลื่อนตัวไปได้ระยะทางกว่ามากและทรงตัวได้ดีกว่า การปั่นจักรยานมีเกียร์ที่ดี จากประสบการณ์ส่วนตัว คือ ต้องมีการสลับใช้เกียร์อย่างผสมผสานกลมกลืนและเหมาะสม จึงจะไม่กินแรงผู้ปั่นมากเกินไป

วันเสาร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ความเรียงเรื่อง "ฮั้วดีที่สุด" ของนักศึกษามหาวิทยาลัยแห่งชนชาติกวางสี

โดย พิทยะ ศรีวัฒนสาร

เมื่อกลางเดือนตุลาคม 2553 ผู้เขียนมอบหมายให้นักศึกษาแลกเปลี่ยนชาวจีนจากมหาวิทยาลัยแห่งชนชาติกวางสี มณฑลกวางสี ที่มาศึกษาในภาควิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ค้นคว้าเรื่องเกี่ยวกับ “มหาขันทีเจิ้งเหอ” เพื่อนำเสนอหน้าชั้นเรียนและทำบันทึกเป็นความเรียงย่อๆ เผยแพร่ในเวบบล็อกจัดการความรู้ (KM Web Blog) วิชา ธุรกิจการขนส่งเพื่อการท่องเที่ยว (HT306) ของแต่ละคน
นักศึกษาจีนคนหนึ่งชื่อ น.ส.โต้หยินผิง เสนอความเรียง ชื่อ “ฮั้ว ดีที่สุด” โดยวิเคราะห์ความหมายรากศัพท์ที่ผสมผสานอยู่ในชื่อของ “มหาขันทีเจิ้งเหอ” เชื่อมโยงกับคำสอนในลัทธิขงจื้อ ไว้อย่างน่าสนใจ ว่า คำว่า “เหอ” ในชื่อของ “เจิ้งเหอ” ตรงกับเสียง “ ฮั้ว” ในภาษาแต้จิ๋ว แปลว่า “การสมานฉันท์” ซึ่งตรงกับอุดมการณ์ 1 ใน 5 ของการพัฒนาประเทศของพรรคคอมมิวนิสต์จีน นอกจากนี้ยังแปลว่า “ปาก” หมายถึง “การมีสิทธิ์ที่จะพูด” ส่วนคำว่า “เจิ้ง” มีเสียงพ้องกับชื่อคัมภีร์แห่งทางสายกลาง(โจงยง)
นางสาวโต้หยินผิงสรุปว่า “โจง” แปลว่า ธรรมชาติแห่งชีวิต เมื่อดำรงอยู่อย่างถูกกาลเทศะก็เรียกว่า เหอ แปลว่า สมานฉันท์กลมกลืน โจง คือ ฐานสำคัญของฟ้าดิน เหอ คือ หลักพึงปฏิบัติ เมื่อปฏิบัติจนกลมกลืนกับธรรมชาติเป็นอย่างดีแล้ว ฟ้าและดินก็จะอยู่ในตำแหน่งของตน สรรพสิ่งก็จะเจริญเติบโตตามธรรมชาติ
แนวคิดในความเรียงเรื่อง “ฮั้วดีที่สุด” นี้ นอกจากจะยึดหลักความสมดุลในธรรมชาติและวัฒนธรรมแบบ “หยิน-หยาง” แล้ว ยังสอดคล้องกับหลักพระพุทธศาสนาและศาสตร์แห่งลมและฟ้าในตำราฮวงจุ้ยด้วยในขณะที่สังคมจีนถือว่าการ “ฮั้ว” กัน เป็นเรื่องดีทั้งเชิงสังคมและเชิงธุรกิจ สังคมการเมืองไทยกลับต่อต้านการฮั้วทั้งเชิงการเมือง เศรษฐกิจและวัฒนธรรม โดยถือว่าเป็นสิ่งเลวร้าย
ดังนั้น ท่ามกลาง “ความไม่นิ่ง”ทางการเมืองของไทย และท่ามกลาวการกู่ก้องร้องหาความปรองดองและสมานฉันท์ของคนในชาติกันอยู่ปาวๆของนักการเมืองทั้ง 3 ฝ่าย (รัฐบาล เหลืองและแดง) หากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ก้าวออกมาจาก “จุดปะทะวงใน” และมองย้อนกลับเข้าไปในสมรภูมิแห่งความขัดแย้งทางความคิดและการเมืองเสียบ้างสักระยะหนึ่ง ซึ่งอาจจะทำให้ได้คิดว่า ถึงเวลาแล้วที่จะสร้างความสมานฉันท์ที่เป็นรูปธรรมอย่างแท้จริงขึ้นเสียทีในบ้านเมืองเรา ตามแนวคิดของการ “ฮั้ว” กัน ดังเช่นที่เกิดขึ้นมาแล้วในสังคมจีน
“.....อย่าดึงดื้อ ถือเด่นเป็นคนพาลในสันดานจงเป็นชนคนดี...” [1]
เนื้อหาในความเรียงสั้นๆ เรื่อง “ฮั้วดีที่สุด” ของนางสาวโต้หยินผิง

ขงจื๊อกล่าวว่า "ประโยชน์แห่งนิติธรรมเนียนนั้น ให้ถือหลักแห่งการฮั้ว(สมานฉันท์) เป็นสำคัญ" (จากวาทวิจารณ์ขงจื้อ หมวด ๑) โดยนับแต่ยุคขงจื้อเป็นต้นมา ชาวจีนก็ได้ให้ความหมายของคำว่า ”和”หรือ“ ฮั้ว”(อ่านเป็นเสียงแต้จี๋ว)ในความหมายที่ดี และคำว่า “和谐”ซึ่งหมายถึง การสมานฉันท์และความกลมกลืนก็ได้กลายเป็นวัฒนธรรมอันดีงามของชาวจีน
ปัจจุบัน “การสร้างสังคมแห่งความสมานฉันท์ในระบบสังคมนิยม ” ยังถือเป็นหนึ่งในห้าแห่งการปฏิบัติเพื่อยกระดับการบริหารประเทศโดยทั่วหน้าอย่างมีประสิทธิภาพสำหรับพรรคคอมมิวนิสต์จีนด้วยมีผู้รู้วิเคราะห์ คำว่า “和 -ฮั๊ว ” ประกอบด้วยคำว่า “ต้นข้าว ” และ “ปาก ” หมายความว่า “ทุกๆคนมีอันจะกิน ” ส่วนคำว่า “ 谐” ประกอบด้วยคำว่า “พูด ”และ “ทั้งหลาย ” หมายความว่า “ท่านทั้งหลายล้วนมีสิทธิ์พูด ” ซึ่งเป็นการอธิบายที่สร้างสรรค์มาก แสดงให้เห็นว่าสิ่งที่คนเราใฝ่ฝันและพยายามแสวงหานั้น คือ สภาพสังคมสมานฉันท์นั่นเอง

“โจงยง ” หรือ “คำภีร์แห่งทางสายกลาง ” กล่าวไว้ว่า “ก่อนการปรากฏแห่งอารมณ์ ได้แก่ ปิติยินดี โมโหโทโส โศกเศร้าและสุขสบายนั้น โจง ( แปลว่า ธรรมชาติแห่งชีวิต) เมื่อปรากฏได้อย่างเหมาะสมถูกกาลเทศะ เรียกว่า เหอ (แปลว่า สมานฉันท์กลมกลืน) โจง คือ ฐานสำคัญของฟ้าดิน เหอ คือ หลักการซึ่งทุกชีวิตพึงปฏิบัติ เมื่อสามารถปฏิบัติจนบรรลุถึงขึ้นสมัครสมานกลมกลืนกับธรรมชาติเป็นอย่างดีแล้ว ฟ้าและดินต่างก็จะอยู่ในตำแหน่งของตน สรรพสิ่งก็จะเจริญเติบโตตามธรรมชาติ” การให้อารมณ์ทั้งสี่ดังกล่าวปรากฏให้เข้ากับ สิ่งแวดล้อมอย่างลงตัว ถือว่าเป็นการให้ความเคารพต่อกฎแห่งชีวิตทั้งปวง ทั้งยังเป็นการให้ความเคารพต่อสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติและสังคมด้วย

คำผสมที่ประกอบด้วยคำว่า “เหอ ” มีจำนวนมากเพื่อแสดงความหมายที่ดี เช่น สันติปรองดองมีความสุข สนิทสนมกลมเกลียว ท่าทีอ่อนโยนสุขภาพอ่อนโยน เมตตาและอ่อนโยน เหมาะสมได้สัดส่วนและความอบอุ่น เป็นต้น

“和 ”ในภาษาแต้จิ๋วอ่านว่า “ฮั้ว ”โดยไม่ทราบว่ามีการนำมาใช้ในภาษาไทยเมื่อใด พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 ให้คำนิยาม คำว่า“ฮั้ว ” ดังนี้ ...................
ส่วนในเวบไชต์ภาษาไทยอธิบายคำ “ฮั้ว” ไว้ว่า การฮั้ว คือ การทำข้อตกลงในทางลับระหว่างบริษัทตั้งแต่สองบริษัทขึ้นไป ที่ประกอบธุรกิจประเภทเดียวกันหรือมีความเกี่ยวข้องกัน เพื่อให้ทั้งสองบริษัทได้ประโยชน์มากกว่าบริษัทอื่น ๆ หรือมากกว่าที่ควรจะได้รับ การฮั้วกันเกิดขึ้นในธุรกิจทุกระบบไม่ว่าเล็กหรือใหญ่
การอ้างอิง[1]
เนื้อร้องตอนหนึ่งในเพลง “มาลัยใบจันทร์” เนื้อร้องและทำนองโดย รอ.พิเศษ สังข์สุวรรณ อดีตศิลปินนักแต่งเพลง และผู้ช่วยผู้กำกับภาพยนตร์ในทีมงานของท่านมุ้ย

วันพุธที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2553

เวนิสคาร์นิวาลในชั้นเรียนวิชาศิลปวัฒนธรรมตะวันตกเพื่อการนำเที่ยว 2009 (Vanice Carnival in a Classroom of Western Art & Culture for Tourism in 2009)

โดย พิทยะ ศรีวัฒนสารแม้จะสวมหน้ากากคาร์นิวาลแต่ยังถือยาดมเอาไว้แน่น
นักศึกษาคณะการบัญชีเลือกเรียนวิชานี้เปนครั้งแรก
คุณปิ่น กับเพื่อน คุณเล็ก ทำมือชี้ขึ้นบนเลียนแบบท่าทางของนักบุญจอห์น เดอะ แบบติสท์ในภาพเขียนสมัยเรอแนสซองส์ของลีโอนาโด ดาวินชี่
ขวยอายหน่อยๆ


หน้ากากสวย


ชนะเลิศตามกติกาที่ตั้งไว้ คือ "ให้ใส่หน้ากากแบบไม่ให้ครูจำได้"


ปิดคางกลัวครูจะจำได้


ภูมิใจพรายพริ้มเพริศแพรวพราวด์(proud)
เข้าท่า



พลอย(ซ้าย) เอ (กลาง) ปิ่น(ขวาหน้า) นิเทศศาสตร์ ภาควิชา Film and Digital


รอยยิ้มและเสียงหัวเราะแตะแต้มโปรยปรายบนใบหน้า
เตรียมตัว

สงสัยจะมาผิดงานเพราะแกใช้ถุงห้างดังอำพรางโฉมแทนหน้ากาก แถมหลับตาปี๋อีกต่างหาก ราวกับจะไม่รับรู้โลกภายนอก ที่กำลังระเบิดเสียงหัวเราะอยู่ด้านหลังอย่างเต็มที่! เลยถูกหักคะแนนไปตามระเบียบ

วันเสาร์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ธุรกิจสินค้าของที่ระลึก

ธุรกิจการขายสินค้าของที่ระลึกและสินค้าพื้นเมืองเป็นธุรกิจที่ทำรายได้ให้แก่อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวสูงกว่าองค์ประกอบอื่นๆมาก เช่น ปี 2533 นักท่องเที่ยวระหว่างประเทศมีค่าใช้จ่ายในเรื่องการซื้อของที่ระลึกถึง 38.83% หรือประมาณ 42,936.40 ล้านบาท รองลงมาคือที่พักแรม 23.35% หรือประมาณ 25,823.22 ล้านบาท และค่าอาหารเครื่องดื่ม 15.07% หรือประมาณ 16,667.48 ล้านบาท

สินค้าของที่ระลึกสำหรับนักท่องเที่ยว ได้แก่
-อัญมณี เครื่องประดับทองรูปพรรณ ซึ่งทำรายได้ประมาณหมื่นล้านบาทต่อปี
-เครื่องถม เครื่องเงิน
-ผ้าไหม ผ้าฝ้าย ผ้าพื้นเมือง ผลิตภัณฑ์สิ่งทอ
-ดอกไม้ประดิษฐ์
-เครื่องหนัง
-เครื่องไม้แกะสลัก
-เครื่องทองเหลือง
-เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย
-สินค้าหัตถกรรมต่างๆ ซึ่งใช้เป็นเครื่องแต่งบ้าน เครื่องใช้ประจำบ้าน ของเด็กเล่นและของที่
ระลึกแบบ อื่นๆ

การพัฒนาสินค้าของระลึกสำหรับนักท่องเที่ยว
สินค้าของที่ระลึกสำหรับนักท่องเที่ยวควรมีเอกลักษณ์ โดยเฉพาะเอกลักษณ์ของท้องถิ่นทั้งนี้ต้องอาศัยผู้มีความรู้ทางศิลปะ การออกแบบ การให้สีและฟอกย้อม การเลือกใช้วัสดุพื้นบ้านการลอกเลียนแบบงานศิลปะที่ทรงคุณค่า การกำหนดขนาดแฟชั่น การควบคุมคุณภาพ และกำหนดราคาขาย
การจัดบริการให้แก่นักท่องเที่ยว
-การเลือกทำเลที่ตั้งของร้านในที่ที่นักท่องที่ยวไปมาและแวะชมได้โดยสะดวก
-การจัดร้าน ควรวางกระจายๆ และแสดงให้เห็นชัดว่าของสิ่งนั้นใช้ทำอะไรได้บ้างมีแสงสว่างเพียงพอเพื่อจะได้เห็นสีและความสวยงามของสินค้าอย่างแท้จริง มีสินค้าให้เลือกอย่างเพียงพอ
-การรับสั่งซื้อสินค้า ในกรณีที่นักท่องเที่ยวต้องการสินค้าที่แปลกออกไปและไม่สามารถนำกลับไปด้วยตนเองได้
-การบรรจุหีบห่อที่สวยงามและการจัดส่งโดยมีการประกัน
-การฝึกอบรมพนักงานในการให้บริการต้อนรับ
-บริการพิเศษอื่น ๆ ทางธุรกิจ

การส่งเสริมสินค้าของที่ระลึก
- การโฆษณาประชาสัมพันธ์โดยการทำบัตรแนะนำ ทำ brochure, catalog แจกไปยังโรงแรมบริษัทนำเที่ยว และที่อื่น ๆ ที่ลงโฆษณาในหนังสือและวารสารการท่องเที่ยว
- การรวมตัวเป็นชมรม และสมาคม เช่น ชมรมอัญมณี เพื่อเผยแพร่สินค้าและการดำเนินงานของธุรกิจที่เป็นสมาชิก
- การส่งเสริมจากภาครัฐ เพื่อพัฒนาให้สินค้ามีคุณภาพละมีมาตรฐานเน้นการเสนอขายสินค้าอย่างซื่อสัตย์ไม่เอารัดเอาเปรียบหรือหลอกลวง ซึ่งการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยมีบทบาทในการส่งเสริมด้านนี้มาก โดยการให้สัญลักษณ์เป็นรูปแม่ค้าหาบของกับร้านขายสินค้าขายของที่ระลึกที่ประกอบการด้วยความซื่อสัตย์ต่อนักท่องเที่ยว
- การประกาศให้ปี 2531 เป็นปีศิลปหัตถกรรมไทย เพื่อเสรมสร้างให้เห็นคุณค่าและความสำคัญของศิลปะประเภทนี้ เป็นการเผยแพร่ให้นักท่องเที่ยวทราบและสนใจสินค้าของที่ระลึกประเภทศิลปะและหัตถกรรมของไทยมากขึ้น
ปัญหาความเดือดร้อนของนักท่องเที่ยวในเรื่องสินค้าของที่ระลึก
1. สินค้าปลอม
2. การนำเสนอสินค้าที่มีคุณภาพไม่ได้มาตรฐานตามที่กำหนด
3. สับเปลี่ยนเอาสินค้าไม่มีคุณภาพหรือของปลอมให้นักท่องเที่ยว
4.สั่งซื้อแล้วไม่ส่งสินค้าให้ตามที่ตกลงกันไว้
5. การโก่งราคาสินค้า หรือจำหน่ายในราคาแพง

สาเหตุของปัญหาเหล่านี้ได้แก่

- เศรษฐกิจกึ่งเสรีของประเทศ ทำให้มาตรการคุ้มครองผู้บริโภคไม่กว้างขวางเท่าที่ควรยังไม่มีเกณฑ์ควบคุมการผลิตโดยตรง คุณภาพสินค้าถูกกำหนดตามความต้องการของผู้ประกอบการโดยเฉพาะสินค้าจำหน่ายปลีก
- สินค้าเหล่านี้ไม่ใช่สินค้าที่จำเป็นต่อการครองชีพ การกำหนดราคาเป็นไปตามอุปสงค์อุปทาน ค่านิยมในสินค้า และความเห็นแก่ประโยชน์ของผู้ประกอบการ
- กลวิธีการเสนอขาย โดยการทำ Direct Sale เชิญชวนตามแหล่งท่องเที่ยว การโฆษณาว่านำไปขายในต่างประเทศได้ราคาสูงกว่าหลายเท่าตัว การให้ค่า Commission แก่รถแท็กซี่ที่พานักท่องเที่ยวมาซื้อ การจัดรถบริการให้บริษัทนำเที่ยวใช้โดยไม่คิดค่าตอบแทน ฯลฯ ทำให้เกิดการแสวงหาผลประโยชน์ชดเชย และฉ้อฉลนักท่องเที่ยวแล้วก็จะทราบทันทีว่าสินค้าปลอม หรือถูกสับเปลี่ยนทำให้มีการร้องเรียนผ่านการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยอยู่เสมอ ๆ
ร้านค้าของที่ระลึกที่ได้มาตรฐาน
ร้านนารายณ์ภัณฑ์ เป็นองค์การหนึ่งของกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นศูนย์จำหน่ายสินค้าหัตถกรรมไทย จำหน่ายสินค้าของที่ระลึกแก่นักท่องเที่ยวมาประมาณ 50 ปีแล้ว โดยการร่วมลงทุนระหว่างรัฐบาลและเอกชน บทบาทที่สำคัญคือเป็นศูนย์ประสานการปฏิบัติงานในการพัฒนาสินค้าหัตถอุตสาหกรรมให้ครบวงจร ยกระดับคุณภาพของสินค้า ออกแบบให้ตรงกับความต้องการของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ การดำเนินตามแผนงานคือตั้งศูนย์ตามภาค เพื่อส่งเสริมการผลิตในระดับหมู่บ้าน ซึ่งมีทั้งหมดทั่วประเทศประมาณ 6 หมื่นหมู่บ้าน รับซื้อสินค้าหัตถกรรมของชาวบ้านแล้วนำมาขายปลีกที่ร้านนารายณ์ภัณฑ์และที่มุมนารายณ์ในห้างสรรพสินค้าใหญ่ๆ นอกจากนี้คือการตั้งศูนย์สินค้าไทยในต่างประเทศ
ร้านอื่นๆนอกเหนือไปจากนี้ อาจมีเครื่องหมายททท.แสดงอยู่ หรือมีเครื่องหมายการจดทะเบียนคืนภาษีมูลค่าเพิ่มแก่นักท่องเที่ยว เป็นต้น

ทรัพยากรท่องเที่ยว(Tourism Attractions)

-ความหมาย
ทรัพยากรท่องเที่ยวหมายถึง สถานที่ท่องเที่ยว ทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นหรือปรับปรุงขึ้นเป็นสถานที่ท่องเที่ยว ประกอบกิจกรรม ประกอบพิธีกรรมตามขนบธรรมเนียมประเพณี อันสะท้อนให้เห็นถึงลักษณะเด่นวัฒนธรรมของชนแต่ละท้องถิ่น และมีศักยภาพดึงดูดความสนใจของนักท่องเที่ยว ทรัพยากรท่องเที่ยวในประเทศไทยจำแนกเป็นสองประเภท ดังนี้

1.ทรัพยากรท่องเที่ยวที่เป็นสภาพแวดล้อมธรรมชาติ(Natural Attraction) ถือเป็นสิ่งดึงดูดใจที่สุด เพราะเกิดตามธรรมชาติ เป็นสถานที่ศึกษาความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติ ได้แก่ น้ำตก น้ำพุร้อน ถ้ำ เพิงผา ชายหาด ชายฝั่งทะเล ปะการัง ป่าไม้ หินงอกหินย้อย ฯลฯ ทรัพยากรท่องเที่ยวเหล่านี้ อาจจำแนกเป็นกลุ่มใหญ่ๆได้แก่

1.1ทิวทัศน์(Scenery)ได้แก่ สภาพแวดล้อมธรรมชาติที่มีลักษณะสวยงามประหลาดตาดึงดูดใจให้เดินทางไปท่องเที่ยวหรือศึกษาหาความรู้ เช่น The Grand Canyon/ Arisona USA.
The Niagara/ USA.
The Visuvius Volcano/ Itali

ทิวทัศน์บางอย่างอาจมีลักษณะสวยงามเปลี่ยนแปลงไปตามฤดูกาล เช่นฤดูหนาวในเนเธอร์แลนด์มีดอกทิวลิป ในญี่ปุ่นมีดอกซากุระ เชียงใหม่ดอกบัวตองบาน ลพบุรีดอกทานตะวันบานเต็มทุ่ง
ภูมิประเทศบางแห่งเช่นแม่น้ำ ลำคลอง ชายหาด ป่าไม้ หรือแม้แต่ทะเลทราย ก็มีความงดงามแปลกตาสำหรับผู้ไปเยือน

1.2สัตว์ป่า(Wildlife/ Wild Animals) ได้แก่สัตว์ป่าประเภทต่างๆ เช่น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์เลื้อยคลาน((Reptile)เช่น ฟาร์มงู สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ (ฟาร์มจระเข้) สัตว์ปีก แมงและแมลง (เช่น หิ่งห้อยที่ปลายโพงพาง อ.อัมพวา สมุทรสงคราม) สัตว์เหล่านี้จัดเป็นทรัพยากรท่องเที่ยวที่มีศักยภาพในการดึงดูดนักท่องเที่ยวมาก เนื่องจากความสวยงามและชีวิตความเป็นอยู่เป็นสิ่งที่น่าศึกษาค้นคว้าสำหรับนักท่องเที่ยวทุกเพศวัย

แต่ละทวีป แต่ละภูมิประเทศก็มีสัตว์ป่าแตกต่างกันออกไป (ได้แก่อะไร) สัตว์ป่าบางชนิดกำลังจะสูญพันธุ์ จึงต้องมีกระบวนการอนุรักษ์และขยายพันธุ์สัตว์ป่า สถานที่เที่ยวชมสัตว์มักอยู่ในอุทยานแห่งชาติ วนอุทยาน เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และสวนสัตว์(ได้แก่ที่ไหน)เป็นต้น

1.3สัตว์น้ำ(Aqatic Animals) เช่น พิพิธภัณฑ์ปลาที่บางแสน
1.4สภาพภูมิอากาศ(Climate) ความแตกต่างของภูมิประเทศในโลกนี้ทำให้ภูมิอากาศมีความแตกต่างกันไปด้วย ฝนตก แสงแดด อากศหนาวเย็น หิมะ ลมทะเล ทำให้มีกีฬาและนันทนาการรูปแบบต่างๆเกิดขึ้น อากาศที่แตกต่างกันทำให้ผู้มาเยือนเกิดความตื่นตาตื่นใจ

1.5ปรากฏการณ์ธรรมชาติ(Natural Phenomenon) ทำให้เกิดกิจกรรมการท่องเที่ยวสัมผัสและศึกษาปรากฏการณ์ธรรมชาติ อาทิ พระอาทิตย์เที่ยงคืน จันทรุปราคา สุริยุปราคา ฝนดาวตกเลโอนิด เป็นต้น
1.6สัตว์เลี้ยง(Domestic Animal/ Pets) มักเป็นนักท่องเที่ยวที่สนใจเฉพาะด้าน เช่น ปัจจุบันนี้มีทัวร์ดูสุนัข ทัวร์ดูแมว

2.ทรัพยากรท่องเที่ยวที่มนุษย์สร้างขึ้นหรือจัดการให้มีขึ้น(Manufacture Attractions) ได้แก่ สถานเริงรมย์ โรงแรม กาสิโน สวนสนุก เทคโนโลยี ศูนย์การค้า เมืองโบราณ เมืองทันสมัย เมืองในเทพนิยาย สถาปัตยกรรม ศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี จำแนกทรัพยากรท่องที่ยวที่มนุษย์ทำขึ้นมีดังนี้

2.1ประเภทประวัติศาสตร์และโบราณสถาน(Historical and Sites) โบราณสถานจำแนกเป็น มีชีวิตกับไม่มีชีวิต หมายถึงแหล่งท่องเที่ยวที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีซึ่งแสดงให้เห็นถึงร่องรอยความเป็นมาทางอารยธรรมเก่าแก่ในท้องถิ่นนั้นๆ ได้แก่วัดโบราณ ซากกำแพงเมือง พระราชวัง เนินดิน เนินโบราณสถาน แหล่งตั้งถิ่นฐานหรือที่อยู่อาศัยของมนุษย์ในอดีต อุทยานประวัติศาสตร์ อนุสาวรีย์ และพิพิธภัณฑ์ เป็นต้น เช่น อุทยานปวศ.พระนครศรีอยุธยา สุโขทัย ศรีสัชนาลัย พนมรุ้ง พิมาย กำแพงเพชร พระนครคีรี

2.2ประเภทศิลปวัฒนธรรมประเพณีและกิจกรรม(Art&Culture Tradition and Activities) แตกต่างกันไปตามสภาพสังคม สิ่งแวดล้อม ภูมิประเทศ ขนบธรรมเนียมประเพณี การดำเนินชีวิตฯลฯ มีลักษณะเป็นรูปแบบของพิธีกรรมตามความเชื่อ ประเพณี เทศกาล งานเฉลิมฉลอง การละเล่นพื้นบ้านพื้นเมือง เรื่องเล่า เพลงพื้นบ้าน เพลงกล่อมลูก สินค้าพื้นเมือง ศูนย์วัฒนธรรม เช่น งานสงกรานต์ การทำบุญตักบาตรดอกไม้ บุญบั้งไฟยโสธร

2.3กีฬา(sports) กีฬาหลายอย่างจูงใจให้เกิดการเดินทางท่องเที่ยว เช่น ฟุตบอล เทนนิส กอล์ฟ มวย
2.4แหล่งความรู้ทางการศึกษาและเทคโนโลยี เช่น เขื่อน สวนเกษตร โรงงานต่างๆ ฟาร์ม ท่าเรือ สถานีอวกาศ มหาวิทยาลัย โรงเรียน
2.5สถานบันเทิง เช่นไนท์คลับ กาสิโน เรือสำราญ คาบาเร่ต์ ภูเก็ตแฟนตาซี
2.6สวนสาธารณะ เป็นสถานพักผ่อนหย่อนใจดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งคนในท้องถิ่นและชาวต่างชาติ
2.7สวนสนุก เช่น ดิสนีย์แลนด์ ดรีมเวิร์ล มักมีการแสดง ร้านค้า ร้านาหารและเครื่องดื่มบริการด้วย
2.8ศูนย์การค้าและร้านของที่ระลึก

การคมนาคมขนส่งกับการท่องเที่ยว

ธุรกิจการขนส่งทางอากาศ

การขนส่งทางอากาศเกิดขึ้นมาจากการคิดผันของมนุษย์เราที่ต้องการจะบินไปไหนมาไหนได้เหมือนนก และเกิดจากการที่มนุษย์เรารู้จักการเล่นว่าว จึงพยายามคิดที่จะทำให้ความผันเป็นความจริงขึ้นมาให้ได้ โดยในปี ค.ศ. 1903 พี่น้องตระกูลไรท์ ชาวอเมริกัน ได้ประสบผลสำเร็จในการสร้างอากาศยานที่สามารถบรรทุกคนและบินได้เป็นผลสำเร็จ ซึ่งถือได้ว่าเป็นยุคเริ่มรกของการขนส่งทาง อากาศต่อมาได้มีการพัฒนาทางด้านวิชาการและความเจริญด้านเทคโนโลยีต่าง ๆ อย่างมาก โดยเฉพาะศาสตร์ที่เกี่ยวกับการบินจึงทำให้การขนส่งทางอากาศมีความเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ซึ่งในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 การขนส่งทางอากาศได้มีบทบาทอย่างมาก และมีผลทำให้กิจการขนส่งทางอากาศมีความเจริญและขยายตัวอย่างกว้างขวางเมื่อสงครามสงบลง การขนส่งที่ใช้ในการทำศึกสงครามก็ถูกดัดแปลงมาใช้ในกิจการของพลเมือง และได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง จึงมีการสร้างเครื่องบินที่มีขนาดใหญ่ขึ้น มีความเร็วสูงขึ้น มีเครื่องมืออุปกรณ์ต่าง ๆ มากขึ้น เช่น เครื่องบิน DC-3, DC-10, Boeing 737, Boeing 767, Concorde (Super Sonic) และ Air Bus

การขนส่งทางอากาศในประเทศไทย

สำหรับการขนส่งทางอากาศในประเทศไทยเรานั้น เริ่มเกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2457 โดยพลโทพระยาเฉลิมอากาศได้ดำเนินการจัดตั้งกองบินขึ้นอยู่ในสังกัดทหารบก ต่อมา พ.ศ. 2461 โดยยกฐานขึ้นเป็นกรมอากาศยานทหารบก และในปี พ.ศ. 2462 ได้เกิดการบินพลเรือนขึ้นโดยใช้การขนส่งทางอากาศขนส่งไปรษณียภัณฑ์ นับเป็นครั้งแรกที่เป็นประโยชน์สำหรับการขนส่งพลเรือนโดยทำการขนส่งไปรษณียภัณฑ์จากกรุงเทพไปจันทบุรี สำหรับการบินขนส่งผู้โดยสารนั้นได้เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2474 อย่างเป็นทางการโดยจัดตั้งเป็นบริษัทเดินอากาศจำกัด ทำหน้าที่รับส่งผู้โดยสารและสินค้า ต่อมา พ.ศ. 2482 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัทขนส่งจำกัด โดยรวมเอาการขนส่งทางบกและทางอากาศเข้าไว้ด้วยกันจนในที่สุด พ.ศ. 2494 จึงกลับมาใช้ชื่อบริษัทเดินอากาศไทยจำกันจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ประเทศไทยยังมีบริษัทที่เกี่ยวข้องในเรื่องการบินอีกหลายบริษัท เช่น บริษัทการบินไทย จำกัด (ดำเนินการเดินอากาศระหว่างประเทศ) บริษัทการบินแอร์สยามจำกัด (ปัจจุบันเลิกกิจการไปแล้ว) บริษัทกรุงเทพสหกลจำกัดบริษัทพีระแอร์ทรานสปอร์ตจำกัด บริษัทแอร์เซอร์วิสจำกัด และบริษัท ฟ้าสยามจำกัด เป็นต้น


เครื่องบินโดยสาร

เครื่องบินโดยสารมีตั้งแต่เครื่องยนต์ที่นั่งเดียวสำหรับบินระยะสั้น ๆ จนถึงเครื่องบินโดยสารที่หรูหราบรรทุกผู้โดยสารได้ถึง 400 คน บางลำใช้เครื่องยนต์เบนซินเหมือนกับรถยนต์แต่เครื่องบินส่วนมากในปัจจุบันใช้เครื่องไอพ่น นอกจากนี้ยังมีที่ใช้เครื่องจรวด ในอนาคตอาจใช้พลังนิวเคลียร์แทนได้
เครื่องบินได้เปลี่ยนโฉมหน้าของการขนส่ง ผู้โดยสารสามารถเดินทางภายในไม่กี่ชั่งโมงหรือไม่กี่วันสำหรับระยะทางที่เคยใช้เวลาเป็นอาทิตย์หรือเป็นเดือน นอกจากเครื่องบินแบบไอพ่นและแบบต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้ว ยังมีเครื่องบินอีกหลายประเภทได้แก่
เครื่องบินแบบใบพัด สามารถขึ้นและลงบนลานวิ่งที่สั้นกว่าเครื่องบินไอพ่นเครื่องบินโดยสารใบพัดขนาดกลางยังคงเป็นที่นิยมกันในการบินระยะใกล้ ๆ
เครื่องบินแบบเอสทีโอแอล เป็นเครื่องบินที่ออกแบบใช้ในเมืองใหญ่ ๆ และในเขตที่ยากต่อการสร้างลานวิ่งยาว ๆ เครื่องบินชนิดนี้เรียกเต็มว่า Short Take-off and Landing (STOL)
สามารถบินขึ้นและลงบนทางที่แคบและเล็กมากได้
เครื่องบินชนิดพิเศษ สร้างขึ้นเพื่อจุดมุ่งหมายเฉพาะ เช่น เครื่องบินทะเล สร้างขึ้นเพื่อขึ้นและลงบนผิวน้ำได้มี 3 ชนิด คือ
( ก ) โพลทเพลน มีทุ่นสองอันแทนล้อ
( ข ) ฟลายอิ้งโบ๊ต มีลำตัวเหมือนเรือและกันน้ำได้ ทำให้ลอยในน้ำเหมือนเรือ
( ค ) แอมฟีเปียน ใช้ได้ทั้งในน้ำและบนบก

เครื่องบินโดยสารระหว่างประเทศที่นิยมใช้กันทั่วโลกในปัจจุบัน ผลิตโดยสามบริษัทใหญ่ คือ
บริษัทโบอิ้งสหรัฐอเมริกา ผลิตเครื่องบินแบบ B 747 (จัมโบ้) บินระยะทางไกลๆ บรรทุกผู้โดยสารได้ถึง 400 คน B 737 บินระยะทางปานกลาง บรรทุกผู้โดยสารได้ประมาณ 120 คน B 707 บินระยะทางไกลๆ บรรทุกผู้โดยสารได้ประมาณ 200 คน เป็นต้น
บริษัทดักลาส-แมคดอนเนล สหรัฐอเมริกา ผลิตเครื่องบินแบบแบบ DC 10 บินระยะทางไกลบรรทุกผู้โดยสารได้ประมาณ 300 คน DC 8 บินระยะไกล บรรทุกผู้โดยสารได้ประมาณ 200 คน เป็นต้น
บริษัทแอร์บัสดิดัสตรี้ จำกัด (ยุโรป) ผลิตเครื่องบินแบบแอร์บัส บินระยะปานกลางประหยัดเชื้อเพลิงมาก บรรทุกผู้โดยสารประมาณ 240 คน
สนามบิน อาจจำแนกออกไปเป็น สนามบินพลเรือน หรือสนามบิน พาณิชย์โดยทั่วไปมักจะถือว่าสนามบินเป็น infrastructure ประเภทหนึ่งเป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะต้องจัดสร้างและอำนวยความสะดวกต่างๆ นอกจากนั้นสนามบินยังอาจจำแนกออกได้เป็น สนามบินภายในประเทศและสนามบินระหว่างประเทศอีกด้วย
สนามบินฮีธโรว์ในกรุงลอนดอนจัดได้ว่าเป็นสนามบินที่มีเที่ยวบินระหว่างประเทศขึ้นลงมากที่สุด คือ เกินกว่า 2 แสนเที่ยวบิน และมีผู้โดยสารระหว่างประเทศขึ้นลงเกินกว่า 17 ล้านคน ในต่ละปีคนทำงานประจำมากกว่า 5 หมื่นคน
สนามบินใหญ่ๆ โดยทั่วไปจะมีท่าอากาศยานหรือที่พักโดยสาร ซึ่งเป็นบริเวณภายในสนามบิน เพื่อตรวจสอบผู้โดยสารและสินค้า และยังมีร้านขายอาหารว่าง ภัตตาคาร และบริการอื่นๆ เพื่อความสะดวกสบายของผู้ใช้บริการ นอกจากนี้ยังมีที่ทำงานของผู้ทำงานในสนามบิน ห้องน้ำ และห้องสำหรับพนักงานบนเครื่องบิน ห้องปฏิบัติการเกี่ยวกับเส้นทางบิน โรงเก็บเครื่องบนและห้องปฎิบัติการ และหอบังคับการซึ่งเป็นจุดศูนย์กลางของการบิน ผู้ควบคุม การจราจรทางอากาศคอยแนะนำและคอยควบคุมเครื่องบินทั้งขณะอยู่ในอากาศและในพื้นดิน
ชนิดของบริการขนส่งทางอากาศ
การขนส่งทางอากาศ อาจแยกการขนส่งออกได้เป็น 2 รูปบบ คือการขนส่งในประเทศและการขนส่งระหว่างประเทศ หรืออาจจำแนกอกเป็น การขนส่งผู้โดยสารและการขนส่งสินค้า นอกจากนั้นยังอาจจำแนกออกตามลักษณะของการอนุญาติ ดังนี้
1. สายการบินหลัก
2. สายการบินท้องถิ่น
3. สายการบินรับขนเฉพาะสินค้า
4. สายการบินไม่ประจำ ปรเภทแท็กซี่ทางอากาศและเช่าเหมา
5. สายการบินบริการเฮลิคอปเตอร์
(1.)สายการบินหลัก ในสหรัฐอเมริกาถือว่าเป็นผู้ขนส่งทางอากาศที่ได้รับมอบอำนาจโดยออกใบรับรองเพื่อความสะดวกและความจำเป็นของสาธารณชนให้จัดบริการอย่างประจำ มีกำหนดที่มีลักษณะเป็นการขนส่งด่วน และในระยะทางไกลๆ
(2.) สายการบินท้องถิ่น ผู้ขนส่งประเภทนี้ปฎิบัติการตามเส้นทางที่มีความหนาแน่นของปรชากรน้อยว่าในสายการบนหลักระหว่างชุมชนของเมืองที่มีประชากรน้อยกว่าในรณีของสายการบินหลัก ในหลักการสายการบินประเภทนี้จะให้ระยะทางใกล้ๆ ในสหรัฐอเมริกามีผู้ปรกอบการประเภทนี้อยู่ 9 รายในปัจจุบันซึ่งให้บริการทั้งการขนส่งผู้โดยสารและสินค้า
(3.) สารการบินรับขนเฉพาะสินค้า ผู้ขนส่งประเภทนี้ปฏิบัติการรับเฉพาะสินค้าอาจเป็นในลักษณะประจำ มีกำหนดเวลาบินแน่นอน เส้นทางแน่นอน หรือในลักษณะไม่ประจำไม่มีกำหนดก็ได้ แต่การประกอบการลักษณะนี้มักจะไม่เหมาะสมกับเศรษฐกิจการขนส่งทางอากาศเพราะจีปัญหาในการขนส่งเที่ยวกลับจะไม่มีสินค้าเพียงพอที่จะคุ้มกับต้นทุนการบิน
(4.) สายการบินไม่ประจำประเภทแท็กซี่ทางอากาศและเช่าเหมา ผู้ขนส่งประเภทนี้ปฏิบัติการรับขนทั้งผู้โดยสารและสินค้าในลักษณะไม่ประจำ อาจแยกได้เป็นแบบเช่าเหมาลำ และแบบแท็กซี่ทางอากาศ โดยทั่วไปแบบแท็กซี่ทางอากาศมักจะถูกกำหนดไว้ว่า ต้องเป็นเครื่องบินขนาดเล็กมีน้ำหนักรวมสูงสุดเมื่อบินขึ้นไม่เกิน 5,700 กิโลกรัม
(5.) สายการบินบริการเฮลิคอปเตอร์ ผู้ขนส่งประเภทนี้ดำเนินการขนส่งเฉพาะด้วยเฮลิคอปเตอร์เท่านั้น มักจะให้บริการรับส่งคนไข้ฉุกเฉินเพื่อมนุษยธรรมต่าง ๆ หรือเพื่อกิจการพิเศษ เช่น เพื่อการสำรวจขุดเจาะน้ำมัน สำรวจก๊าซ เป็นต้น

ข้อได้เปรียบและเสียเปรียบของการขนส่งทางอากาศ

การขนส่งทางอากาศก็มีข้อได้เปรียบและข้อเสียเปรียบ เช่นเดียวกับการขนส่งประเภทอื่น ๆ โดยพิจารณาไว้ว่า
ข้อได้เปรียบ การขนส่งทางอากาศก็มีข้อได้เปรียบหรือข้อดีดังนี้
1. มีความเร็วสูง รวดเร็ว สามารถให้บริการนักธุรกิจ และนักเดินทางท่องเที่ยวทั่วไป และแม้แต่สินค้าที่เน่าเสียง่าย ก็จะถูกนำไปสู่ตลาดในสภาพที่สดใหม่เสมอ
2. ประหยัดเวลาในการเดินทาง
3. สามารถไปในบริเวณที่การขนส่งชนิดอื่นไปไม่ถึงหรือไปได้ลำบาก หากปราศจากการขนส่งทางอากาศแล้ว ท้องถิ่นทุรกันดารจะยากต่อการคมนาคมติดต่อ ยากที่ประโยชน์ทางเศรษฐกิจจะเข้ามาสู่ท้องถิ่นนั้นก็ได้
4. มีความตรงต่อเวลาและมีกำหนดเวลาที่แน่นอน
ข้อเสียเปรียบ การขนส่งทางอากาศมีข้อเสียเปรียบดังต่อไปนี้
1. การลงทุนสูง ใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ มาก
2. อัตราค่าบริการสูง ค่าใช้จ่ายมีมาก โดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบกับการขนส่งประเภทอื่นๆ ต้องใช้ต้นทุนการประกอบสูงมากทั้งตันทุนแปรผันและต้นทุนคงที่ ต้องอาศัยผู้ชำนาญการในด้านต่าง ๆ อุปกรณ์เทคโนโลยีหน่วยสนับสนุนภาคพื้นดิน เครื่องช่วยในการเดินอากาศที่ก้าวหน้าลงทุนสูงต้องมีการบำรุงรักษาที่ดีเยี่ยมเสมอ
3. ต้องใช้บุคคลที่มีความรู้ความสามารถและความชำนาญมาก
4. มีความเสี่ยงสูงมาก ความปลอดภัยน้อยกว่าการขนส่งประเภทอื่น ๆ หากเกิดความผิดพลาดขึ้นเมื่อใดแล้ว จะก่อให้เกิดความสูญเสียที่มหันต์ต่อทั้งบุคคลบนเครื่องบิน ทรัพย์สิน และบุคคลบนพื้นดินอีกด้วย
5. การบินขึ้นอยู่กับสภาพภูมิอากาศ จึงต้องมีหน่วยงานจัดตั้งขึ้นเฉพาะเพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินอากาศ เช่น อุตุนิยมวิทยาในการเดินอากาศ เป็นต้น เพราะในสภาวะพายุ ฝนตกหนักย่อมทำให้การควบคุมอากาศยานเป็นไปได้ยากและเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย

ธุรกิจเรือสำราญ ( Cruise Ships )

บริษัทเดินเรือสมุทรหรูหราที่เกิดขึ้นในปัจจุบันนี้ พัฒนามาจากเรือสำราญ ( Cruise Ship) ธุรกิจเรือสำราญนับเป็นธุรกิจประเภทหนึ่งที่มีอัตราการเติบโตอย่างรวดเร็วมากในบรรดาธุรกิจการท่องเที่ยวด้วยจำนวนนักท่องเที่ยวทึ่เดินทางท่องเที่ยวด้วยเรือสำราญปีละประมาณ 1 ล้านคน ซึ่งนับว่าเป็นธุรกิจที่มีขนาดใหญ่มาก ความสำเร็จของธุรกิจเรือสำราญดังกล่าวนี้เป็นผลมาจากการรวมตัวของบริษัทขนส่งทางเรือต่าง ๆ ร่วมกับบริษัทธุรกิจการบิน นำมาซึ่งผลประโยชน์มหาศาลแก่ทั้งสองฝ่ายด้วย ธุรกิจท่องเที่ยวแนวใหม่ “บิน-ไป-ล่องเรือ” (FLY-CRUISE CONCEPT) คาดกันว่าประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ ของธุรกิจเรือสำราญในปัจจุบันนี้เป็นธุรกิจการท่องเที่ยวแบบ บิน-ไป – ล่องเรือ ดังกล่าวแล้ว
ธุรกิจการท่องเที่ยวแบบ บิน-ไป-ล่องเรือ สามารถเสนอรายการท่องเที่ยว รวมทั้งโปรแกรมในราคาที่ค่อนข้างประหยัด และดึงดูดใจนักท่องเที่ยวที่จะเลือกรายการท่องเที่ยวดังกล่าว เพราะนักท่องเที่ยวสามารถใช้ตั๋วเรือสำราญกับเครื่องบินเพื่อที่จะบินไปยังท่าเรือตามจุดต่าง ๆ ที่เรือสำราญจอดแวะรับผู้โดยสารในราคาเครื่องบินลดพิเศษซึ่งถูกมาก บริษัทเดินเรือสำราญจะเป็นผู้กำหนดประเภทของเครื่องบินที่จะใช้ขนส่งผู้โดยสารลงเรือ รวมทั้งเป็นผู้กำหนดเที่ยวบินด้วยระดับดังกล่าวนี้จึงสามารถขออนุญาติให้ผู้โดยสารสามารถลงเรือ รวมทั้งเป็นผู้กำหนดเที่ยวบินด้วยระดับดังกล่าวนี้จึงสามารถอนุญาติให้ผู้โดยสารสามารถเดินทางไปถึงท่าเรือได้อย่างสะดวกรวดเร็ว และในทำนองเดียวกันก็สามารถเดนทางกลับบ้านได้อย่างรวดเร็วด้วยเครื่องบินเมื่อสิ้นสุดรายการล่องเรือสำราญแล้ว
เรือสำราญต่าง ๆ ที่วิ่งข้ามมหาสมุทรแอตแลนติคหรือมหาสมุทรแปซิฟิกในปัจจุบันนี้เปิดบริการแก่นักท่องเที่ยวเพียงชั้นเดียวคือการโดยสารเฉพาะชั้นที่หนึ่งเท่านั้น แต่อย่างไรก็ตามราคาค่าบริการก็ยังคงแตกต่างกันอยู่บ้าง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดของห้องพักในเรือเป็นสำคัญ ในปัจจุบันนี้ค่าเรือสำราญโดยเฉลี่ยต่อคนต่อวันประมาณ 200 เหรียญสหรัฐอเมริกา หรือประมาณ 5,000 เหรียญเศษซึ่งก็นับว่าค่อนข้างต่ำ เมื่อเปรียบกับค่าใช้จ่ายวันต่อคนสำหรับค่าพาหนะเดินทาง ค่าเช่าโรงแรมค่าอาหารทุกมื้อ และค่าบันเทิงต่าง ๆ ของนักท่องเที่ยวตามปรกติ




ตลาดการท่องเที่ยวของเรือสำราญ ( Cruise Markets)
นอกเหนือจากการลดราคาให้ต่ำลงและเสนอโปรแกรมการท่องเที่ยวแบบ บิน-ไป-ล่องเรือแล้วบริษัทธุรกิจเดินเรือสำราญหลายบริษัทยังได้เสนอโปรแกรมการเดินเรือระหว่างประเทศ ( THE CRUISE LINES INTERNATIONAL ASSOCIATION) ได้ระบุว่าชาวอเมริกันประมาณ 35 ล้านคน มีแนวโน้มจะเป็นลูกค้าของบริษัทธุรกิจเดินเรือสำราญประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนทั้งหมดไม่เคยมีประสบการณ์ ในการท่องเที่ยว โดยเรือสำราญมาก่อนและประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ไม่เคยรู้มาก่อนว่ามีเรือสำราญไว้บริการแก่นักท่องเที่ยวทางทะเล
สำหรับการท่องเที่ยวชาวอเมริกันจุดหมายปลายทางการล่องเรือสำราญก็คือ หมู่เกาะแคริบเบียน (Caribbean Island) และเมืองท่าในแม็กซิโก (Maxican Ports)หรือไม่ก็เป็นประเทศปานามาหรือการล่องเรือเลียบชายฝั่งตะวันตกเฉียงของชายฝั่งแปซิฟิก ไปยังอลาสก้าในช่วงฤดูร้อนแม่น้ำมิสซิสซิปปี้ ก็เป็นอีกสถานที่หนึ่งซึ่งนักท่องเที่ยวนิยมล่องเรือสำราญตามเส้นทางประวัติศาสตร์การบุกเบิกอเมริกาสำหรับในทวีปยุโรปนั้นทะเลเมดิเตอร์เรเนียนเป็นเป้าหมายการล่องเรือที่ได้รับความนิยมสูงสุดจากนักท่องเที่ยวทางทะเลในเอเซียตะวันออกและเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ธุรกิจเรือสำราญกำลังขยายตัวและได้รับความนิยมจากนกท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เพราะความสวยงามของทะเลและเมืองท่าสำคัญๆ ในประเทศต่างๆแถบนี้เป็นจุดดึงดูดสำคัญ
อนึ่งในด้านการตลาดนี้บริษัทเดินเรือสำราญพบว่ายังมีปัจจัยที่สำคัญอยู่ 3 ประการทีจะพิจารณาหาตลาดที่ดี นั่นคือบริษัทจะต้องตระหนักถึง

จำนวนเงินงบประมาณที่นักท่องเที่ยวแต่ละคนจะใช้จ่ายในการล่องเรือสำราญ
จำนวนเวลาโดยประมาณที่นักท่องเที่ยวจะใช้ในการล่องเรือสำราญ
จุดหมายปลายทางการเดินทางท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวต้องการจะไป

นอกเหนือจากการพิจารณาหาลูกค้าจากตลาดตามฤดูกาลการท่องเที่ยวแล้วบริษัทเดินเรือสำราญจะต้องพิจารณาจัดโปรแกรมการท่องเที่ยวพิเศษให้แก่นักท่องเที่ยวนอกฤดูกาลท่องเที่ยวด้วยการดึงดูดนักท่องเที่ยวในช่วงที่การท่องเที่ยวซบเซาก็เป็นแหล่งที่มาของรายได้ที่สำคัญในธุรกิจเรือ สำราญเพราะมีรายได้หรือลูกค้าตลอดปี ย่อมดีกว่าการมีลูกค้าเฉพาะฤดูการท่องเที่ยวจำนวนมากแต่เพียงอย่างเดียว

ราคาที่เสนอขายแก่ลูกค้านอกฤดูการท่องเที่ยวปกติจะต่ำกว่าราคาที่เสนอขายในช่วงฤดูการท่องเที่ยวแต่บริษัทเรือสำราฐจะต้องเพิ่มค่านายหน้า ( Commission ) ให้แก่บริษัทตัวแทนการท่องเที่ยว ( Travel Agent ) สูงกว่าในฤดูการขายปกติตามฤดูการท่องเที่ยว ทั้งนี้เพื่อจูงใจให้บริษัทตัวแทนการท่องเที่ยวพยายามหาวิธีการจำหน่ายตั๋วเดินทางท่องเที่ยวโดยผ่านบริษัทตัวแทนการท่องเที่ยว

การเดินทางทางน้ำรูปแบบอื่นๆ ( Other Types Of Water Travel )

ในปัจจุบันนอกเหนือจากบริษัทเดินเรือสำราญขนาดใหญ่แล้วนักท่องเที่ยวยังสามารถเดินทางโดยพาหนะอื่นๆ ได้อีกหลายประเภท เช่น

การเดินทางโดยเรือบรรทุกสินค้า ( Freighter Travel ) นักท่องเที่ยวจำนวนไม่น้อยที่รักความตื่นเต้นในการเดินทางท่องเที่ยว การเดินทางไปกับเรือบรรทุกสินค้าจึงเป็นคำตอบที่ดีที่สุดประการหนึ่งสำหรับผู้ชอบความตื่นเต้นของชีวิต ตามปกติเรือบรรทุกสินค้าจะบรรทุกสินค้าจะบรรทุกผู้โดยสารนอกเหนือจากเจ้าหน้าที่ประจำเรือได้ไม่เกิน 12 คน เรือบรรทุกสินค้าจะต้องมีแพทย์ 1 คน ไปกับเรือด้วย ซึ่งเท่ากับเป็นการเพิ่มภาระค่าใช้จ่ายให้แก่บริษัทเดินเรือเพิ่มขึ้น

การเดินทางโดยยายโฮเวอร์คร้าฟ ( Hovercraft ) ยานโฮวอร์คร้าฟเป็นพาหนะเดินทางทางน้ำซึ่งเคลื่อนตัวบนผิวน้ำด้วยความเร็วสูงและแรงดันลมจากใบพัดภายในตัวยาน ปัจจุบันยานโฮเวอร์คร้าฟได้ถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการข้ามช่องแคบที่มีความกว้างไม่มากนัก เช่น ช่องแคบอังกฤษระหว่างอังกฤษกับฝรั่งเศส ยานโฮเวอร์คร้าฟได้รับการพัฒนาขีดความสามารถในการบรรทุกได้ค่อนข้างมาก เช่น สามารถบรรทุกรถยนต์ได้หลายสิบคันพร้อมๆ กับการบรรทุกผู้โดยสารได้นับร้อยคนในเวลาเดียวกันความเร็วสูงสุดในการเดินทางของยานโฮเวอร์คร้าฟปัจจุบันนี้ ประมาณ 70 ไมล์ต่อชั่วโมงบนผิวน้ำ ซึ่งมีความเร็วสูงมากเมื่อเปรียบเทียบกับเรือเฟอร์รี่โดยทั่ว ๆไป

การเดินทางโดยเรือไฮโดรฟอยส์ ( Hydrofoils ) บางครั้งผู้โดยสารมักนิยมเรียกว่าเรือที่บินได้ ( Flying Ships) เรือไฮโดรฟอยส์มีลักษณะการทำงานโดยอาศัยหลักการเกี่ยวกับยานโฮเวอร์คร้าฟ กล่าวคือจะใช้กำลังดันของอากาศเพื่อยกตัวเรือให้ลอยอยู่เหนือพื้นผิวน้ำเวลาเรือจะไม่แตะกับผิวน้ำ ช่วยลดความเสียดสีและความสั่นสะเทือนได้เป็นอย่างดี

เรือไฮโดรฟอยส์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบันคือ เรือไฮโดรฟอยส์ท่องเที่ยวในแม่น้ำดานูบ ( Daube River ) ซึ่งวิ่งขึ้นลงระหว่างกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรเลียกับกรุงบูดาเปส ( Budapest ) ในประเทศฮังการี เรือไฮโดฟอยส์จะวิ่งได้ดีในพื้นน้ำที่เรียบหรือค่อนข้างสงบ เช่น ในแม่น้ำลำคลอง เป็นต้น แต่ในทะเลที่ค่อนข้างสงบ มีระบบป้องกันคลื่นลมได้ดี เรือชนิดนี้ก็สามารถวิ่งรับพานักท่องเที่ยวเดินทางไปมัลโม ( Malmo ) ในสวีเดน หรือระหว่างเมืองเนเปิลส์ ( Naples ) กับเกาะคาปรี ( Capri ) ในอิตาลี

การเดินทางโดยเรือท่องเที่ยวตามแม่น้ำลำคลอง ( River Boat Travel ) แม่น้ำลำคลองได้ถูกใช้เส้นทางการเดินทางท่องเที่ยวเป็นเวลาช้านานแล้ว แม่น้ำลำคลองถูกใช้เพื่อการขนส่งสินค้าและผู้โดยสารนับเป็นพัน ๆ ปีมาแล้วในอดีต

การท่องเที่ยวทางรถยนต์

ในประเทศที่พัฒนาแล้วประมาณ 80 ถึง 90 เปอร์เซ็นต์ ของนักท่องเที่ยวทั้งหมดนิยมการเดินทางโดยรถยนต์ (Automobile) รถยนต์คันแรกได้ถูกสร้างขึ้นในประเทศเยอรมันในปี คศ.1855 โดยบริษัทแดมเลอร์-เบนซ์ (Daimler-Benz) ซึ่งปัจจุบันนี้ยังเป็นบริษัทรถยนต์ชั้นของของโลกคือ เมอร์เซเดส เบนซ์(Mercedes Benz) ฝรั่งเศสเป็นอีกประเทศหนึ่งที่ได้เป็นผุ้บุกเบิกในการ พัฒนารถยนต์ ถึงแม้ในปัจจุบันนี้ เรายังคงใช้รถยนต์ที่สร้างในประเทศฝรั่งเศสหลายยี่ห้อ คำภาษา ฝรั่งเศส ที่เกี่ยวกับรถยนต์ก็ยังมีใช้กันอยู่ทั่วไป เช่น คำว่า การาจ(Garage) แซสซีส์ (Chdssis) และโชเฟอร์ (Chauffeur) เป็นต้น รถยนต์ได้ถูกสร้างขึ้น เพื่อเป็นสินค้าในสหรัฐอเมริกาในช่วงต้นของปี ค.ศ. 1898 และต่อจากนั้นรถยนต์ก็ได้รับความนิยมอย่าง กว้างขวางจากประชาชน ความนิยมของประชาชนต่อ รถยนต์ค่อยๆ ขยายไปทั่วโลกอย่างรวดเร็วนับตั้งแต่ หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา ประเทศอุตสาหกรรมใหม่ ๆ หลายประเทศได้หันมาผลิตรถยนต์เป็นสินค้าออกขนาดใหญ่ เช่น อิตาลี ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ เป็นต้น ปัจจุบันรถยนต์ได้กลายเป็นพาหนะที่ใช้กันมากที่สุดจนในบางประเทศรัฐบาลสร้างถนนให้เพียงพอกับจำนวนรถยนต์ที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ จนกลายเป็นปัญหาสำคัญที่ต้องแก้ไขกันต่อไป

ระบบทางหลวงแผ่นดิน ( Highway Systems )

ปัจจุบันนี้ระบบถนนหลวงระหว่างมลรัฐในสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีประวัติการเริ่มต้นมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1954 สามารถเชื่องโยงเมืองต่าง ๆ ในสหรัฐอเมริกาที่มีพลเมืองอาศัยอยู่หนาแน่นเกิน 50,000 คนขึ้นไปกว่า 90
เปอร์เซ็นต์ ในแคนาดา เส้นทางหลวงสายทรานส์ – แคนาดา ( Trans Canada Highway ) ที่เชื่อมระหว่างเมืองเซนต์จอห์น ( St. John ) ในนิวฟาวด์แลนด์ ( Newfoundland ) ในภาคตะวันออกติดกับเมืองวิกตอเรีย ( Victoria ) ในบริติชโคลัมเบีย ( British Columbia ) ในภาคตะวันตกของแคนาดาซึ่งทางหลวงสายนี้มีระยะทางถึง 5,000 ไมล์

ในเยอรมันทางหลวงหลายสาย “German Aurobahns” ซึ่งสร้างขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1930 เป็นต้นมา มีส่วนสำคัญต่อการกระตุ้นให้ประเทศต่างๆ ในยุโรปสร้างถนนหลวงคล้ายคลึงกับเยอรมันขึ้นมากมาย ดังนั้นการเดินทางไกลโดยรถยนต์ข้ามประเทศต่างๆ ในยุโรป จึงทำได้ง่ายได้และสะดวกในยุคปัจจุบันเช่นเดียวกันกับการเดินทางโดยรถยนต์ในทวีปอเมริกาเหนือ

ในทวีปเอเซีย ถนนหลวงสายเอเซียที่เชื่อมประเทศต่างๆ ในเอเชียเข้ากับทวีปยุโรปนั้นปัจจุบันเริ่มมีการปรับปรุงสภาพถนนและความปลอดภัยในบางประเทศให้มีขึ้นเพื่อรองรับนักขับรถยนต์ที่ต้องการใช้ถนนสายนี้เพื่อการเดินทางท่องเที่ยวซึ่งนับวันจะมากขึ้นเรื่อยๆ
รถยนต์และถนนหลวงจึงเป็นสิ่งที่มีความเจริญและพัฒนาคู่ขนานมาโดยตลอด ประชาชนและนักท่องเที่ยวให้ความนิยมต่อการใช้รถยนต์ในฐานะที่เป็นพาหนะในการเดินทางที่คล่องตัวและประหยัดที่สุด การเดินทางโดยรถยนต์ได้เจริญขึ้นเรื่อยๆ มาจนถึงปัจจุบันนี้ เพิ่งได้รับผลกระทบบ้างในช่วงวิกฤตการณ์น้ำมันโลกในทศวรรษของปี ค.ศ. 1970 เท่านั้น ที่ทำให้การเดินทางโดยรถยนต์ชะลอไปชั่วขณะหนึ่งแต่ในที่สุดกลับมาสู่ความนิยมในช่วงเวลาเดิมอีกในเวลาต่อมา

ข้อได้เปรียบของการเดินทางโดยรถยนต์ ( Advantages of Auto Travel )

รถยนต์ช่วยนักเดินทางได้รับประโยชน์และได้เปรียบมากกว่าการใช้พาหนะอื่น ๆ เพื่อการเดินหลายประการด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นรถบัสโดยสารรถไฟเรือสมุทรและปัจจุบันนี้เป็นที่นิยมเพิ่มมากขึ้นคือ การเดินทางอากาศ เพราะวาพาหนะการเดินทางเหล่านี้ค่อนข้างจะมีข้อจำกัดในเรื่องเวลาการเดินทางตั้งแต่จุดเริ่มต้นถึงจุดหลายทาง รวมทั้งความยืดหยุ่นในตารางการเดินทาง ซึ่งสามารถเปิดโอกาสจุดหมายปลายทางแห่งใหม่ ๆ ได้ปรากฏตัวขึ้นมาเพื่อสนองตอบต่อผู้เดินทางท่องเที่ยวโดยทางรถยนต์นั่งส่วนบุคคล

นอกจากนี้ขับขี่รถยนต์ยังสามารถควบรุมเวลาที่จะออกเดินทางเวลาที่จะไปถึงจุดหมายปลายทงถนนสายต่างๆ ที่เลือกใช้ในการเดินทางไปยังจุดหมายปลายทางและจุดหยุดพักในระหว่างทางกระเป๋าหรือสำภาระที่ง่ายต่อ การนำไปกับรถยนต์สำหรับการเดินทางที่ต้องการประหยัดรายจ่ายรถยนต์ก็สามารถส่งผู้เดินทางได้จำนวนมากว่าโดยเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย ที่สำคัญมากกว่านี้คือรถยนต์จะรอให้การบริการอยู่ตามจุดเดินทางต่างๆ ที่นักเดินทางท่องเที่ยวเดินทางมาถึง เพื่อสามารถที่จะให้บริการแก่นักท่องเที่ยวที่จะจัดแผนการเดินทางในระหว่างการท่องเที่ยวพักผ่อนของเขาเหล่านั้นได้อย่างเต็มที่ ดังนั้นจึงไม่น่าเป็นสิ่งแปลกประหลาดที่รถยนต์มีคุณลักษณะพิเศษในการยืดหยุ่นสูงจึงได้ความนิยมและเข้ามาแทนที่พาหนะเดินทางประเภทอื่นๆ เกือบทั้งหมดในปัจจุบันนี้

ในแง่ค่าใช้จ่าย ย่อมไม่เป็นที่สงสัยว่าค่าใช้จ่ายต่อคนต่อการเดินทางในแต่ละเที่ยวย่อมจะลดลงมากเมื่อมีผู้โดยสารมากขึ้น ค่าใช้จ่ายที่ถูกลงนี้จะเห็นได้ชัดเจนเมื่อครอบครัวเดินทางท่องเที่ยวเป็นระยะทางตั้งแต่ 1,000 ไมล์ขึ้นไป แต่ถ้าเกิน 1,000 ไมล์ขึ้นไป การเดินทางโดยเครื่องบินดูจะดึงดูดนักเดินทางท่องเที่ยวได้ดีกว่าแม้เป็นการเดินทางของครอบครัวก็ตาม ทั้งนี้เพราะค่าอาหาร เครื่องดื่มและค่าที่พักระหว่างเดินทางตามถนนหลวงค่อนข้างสูงมากในปัจจุบัน เมื่อเปรียบเทียบกับค่าโดยสารเครื่องบิน

ผลกระทบของทางหลวงสายใหม่ๆ ( Impact of New Higway )

ทางหลวงสายใหม่ๆ ที่ถูกสร้างขึ้นอย่างดีในปัจจุบันนี้มีผลกระทบต่อเมืองและหมู่บ้านต่างๆ เป็นอย่างมาก เมืองและหมู่บ้านเหล่านี้มีผลประโยชน์อย่างมากจากนักเดินทางที่ใช้รถยนต์เป็นพาหนะในจุดใดจุดหนึ่งของเวลา ตัวอย่างเช่น เมืองที่อยู่บนถนนหลวงที่มีผู้คนหนาแน่นในขณะที่ถนนสายนั้นยังไม่มีสภาพถนนที่ดีเท่าปัจจุบันก็จะเป็นจุดพักรถหรือพักการเดินทางได้เต็มที่ตามข้อกำหนดของจราจรเมืองๆ นั้นอาจเป็นแค่ทางผ่านของนักขับยนต์ และในที่สุดก็อาจลดความสำคัญลงเพราะไม่ได้เป็นจุดพักรถของนักเดินทางโดยรถยนต์อีกต่อไปแล้ว

ถนนหลวงที่ดีช่วยประหยัดเงิน ทั้งนี้เพราะถนนไม่มีนั้นจะทำให้สิ้นเปลืองน้ำมันค่าบำรุงักษารถอีกมากมาย บริษัทธุรกิจการท่องเที่ยวเช่นกันมีความสนใจที่จะใช้เส้นทางหรือถนนหลวงที่ดีมีการบำรุงรักษาอย่างดีมากกว่าการเลือกใช้ถนนที่มีสภาพแย่หรือไม่เหมาะต่อการขับรถเดินทาง

เส้นทางผ่านเมืองใหญ่ (Bypass) ที่ช่วยเร่งความรวดเร็วและประหยัดเวลาในการเดินทางก็เป็นสิ่งสำคัญต่อนักเดินทางท่องเที่ยวโดยรถยนต์ การประหยัดเวลาเป็นข้อได้เปรียบสำคัญสำหรับนักขับรถเดินทางไกลทั้งหลาย ทางหลวงสายใหม่ๆ ยังช่วยลดความคับคั่งภายในเมือง ซึ่งนักเดินทางในอดีตไม่สามารถหาทางเลือกอื่นได้ต้องขับรถผ่านเข้าไปในตัวเมืองที่มีการจรจรติดขัดหรืออีกนัยหนึ่ง ก็คือธุรกิจต่างๆ ในอดีตที่ไม่ได้รับประโยชน์จากระบบถนนแบบเก่าก็จะต้องประสบปัญหาความอยู่รอดของธุรกิจเพราะไม่มีนักท่องเที่ยวเข้ามาใช้บริการของตนอีกเลย อันเป็นผลเนื่องมาจากถนนใหม่ๆ ที่ถูกสร้างมาแทนที่ แต่อย่างไรก็ตาม ถนนหลวงสายใหม่ ๆ เกิดขึ้นตามถนนแถวนั้นๆ ด้วยเช่น จุดพักรถแห่งใหม่สำหรับนักเดินทางรถยนต์ และก่อให้เกิดการเปิดธุรกิจต่อเนื่องใหม่ๆ เช่น โมเต็ล (Motels) ภัตตาคาร (Restaurants) และแหล่งท่องเที่ยว ( Attractions ) ใหม่ๆ ที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวทางรถยนต์






รถยนต์สำราญหรือบ้านรถยนต์ (Recreational Vehicles)

รถยนต์สำราญหรือบ้านรถยนต์ (Motor Home) นับเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่ใหม่ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากจากนักท่องเที่ยวในปัจจุบันนี้ เหนุผลสำคัญประการหนึ่งก็คือรถยนต์สำราญหรือบ้านรถยนต์ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายแก่ครอบครัวที่เลือกพาหนะชนิดนี้ในการเดินทางท่องเที่ยว ทั้งนี้ก็เป็นผลมาจากการบริการตัวเอง นั่นก็คือนักท่องเที่ยวจะช่วยเหลือตัวเองในระหว่างการเดินทางท่องเที่ยว เช่น เตรียมอาหารรับประทานเองพักค้างคืนในรถยนต์สำราญหรือบ้านรถยนต์ ปกตินักท่องเที่ยวที่เดินทางเป็นครอบครัว ซึ่งใช้พาหนะดังกล่าวเหล่านั้นเป็นการเดินเพื่อกักผ่อนส่วนหนึ่งด้วยเพราะการเดินทางและกิจกรรมโดยรถยนต์สำราญ ช่วยให้เกิดความรู้สึกพักผ่อน ผ่อนคลายกับชีวิตปกติประจำวันที่บ้านและทีทำงาน ช่วยให้มีความรู้สึกว่าออกมาจากความซ้ำซากจำเจของชีวิตอย่างน้อยชั่วระยะเวลาหนึ่งระหว่างการพักผ่อนนั้นๆ

ปัจจุบันความเติบโตของนักท่องเที่ยวที่เดินทางท่องเที่ยวโดยรถยนต์สำราญหรือบ้านรถยนต์ในสรัฐอเมริกาและแคนาดาได้เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เป็นให้ความต้องการสถานที่จอดรถตามแหล่งท่องเที่ยวต่างๆมากขึ้น หรือแม้แต่การจอดถักรถในระหว่างเส้นทางที่พักริมทาง (Rest Area) ก็จำเป็นต้องจัดเตรียมบริการต่างๆ เช่น ไฟฟ้า ประปา และที่เก็บขยะที่สามารถต่อเข้ากับรถสำราญได้พอดี เพื่อเป็นการบริการที่รัฐหรือเอกชนอาจจัดไว้บริการแก่นักเดินทางท่องเที่ยวดังกล่าวนี้ ธุรกิจจัดลานรถยนต์สำราญพร้อมบริการอำนวยความสะดวกต่างๆ จึงเกิดขึ้นและเติบโตอย่างรวดเร็วในช่วง 20 ปี ที่ผ่านมา ในสหรัฐอเมริกาหน่วยงานที่เรียกว่า ลานจอดรถสำราญแห่งอเมริกาเหนือ(Kampqrounds of America KOA) เป็นธุรกิจเครือข่ายดำเนินการอยู่ทั่วประเทศ

รถโดยสารรับจ้าง รถบัสโดยสาร แลรถยนตเช่า (Taxis , Buses and Auto Rentals)

นักเดินทางท่องเที่ยวที่เดินทางโดยรถไฟ โดยทางเรือและโดยทางเครื่องบินตามปกติแล้วสามารถที่เดินทางถึงจุดหมายปลายทางสุดท้าย ได้ก็แต่โดยรถยนต์รับจ้างสาธารณะที่มีไว้บริการแก่นักท่องเที่ยวในรูปของรถรับจ้าง (Taxi) ยานพาหนะที่ราคาถูกที่สุด ซึ่งจัดไว้คอยบริการแก่นักเดินทางมากับเครื่องบินก็คือรถยนต์นั่งส่วนบุคคลของสนามบิน (Limousines) หรือรถบัส (Buses) โดยสารรับจ้างผู้โดยสารประจำสนามบินที่จะรับส่งผู้โดยสารจากสนามบินไปยังใจกลางเมือง หรือสถานที่พักต่างๆ ในสนามบินนานาชาติทั่วโลกจะมีบริการของเอกชนซึ่งได้รับสัมปทานการให้บริการขนส่งผู้โดยสารจากสนามบินไปยังจุดหมายปลายทางต่างๆ ในรูปของรถยนต์นั่งส่วนบุคคลรับจ้าง (Limousines) หรือรถบัสโดยสารไว้บริการแก่นักเดินทาง แต่ในบางประเทศ เช่น ยุโรปรถโดยสารรับส่งดังกล่าวจะเป็นของสายการบินแห่งชาติซึ่งรัฐบาลฝรั่งเศสในการสนับสนุนงบประมาณ ดังนั้นจึงไม่เปิดให้บริษัทเอกชนเข้ามาทำการแข่งขันได้

รถโดยสารประจำเส้นทาง (Sechduled Buses)

ปัจจุบันรถโดยสารประจำทางหรือรถบัสโดยสาร (Buses) เป็นพาหนะในการเดินทางระยะไกลบนภาคพื้นดิน และเป็นพาหนะเดินทางที่มีราคาถูกที่สุด เมื่อเรียบเทียบกับรถยนต์ รถไฟ ในระยะไกลที่เท่ากันสำหรับการเดินทาง ทั้งนี้เพราะคำว่าน้ำมันเชื้อเพลิงที่รถโดยสารประจำทางใช้ในการขนส่งผู้โดยสารนั้นต่ำกว่ายานพาหนะชนิดอื่นๆ และสถิติการจราจรก็พบว่ารถโดยสารประจำทางใช้ในการขนส่งผู้โดยสารมีความปลอดภัยสูงที่สุดในบรรดายานพาหนะที่วิ่งอยู่บนท้องถนนสายต่างๆ

เพื่อที่จะดึงดูดรถโดยสารให้นิยมเดินทางโดยรถโดยสารประจำเส้นทางมากยิ่งขึ้น บริษัทเดินรถโดยสารประจำทางหลายบริษัทได้พัฒนาระบบความสะดวกสบายในการบริการผู้โดยสารในหลายๆรูปแบบ เช่น ในแง่ของเทคโนโลยีก็ได้มีการสร้างเครื่องยนต์ที่มีพลังขับเคลื่อนสูงขึ้นมีเสียงเครื่องยนต์เงียบกว่าเดิม มีระบบที่นั่งโดยสารปรับเอนได้เหมือนที่นั่งเครื่องบินโดยสาร หน้าต่างกว้างขึ้น มีระบบความเย็นทั้งคันรถ มีระบบห้องสุขาที่สะอาดและสะดวก มีระบบทีวีและวีดีโอวิทยุเทป และมีพนักงานบนรถตลอดเส้นทางการเดินทาง

บริษัทรถโดยสารประจำเส้นทางหลายบริษัทได้เติบโตขึ้นเป็นเครือบริษัทขนาดใหญ่โดยขยายสายธุรกิจออกไปสู่ธุรกิจการท่องเที่ยวอื่นๆ เช่น บริษัทเดินรถโดยสารประจำเส้นทาง เกรฮาวด์ (U.S. Grey hound Company) ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งก่อตั้งแต่ ค.ศ. 1928 ขณะนี้เป็นเจ้าของภัตตาคารจำนวนทั่วสหรัฐ สถาบันการบริหารอาหารประเภทต่างๆ บริษัทรถเช่าและแม้กระทั่งการทำธุรกิจ การให้เช่าเครื่องบิน การส่งเงินและบริษัทประกันภัย บริษัทเดินรถโดยสารประจำเส้นทางขนาดใหญ่ที่มีธุรกิจต่อเนื่องในทำนองเดียวกับอีกบริษัทหนึ่งในสหรัฐอเมริกาคือ บริษัท เทรลเวย์ (Trailways) ที่มีเครือข่ายธุรกิจขนส่งทางรถยนต์ขนาดใหญ่

นอกเหนือจากบริษัทยักษ์ใหญ่ดังกล่าวแล้วยังมีบริษัทครอบครัวขนาดเล็กอีกมากมายที่ทำธุรกิจเดินรถโดยสารประจำเส้นทาง อุตสาหกรรมเดินรถประจำเส้นทางในสหรัฐอเมริกาได้ให้บริการที่มากกว่าสะดวกและง่ายดายต่อการจอรับบริการแก่ประชาชนทุกระดับ และทั่วถึงไปทั่วชุมชนต่างๆที่ไกลออกไปมากกว่าพาหนะชนิดอื่นใดที่มีอยู่ในประเทศดังกล่าว

ปัจจุบันบริษัทธุรกิจรถโดยสารประจำเส้นทางได้ขยายเศรษฐกิจออกไปสู่ทวีปประเทสต่างๆทั่วโลกอาจกล่าวได้ว่าอุตสาหกรรมรถยนต์โดยสารประจำเส้นทางเป็นพาหนะของมวลชน ในโลกยุคปัจจุบันและอนาคตโดยแท้
บริษัทรถโดยสารท่องเที่ยว (Bus Tour Companies)
นอกเหนือจากธุรกิจอุตสาหกรรมรถยนต์โดยสารประจำเส้นทางแล้วก็ยังมีธุรกิจการท่องเที่ยวที่ดำเนินธุรกิจการขนส่งเป็นของตนเอง มีรถโดยสารขนาดใหญ่เช่นเดียวกับรถยนต์โดยสารประจำเส้นทาง หรืออาจพัฒนาในความสะดวกสบายแก่ผู้โดยสารดีกว่ารถยนต์โดยสารประจำเส้นทาง

บริษัทรถยนต์โดยสารเหล่านี้เสนอบริการท่องเที่ยวในราคาของกลุ่มทัวร์เบ็ดเสร็จ ซึ่งราคาจะรวมทั้งพาหนะเดินทางทุกชนิด โรงแรม ที่พักของการขนส่งกระเป๋าเดินทางและอาหารเกือบทุกมื้อ ตลอดโปรแกรมการเดินทางรวมทั้งการดูแลเอาใจใส่นักท่องเที่ยวทุกคนในกลุ่มทัวร์ที่เกี่ยวกับรายละเอียดเล็กๆน้อยๆ แต่จำเป็นสำหรับนักท่องเที่ยว

บริษัทรถท่องเที่ยวเหล่านี้มีอัตราการเติบโตค่อนข้างสูงมากในส่วนแบ่งการตลาดของอุตสาหกรรมโดยสารในทวีปอเมริกาเหนือ ยุโรป และในเอเชียนักท่องเที่ยวในทวีปอมริกาเหนือในปี ค.ศ.2982 และนักท่องเที่ยวเหล่านี้ได้ใช้รายจ่ายรายได้ไม่เฉพาะแต่บริษัทรถโดยสารท่องเที่ยวเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงสถานที่พักแรมบริการอาหาร และแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ ตลอดเส้นทางการท่องเที่ยวในสหรัฐอเมริกาได้มีการเปลี่ยนแปลงกฏหมายใหม่เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้สนใจในธุรกิจโดยสารท่องเที่ยวขสู่ธุรกิจดังกล่าวได้ง่ายมากขึ้น และมีบริษัทธุรกิจขนาดเล็กจำนวนมากเริ่มเข้าสู่ขนาดเล็กจำนวนมากเริ่มเข้าสู่ตลาดดังกล่าวเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ

ในทวีปเอเชียโดยเฉพาะในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่นประเทศไทยแม้จะได้มีการพัฒนารถโดยสารท่องเที่ยวขึ้นมาเป็นปึกแผ่นและได้รับความนิยมเป็นอย่างดีจากผู้โดยสารซึ่งเป็นนักท่องเที่ยวจากทั้งภายในประเทศและนักท่องเที่ยวต่างประเทศก็ตาม แต่กฎระเบียบต่างๆ ที่ควบคุมการประกอบธุรกิจดังกล่าวนี้ยังไม่เกิดโอกาสให้นักธุรกิจและผู้ประกอบการรายย่อยได้มีโอกาส “เกิด” ในธุรกิจดังกล่าวได้ง่ายๆ

บริษัทรถเช่า (Car Rentals)
ในทวีปอเมริกาเหนือแห่งเดียวมีสถานที่บริการรถเช่ากระจายอยู่ตามเมืองต่างๆ ประมาณ 30,000 แห่งเกือบทั้งหมดของบริษัทรถเช่าเหล่านี้เป็นสาขาธุรกิจรถเช่าที่มีชื่อเสียง เช่น “Hertz” “Nation” “Avis” “Budget” เป็นต้น ธุรกิจรถเช่าดังกล่าวนี้มีลักษณะการดำเนินการแบบสัมปทาน (Franchied) เป็นพื้นฐานหลักและมีแนวโน้มจะยึดครองพื้นที่สถานที่บริเวณสนามบินต่างๆ ทั่วโลก

บริษัทธุรกิจเช่าขนาดใหญ่ที่สามารถขยายธุรกิจได้อย่างกว้างขวางนั้นขึ้นอยู่กับการโฆษณาทั้งในรับชาติและระดับนานาชาติ แต่อย่างไร แต่อย่างไรก็ตามก็ไม่เป็นสิ่งที่ยากลำบากหรือต้องใช้ทุนรอนมหาศาลสำหรับผู้สนใจที่จะเข้ามาสู่ธุรกิจเช่าดังกล่าวนี้ เพราะสิ่งทีต้องการคือสำนักงานและที่ จอดรถซึ่งทั้งสองอย่างนี้สามารถเช่าได้ รถยนต์เช่าก็เช่นเดียวกันสามารถเช่าดำเนินงานได้ หรือไม่ อาจต้องลงทุนจำนวนมากเพื่อหรือลดลง ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับฤดูกาลด้วย ข้อคำนึงประการหนึ่งของผู้สนใจประกอบกิจการรถเช่านี้ ก็คือธุรกิจประเภทนี้มักมีการแข่งขันในตลาดค่อนข้างสูง แต่เป็นธุรกิจ ที่ให้กำไรค่อนข้างมหาศาลสมควรแก่ผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จ

จุดโฆษณาที่สำคัญของธุรกิจรถเช่าส่วนใหญ่จะมุ่งที่กลุ่มนักธุรกิจที่เดินทางท่องเที่ยวหรือเพื่อธุกิจเป้าหมายหลัก โดยเสนอรายการรถเช่าในรูป “บินแล้วขับ” (Flydirve) หรือ “รถไฟ/รถยนต์” (Train/Auto) ซึ่งดูจะเหมือนช่วยดึงดูดนักท่องเที่ยวที่เดินทางไปพักผ่อนตามแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ ได้ดี

การท่องเที่ยวทางรถไฟ

รถไฟคันแรกที่นำมาใช้เป็นรถลากด้วยม้าบนรางเหล็กที่ประดิษฐ์ขึ้นอย่างหยาบๆ เพื่อใช้ในกิจการเหมืองแร่ ส่วนรถไฟจริงๆ นั้นได้ถูกนำมาวิ่งเป็นคันแรกในประเทศอังกฤษราวปี ค.ศ. 1825 ในระยะแรกๆ รถไฟถูกมองว่าเป็นยานพาหนะสำหรับขนส่งสินค้า มากกว่าจะใช้ขนส่งผู้โดยสาร จนกระทั่งราวปี ค.ศ. 1830 รถไฟส่งผู้โดยสารคันแรกในประวัติศาสตร์ก็ได้เริ่มเปิดกิจการขนส่งผู้โดยสารระหว่างเมืองสต๊อกตัน (Stockton) กับเมืองดาร์ลิงตัน (Darlington) ในอังกฤษภาคเหนือ

ความเติบโตของการท่องเที่ยวโดยรถไฟ (Growth of Rail Travel)

ภายหลังจากปี ค.ศ. 1830 รถไฟได้เติบโตก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็วมาก ดังเช่น ในอังกฤษเส้นทางรถไฟมีความยาวเลยความยาวของลำคลองในอังกฤษนั้นเกาะภายในเวลาไม่กี่ปีต่อมา ในปี ค.ศ. 1835 รถด่วนสายแรกได้เปิดทำการวิ่งระหว่างกรุงลอนดอน (London) กับเมืองท่าบริสตอล (Bristol) มีความยาวประมาณ 120 ไมล์ “รถด่วนมหัศจรรย์ของพระเจ้า” รถด่วนสายนี้ถูกใช้เดินทางโดยผู้อพยพไปลงเรือที่เมืองท่าบริสตอล เพื่อเดินทางต่อไปยังอาณานิคมต่างๆ และอเมริกา

ในปี ค.ศ. 1841 โทมัส คุ๊ก (Thomas Cook) ได้แนะนำการท่องเที่ยวทางรถไฟขึ้นเป็นครั้งแรกเป็นผู้ก่อตั้งรถไฟสายซึ่งเดินทางระหว่างลูห์โบโรห์ (Loughborough) ไปยังไลเซสเตอร์ (Leicestor) ในอังกฤษ และต่อมาภายในเวลาที่ไม่ยาวนักรถไฟได้นำผู้โดยสารไปเชื่อมกับศูนย์กลางของผู้คนจำนวนมากในบริเวณบ่อน้ำแร่ที่พักตากอากาศชายทะเลในยุโรปและในทวีปอเมริกาเหนือ จากจุดนี้กลายเป็นจุดเริ่มต้นของการสิ้นสุดรถม้าโดยสาร (Stagecoach) และการขนส่งผู้โดยสารตามแม่น้ำลำคลอง

เมืองบริเวณชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกของสหรัฐอเมริกาได้เชื่อมต่อกับเมืองต่างๆ รอบทะเลสาบทั้ง 5 (The Great Lake) โดยเส้นทางรถไฟในปี ค.ศ. 1850 และเชื่อมกับเมืองชิคาโกในปี ค.ศ. 1853 เส้นทางเดินรถไฟข้ามทวีปอเมริกาสายแรกสร้างเสร็จในราวทศวรรษของปี ค.ศ. 1860 โดยบริษัท (Unionpacific Railroad) เพื่อเชื่อมฝั่งตะวันตกของประเทศในมลรัฐเนบราสก้า (Nebraska) ในขณะที่บริษัท Central pacific Railroad เดินรถไฟโดยสารแคริฟอเนียไปยังฝั่งตะวันออกของประเทศในเวลาเดียวกัน โดยที่ทั้งสองบริษัทรถไฟข้ามทวีปมาพบกันที่จุดโปรมอนโตรี (Promontory Point) ในมลรัฐยูทาห์ (Utah) จึงนับเป็นจุดเริ่มต้นของการขนส่งผู้โดยสารข้ามทวีปโดยยานพาหนะรถไฟเป็นครั้งแรกในประเทศนี้

การเดินทางโดยรถไฟในยุคปัจจุบัน (Rail Travel Today)

ภายหลังปี ค.ศ. 1945 อดีตอันรุ่งโรจน์ของรถไฟก็ค่อยๆ ผ่านพ้นไปบริษัทเดินรถไฟในสหรัฐอเมริกาเป็นบริษัทเอกชนไม่ได้เป็นกิจการของรัฐบาลดังเช่นในยุโรป บริษัทเดินรถไฟเหล่านี้ได้หันไปทำความสนใจในการขนส่งสินค้ามากกว่าขนส่งผู้โดยสารเพื่อความอยู่รอดของกิจการ ปัจจุบันนี้ยังคงมีบริษัทเดินรถไฟรับส่งผู้โดยสารที่กิจการยังมั่นคงอยู่บางบริษัท เช่น Northeast Corridor แห่งสหรัฐอเมริกา และเส้นทางเดินรถไฟสายโตรอนโตถึงมอลทรีล ( Toronto to Montrea) ในแคนาดา เป็นต้น

ปัญหาหลักที่สำคัญประการหนึ่งของรถไฟขนส่งผู้โดยสารก็คือ เวลารถวิ่งบนรางเหล็กผู้โดยสารจะรู้สึกแข็งกระด้างมาก ทั้งนี้เป็นเพราะการออกแบบรถไฟที่แตกต่างกันระหว่างรถโดยสารกับรถขนสินค้ารถโดยสารได้ถูกออกแบบมาเพื่อให้วิ่งในอัตราความเร็วสูงกว่ารถสินค้า

การจำหน่ายตั๋ว Eurailpass

การจำหน่ายตั๋วรถไฟเพื่อการเดินทางท่องเที่ยวราคาถูกที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในยุโรปก็คือระบบ “Eurailpass” โดยนักท่องเที่ยวที่มีความประสงค์จะเดินทางท่องเที่ยวในประเทศต่างๆ ในทวีปยุโรปจะต้องซื้อตั๋วรถไฟระบบ “Eurailpass” ในสหรัฐอเมริกาหรือแคนาดาเสียก่อนที่จะเดินทางเข้าไปในยุโรป เพราะ Eurailpass จะไม่จำหน่ายในแก่นักท่องเที่ยวเมื่อเดินทางเจ้าไปในยุโรปแล้ว ตั๋วรถไฟสามารถใช้เป็นรายบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่เดินทางท่องเที่ยวด้วยกันได้ ตั๋ว Eurailpass จะให้บริการแก่นักท่องเที่ยวดังต่อไปนี้ การเดินทางโดยรถไฟชิ้นหนึ่งไม่จำกัดเที่ยว ไม่มีการเรียกเก็บเงินเพิ่มค่าธรรมเนียมใดๆ อีก สามารถใช้ตั๋วเดินทางไปในประเทศต่างๆ ได้ 16 ประเทศในยุโรป เช่น ออสเตรีย เบลเยี่ยม เดนมาร์ก ฝรั่งเศส เยอรมันตะวันตก อิตาลี ลักเซมเบิรก์ เนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์ สเปน สวีเดน สวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งอยู่ในเครือข่าย uro City Network บวกกับอีก 4 ประเทศ คือ ฟินแลนด์ กรีก โปตุเกส และสาธาณรัฐไอร์แลนด์

นอกจากนี้ระบบรถไฟ Eurailpass ยังเชื่อมโยงเส้นทางรถไฟเข้ากับระบบการขนส่งทางทะเล เช่น เรือโดยสาร เรือเฟอร์รี่ และรถบัสโดยสารต่างๆ ที่ผู้ถือตั๋วโดยสาร Eurailpass อาจไม่ต้องชำระเงินเพิ่มหรือได้รับส่วนลดพิเศษในการใช้พาหนะต่างๆ ในเครือข่ายดังกล่าว นับเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่นักท่องเที่ยวได้เป็นอย่างดียิ่งและเป็นการเดินทางที่สะดวกสบายสำหรับนักท่องเที่ยวที่มีลักษณะเด่นเป็นพิเศษด้วย นอกจากนี้รถไฟในยุโรปมีความตรงต่อเวลาทั้งเวลาออกเดินทางและเวลาที่ถึงสถานีปลายทางที่ไม่คลาดเคลื่อนไปจากตารางการเดินรถทุกๆ สถานีรถไฟที่จอดจะมีข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการเดินทางท่องเที่ยวไว้คอยบริการนักท่องเที่ยวครบถ้วนสมบูรณ์ทุกสถานี เช่น มีหน่วยบริการสำรองห้องพักโรงแรมทั่วยุโรปมีที่รับแลกเปลี่ยนเงินตรา มีตารางการเดินรถตลอดเส้นทางที่ชัดเจน ระบุจุดเชื่อมกับพาหนะเดินทางอื่นๆ ที่สะดวกสำหรับนักเดินทางท่องเที่ยว ไม่ว่าจะเป็นทางเรือ ทางรถยนต์ หรือแม่น้ำลำคลอง ซึ่งจะเชื่อมต่อกับสถานีรถไฟหรืออยู่ใกล้ๆ กันเป็นการอำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวในการเปลี่ยนพาหนะเดินทาง อนึ่งภัตตาคารของทุกสถานีรถไฟในยุโรปก็มีชื่อเสียงในด้านคุณภาพและบริการที่ดีเยี่ยม โดยตลอดมาจนเป็นที่ติดใจของบรรดานักท่องเที่ยวทั้งหลาย

โครงสร้างพื้นฐานการท่องเที่ยว(Tourism Infrastructure)

ระบบสาธารณประโยชน์ (Life-Support System)

ปัจจัยสำคัญในการดึงดูดใจของนักท่องเที่ยวคือความปลอดภัย รองลงมาคือการคมนาคมขนส่ง แหล่งท่องเที่ยว และบริการที่พักแรม ถ้ามีปัจจัยทุกอย่างพร้อมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศนั้นๆ ย่อมจะได้รับความสำเร็จเป็นอย่างดี ถ้าระบบสาธารณประโยชน์ของประเทศมีครบถ้วนเพียงใด ก็ยิ่งทำให้การท่องเที่ยวมีความเติบโตมากขึ้นเพียงนั้น เพราะค่าใช้จ่ายในการทำบ้านเมืองให้สะอาดสวยงามเป็นระเบียบในสายตาของคนต่างชาติ ก็ไม่มากเท่าใด เพราะไม่ต้องมาแก้ไข เช่น น้ำท่วมถนนหรือจราจรติดขัด เป็นต้น นับเป็นกำไรและช่วยให้ประหยัดเงินของประเทศลงไปอีกส่วนหนึ่ง

โครงสร้างพื้นฐานของแต่ละประเภท จึงมีความสำคัญยิ่งต่อการท่องเที่ยวตรงที่หากพิจารณากัน จะเห็นว่านักท่องเที่ยวจะไม่หยุดจุดหมายปลายทางของการเดินทางอยู่แค่ท่าอากาศยานในเมื่อท่าอากาศยานนั้นไม่เป็นสถานที่ที่ทันสมัย มีโรงแรมและร้านขายของที่ระลึกก็ไม่เตะตาผู้คนแต่อย่างใด จุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวจึงต้องพากันเข้าไปในเมือง ดังนั้นถนนและทางไฮเวย์จึงมีความสำคัญในการขนส่งผู้โดยสารจากท่าอากาศยานไปยังจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวถนนและทางไฮเวย์ซึ่งคนในประเทศใช้อยู่จึงเป็นโครงสร้างพื้นฐาน นอกจากนี้โครงสร้างพื้นฐานก็อาจรวมเอาน้ำ กำลังงานต่างๆเช่น กระแสไฟฟ้า ท่อระบายน้ำ การขจัดขยะมูลฝอย และลักษณะที่น่าพอใจของสิ่งสาธารณประโยชน์อื่นๆ

บริการอำนวยความสะดวกสบาย ซึ่งรวมอยู่ในโครงสร้างพื้นฐานของประเทศจึงมีส่วนทำให้เกิดความประทับใจแก่นักท่องเที่ยวเป็นอันมาก ความหมายของโครงสร้างพื้นฐานการท่องเที่ยวจึงน่าจะหมายถึง บริการอำนวยความสะดวกต่างๆ อันเป็นสิ่งสำหรับการยังชีพของมนุษย์ ที่อาจเรียกว่าสาธารณประโยชน์ ซึ่งรัฐบาลแต่ละประเทศได้ใช้เงินภาษีของประชาชนมาสร้างให้กับประชาชนในประเทศของเขาได้ใช้อยู่กินอย่างมีความสุข ดังนั้นโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ จึงเป็นที่ต้องการไม่เฉพาะแต่ประชาชนในประเทศเท่านั้น ยังได้ใช้ประโยชน์ต่อนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศอีกด้วยประเทศใดมีบริการสาธารณูปการดีมากก็ย่อมทำให้สะดวกสบายแก่ชาวต่างประเทศที่เข้ามาเยี่ยมเยียนและเป็นที่ประทับใจทำให้อยากจะมาท่องเที่ยวได้มาก

โครงสร้างพื้นฐานจึงเป็นเรื่องที่ต้องลงทุนด้วยเงินจำนวนมหาศาล และต้องใช้เวลาในการก่อสร้าง เช่น ถ้าจะวางท่อระบายน้ำท่อเล็กๆ ก็อาจจะใช้ได้สำหรับคนในประเทศ ซึ่งถ้ามีปริมาณเพิ่มขึ้นท่อดังกล่าวก็อาจส่งน้ำไปให้เพียงพอและไม่ทันใช้ถ้าผู้วางแผนคิดไว้ล่วงหน้าถึงการขยายตัวของประชากรและความก้าวหน้าด้านต่างๆ รวมทั้งการท่องเที่ยวก็อาจจะต้องเลือกท่อที่กว้างมากขึ้น เพื่อจะได้ไม่ต้องเปลี่ยนบ่อย ๆ ทำให้เกิดการติดขัดในการซ่อมถนนและน้ำกำไม่ท่วม เป็นต้น




การประสานงาน (Coordinated Approach)

การที่จะทำได้ดีขึ้นอยู่กับการประสานงานในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งมีอยู่ตั้งแต่น้ำกำลังงานไฟฟ้า โทรเลข โทรศัพท์ ถนนหนทาง เช่น ในเมืองไทยเพียงเรื่องไฟฟ้า น้ำประปา โทรศัพท์ ก็ทำให้ต้องขุดถนนซ้ำแล้วซ้ำเล่า เป็นหลุมเป็นบ่อ ทำให้จรจรติดขัด นั่นก็เพราะการประสานงานหรือคิดวางแผนล่วงหน้ากันมาก่อน ยิ่งเอาเรื่องการท่องเที่ยวเข้าไปรวมด้วย คงจะยิ่งลำบากมากขึ้น มองด้วยสายตาคนนอก อาจมองเห็นว่าเป็นเรื่องง่าย ๆ ที่น่าจะขุดหนเดียว แล้วทำงานร่วมกันได้ เรื่องนี้พูดกันมากทุกยุคทุกสมัยก็ยังไม่มีการแก้ไขได้

ในการทำงานร่วมกันมักจะหลงลืมการประสานงาน โดยเฉพาะเกี่ยวกับการท่องเที่ยวมักจะมีผู้ร่วมตัดสินใจหลายคน ต่างคนต่างก็มีความคิดแตกต่างกันออกไป การวางแผนโครงสร้างพื้นฐานมักจะตกอยู่กับวิศวกร แม้จะเป็นนักวิชาการเพียงใดแต่ก็อดไม่ได้ที่จะต้องคำนึงถึงเงินลงทุน และมีความคิดที่ประหยัด เช่น คิดเอาสายโทรคมนาคมไปแขวนไว้บนเสาไฟฟ้า เสียมากกว่าที่จะฝังไว้ใต้ดินดังนั้นถ้าทำได้ก่อนที่จะไปถึงขั้นให้วิศวกรคิดวางแผนอยู่คนเดียว จึงควรจะต้องวางมาตรการหรือมาตรฐานไว้ก่อนให้แน่นอน และสามารถบังคับออกเป็นระเบียบข้อบังคับไว้ด้วย

การทำงานทางโครงสร้างพื้นฐาน ควรทำงานเป็นทีมมากกว่าปล่อยให้คิดอยู่คนเดียวและควรคิดถึงผู้ที่เข้าใจการวางแผนทางด้านอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเข้าไปไว้ในทีมอยู่ด้วยเสมอ

น้ำ (Water)

น้ำมีความจำเป็นมากสำหรับโครงสร้างพื้นฐาน ไม่จะน้ำใช้อาบ หรือน้ำดื่ม การพัฒนาการท่องเที่ยวทำได้ยากถ้าสถานที่นั้นขาดแคลนน้ำ คงนึกไม่ถึงมาก่อนว่าการพักแรมของนักท่องเที่ยวเป็นจำนวนมากจะต้องใช้ปริมาณน้ำมากแค่ไหน? ได้มีการวิจัยพบว่าตามโรงแรมหรู ๆ ในสถานตากอากาศต้องการใช้น้ำมากประมาณ 350-400 แกลลอนต่อห้องต่อวัน สนามกอล์ฟใหญ่ขนาด 18 หลุม ตั้งอยู่ในพื้นที่แห้งแล้ง และขาดแคลนน้ำ ต้องใช้น้ำเป็นล้านแกลลอนต่อวัน (เป็นจำนวนที่ใช้อยู่เป็นปกติในภาคตะวันตกของสหรัฐอเมริกา)

ดังนั้นถ้าจะจัดสร้างที่พักแรมสำหรับนักท่องเที่ยว จะต้องมีน้ำใช้อย่างเพียงพอ ถ้าไม่มีน้ำใช้แล้วอาจทำให้ธุรกิจนั้นๆ เสียหายได้ ลองนึกดูว่าถ้านักท่องเที่ยวตื่นเช้ามาล้างหน้า แปรงฟันแล้วไม่มีน้ำให้ปฏิบัติกิจประจำวัน คงจะได้เล่าลือไปทั่วและต้องขาดผู้มาพักในโรงแรมนั้น ๆ อย่างไม่มีปัญหา

ความยากลำบากอีกประการหนึ่ง คือ การบริสุทธิของน้ำไม่ได้มีอยู่ในที่ทั่วไปบางแห่งก็ไม่มีการที่คนอเมริกันไม่ชอบไปเที่ยวประเทศ เม็กซิโก ซึ่งอยู่ใกล้กัน สาเหตุหนึ่งเพราะมีการคิดกันว่าน้ำที่เม็กซิโกไม่สะอาด ไม่บริสุทธิ์ ทั้งๆที่แม็กซิโกก็ลงทุนมากมายด้านอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและมีแหล่งท่องเที่ยวของเม็กซิโกจะดีขึ้นหากรัฐบาลแม็กซิโกจะปรับปรุงเรื่องน้ำเสียก่อน ดังนั้นน้ำก็นับว่ามีความสำคัญยิ่งและเป็นสิ่งที่โดนวิพากษ์วิจารณ์ทำให้ลดจำนวนนักท่องเที่ยวได้ด้วย จึงต้องแก้ไขในการสร้างเขื่อนขยายอ่างน้ำ เจาะหาแหล่งน้ำ และวางท่อที่ทำให้น้ำไหลอย่างไม่ติดขัด เป็นต้น

พลังงาน (Power)

พลังงานไฟฟ้าต้องมีอย่างเพียงพอเช่นกัน สำหรับโรงแรมใหญ่สร้างในสถานที่ตากอากาศจะต้องใช้กระแสไฟฟ้า 3.25 และ 3.75 ชั่วโมงกิโลวัตต์ ต่อห้องและต่อวัน ค่าไฟฟ้าที่มีราคาสูงเช่นเมืองไทย เป็นเหตุอย่างหนึ่งที่ทำให้โรงแรมต้องขาดทุน สำหรับด้านพลังงานนั้น ฝ่ายจัดการควรต้องกำหนดไว้ดังนี้

- จะต้องมีไฟฟ้าอย่างเพียงพอ
- จะต้องมีติดต่อกันไปโดยไม่ขาด
- จะต้องมีการคาดการณ์ล่วงหน้าสำหรับการใช้ไฟฟ้า อาจต้องจัดพิเศษเพื่อความต้องการที่จะเกิดขึ้นด้วย
- ต้องขยายกำลังรับให้เข้ากับเครื่องมือช่วยต่าง ๆ ที่ต้องใช้กระแสไฟฟ้า เช่น แปรงสีฟันไฟฟ้า เครื่องโกนหนวดไฟฟ้า เตารีด และเครื่องเป่าผม เป็นต้น
การพิจารณาโดยรอบคอบเกี่ยวกับพลังงาน ควรใช้ความเป็นจริงให้มากที่สุด ให้ระวังมลพิษที่จะเกิดและควรหลีกเลี่ยงการทำลายทรัพยากรธรรมชาติให้มากที่สุดที่จะมากได้

การติดต่อสื่อสาร ( Communication )

นักท่องเที่ยวมักต้องการจะถามข่าวทางบ้านหรือที่ทำงาน ซึ่งอยู่ไกลจากสถานท่องเที่ยวดังนั้นบริการโทรศัพท์ทั่วไปและโทรศัพท์ทางไกล โทรเลข ควรจะมีให้เพียงพอ โรงแรมที่มีบริการดีมักจะวางไว้เป็นกฎว่า ห้องจำนวน 20 ห้อง ควรมีโทรศัพท์ 1 เครื่อง เพื่อให้ได้ใช้อย่างทั่วถึงกัน

ท่อระบายอุจจาระหรือของโสโครกและท่อระบายน้ำ ( Sewage and Drainage )

ความสามารถในการดูแลสุขาภิบาลของประเทศได้แก่ ท่อระบายสิ่งโสโครกและท่อระบาย นับว่ามีความสำคัญอย่างหนึ่งในงานอุตสาหกรรมท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวย่อมไม่ชอบไปเที่ยวในที่ที่สกปรกอย่างแน่นอน
ในประเทศที่เจริญแล้ว การทำลายของโสโครกและท่อระบายน้ำ มักเตรียมทำไว้ดีมาก อุจจาระและสิ่งโสโครกสำหรับห้องหนึ่งๆ ต้องระบายออกทิ้งประมาณ 225-275 แกลลอนต่อวันส่วนท่อระบายน้ำนี้ บางครั้งก็อาจจะช่วยให้คนท้องถิ่นได้พลอยได้ใช้สาธารณะประโยชน์ถูกสุขลักษณะไปด้วย เพราะมีการท่องเที่ยวเกิดขึ้น เรื่องท่อระบายสิ่งโสโครกหรือน้ำเสียนี่ ต้องการผู้เชี่ยวชาญมาช่วยและต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง จึงต้องมีการพิจารณาอย่างรอบคอบ

บริการรถเดินทาง

เมื่อสมัยก่อนรถขนส่งทำได้ด้วยการเดิน ใช้ม้า หรือวิธีการอื่นๆ เช่น ถีบจักรยาน ขับมอเตอร์ไซด์ และต่อมาก็พัฒนามาเป็นรถยนต์ และรถบัสเพื่อขนส่งผู้โดยสารนับว่าเป็นการขยายงานขนส่งสาธารณะให้ทุกคนได้ใช้ร่วมกัน

ถนนก็สร้างให้ใหญ่ขึ้นแทนซอยเล็ก ๆ สร้างอย่างแข็งแรงแบ่งเป็นขั้น ๆ ไม่ให้พังลงมาง่าย ๆ ใช้วัตถุแข็งพอที่จะรับน้ำหนักทุกชนิดได้ทุกฤดูกาล

บริการช่วยต่าง ๆ เช่น สถานีจำหน่ายน้ำมัน สวนสาธารณข้างถนนซึ่งรวมเอาส้วมสาธารณะไว้ด้วย บริการที่ให้ความสะดวกในการซ่อมแซมรูและมีโต๊ะนั่งพักผ่อนหรือใช้เป็นที่ปิคนิคแวะกินอาหารเป็นต้น

Dit-Domestic individaul tour จัดการตามความต้องการของนักท่องเที่ยวภายในประเทศ Fit-car / minibus (foreign individual tour) บางคนก็เรียกว่าfree independence travel ซึ่งกล่าวโดยรวมคือการจัดการท่องเที่ยวตามความประสงค์ของนักท่องเที่ยวต่างชาติ
Minibus
Coach
Bus
Shuttle bus
Sic-sit in car

ถนนและไฮเวย์ ( Streets and Highways )

ถนนและไฮเวย์เป็นส่วนหนึ่งของการท่องเที่ยวที่สำคัญ ซึ่งน่าจะรวมการจราจรที่แน่นขนัดและผู้สัญจรทางเท้าที่เดินสวนกันไปมาด้วย บางแห่งอาจกลายเป็นที่ติดตลาดของพ่อค้าแม่ค้าถือโอกาสขายของตามทางเท้าหรือหรือบาทวิถีกลายเป็นถิ่นการค้าทำให้อยู่เหนือกฎจราจร ตำรวจต้องคิดหนักว่าจะแก้ไขจราจรอย่างไร อาจต้องเปลี่ยนให้รถวิ่งทางเดียว ตำรวจต้องคิดหนักว่าจะแก้ไขจราจรอย่างไร อาจต้องเปลี่ยนให้รถวิ่งทางเดียว หรือขยายถนนให้กว้างขึ้น หรือมีสัญญาณจรจรแปลก ๆ เพิ่มขึ้น หรืออาจจะหาที่จอดรถให้มากขึ้น เป็นต้น

การดึงดูดให้คนมาซื้อของ ย่อมต้องหาทางให้เกิดความสะดวกต่าง ๆ ผู้วางแผนก็จะต้องวางจราจรให้เป็นรูปวงกลมให้วางสินค้าได้เห็นชัด ส่วนถนนก็น่าจะสร้างให้มีความปลอดภัยไม่เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย รวมทั้งมีที่กลับรถ หรือจอดรถซ่อมได้ด้วย

การวางแผนสร้างถนนและสัญญาณต่าง ๆ บนถนนนั้นผู้วางแผนที่รอบคอบมักจะคำนึงถึงการชมวิว 2 ข้างทางด้วย ในแผนที่มักจะทำเครื่องหมายให้ทราบไว้ว่าตรงนั้นตรงนี้เป็นเส้นทางที่สวยงามบางครั้งในแผนที่นั้นก็มักจะมีเครื่องหมายโฆษณาสำหรับจุดที่น่าสนใจได้แก่ ร้านอาหาร ที่พัก และปั๊มน้ำมัน เป็นต้น การให้แผนที่หรือเอกสารนี้เป็นประโยชน์มากสำหรับนักท่องเที่ยวที่เดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัว หรือบริการรถเช่าเพราะจะทราบว่าจะไปทางไหนจึงจะพบร้านอาหาร เวลาหิวจัด และไปทางไหนจึงจะซื้อน้ำมันได้ เวลาน้ำมันจวนจะหมด เป็นต้น

ในต่างประเทศมีการรักษาความสวยงามของธรรมชาติ ด้วยการควบคุมป้ายที่เขียนบอกทางไม่ให้ติดตั้งมากจนปิดบังความสวยงามของวิว หรือ ป้ายโฆษณาต่าง ๆ ซึ่งก็ช่วยรักษาความสวยงามไว้ด้วย

สวนสาธารณะและสนามเด็กเล่น ( PARKS AND RECREATION )
สวนสาธารณะที่จัดทำขึ้น 2 ข้างทางถนนที่วิ่งทางไกลจะต้องมีกฏระเบียบเพื่อรักษาทรัพยากรธรรมชาติซึ่งก็จะต้องวางแผนให้มีที่กว้างขวางเพียงพอ ทำขึ้นสำหรับชาวบ้านในถิ่นนั้น และ นักท่องเที่ยวไปพร้อมกัน ซึ่งทั้ง 2 กลุ่มนี้อาจจะมีความต้องการไม่เหมือนกันได้ ดังนั้นผู้วางแผนควรจะต้องสร้างสวนสาธารณะขึ้นให้รับใช้ได้ทั้ง 2 กลุ่มโดยนำเอาความต้องการของทั้ง 2 กลุ่มมารวมกันแล้วผสมให้กลมกลืนกัน ก็จะมีประโยชน์ต่อการท่องเที่ยวได้มากเช่น สวนสาธารณะในตัวเมือง ควรสร้างให้กลมกลืนกันระหว่างสิ่งก่อสร้างรอบ ๆ กับบริเวณพื้นดินว่างเปล่าโล่ง ๆ ซึ่งตรงกันข้ามกับในบ้านนอกที่ห่างไกลแหล่งท่องเที่ยวใดที่สวยงาม คนจะมุ่งหน้าไปเที่ยวนั้นจึงกลายเป็นรวมกลุ่มกันอยู่ในหมู่บ้านแคบ ๆ ท่ามกลางที่หลายร้อยไร่ในทุ่งกว้าง

การดูแลด้านสุขภาพอนามัย ( HEALTH – CARE FACILITIES)

นักท่องเที่ยวอาจจะเจ็บป่วยกะทันหันเช่นเดียวกับคนทั่วไป จึงต้องวางแผนให้ความสะดวกในการรักษาพยาบาล เช่น การท่องเที่ยวบนภูเขา ก็จะต้องมีฝ่ายการรักษาพยาบาลที่รู้เรื่องโรคหัวใจหรือการเจ็บป่วยอื่น ๆ หรือการเล่นสกี ก็จำเป็นต้องเตรียมแพทย์ไว้รักษา เมื่อเกิดอุบัติเหตุ และมีผู้ให้การปฐมพยาบาลได้ทันท่วงที อาจจะต้องมีโรงพยาบาลเพื่อบริการแก่นักท่องเที่ยว โดยคำนึงถึงการใช้ภาษาให้เข้าใจกันได้ด้วย

ระบบการศึกษา ( Education System )

อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวต้องการผู้ทำงานที่มีความสามารถ และเข้าใจงานเป็นจำนวนมากจึงต้องใช้เวลาอบรม ถ้ามีแผนที่จะให้คนในท้องถิ่นได้รับประโยชน์ทางเศรษฐกิจจากการท่องเที่ยวให้เต็มที่ก็ควรจะเริ่มให้ความรู้เกี่ยวกับธุรกิจการท่องเที่ยวในโรงเรียนชนบท หรือโรงเรียนอาชีวะศึกษาประจำจังหวัดโดยด่วน เพราะตราบใดที่โรงเรียนในท้องถิ่นไม่สนใจแล้ว ประชาชนในท้องถิ่นก็จะพลาดโอกาสที่จะได้ทำงานในธุรกิจนี้ เพราะคนที่อื่นจะเข้ามาแบ่งหมด เป็นที่น่าคิดว่าผู้ทำงานด้านการท่องเที่ยวมักจะมาจากตลาดที่พูดภาษาอื่นไม่ใช่ภาษาท้องถิ่น การท่องเที่ยวจะได้รับความสำเร็จมากหากรู้จักเอาคนท้องถิ่นมาพูดภาษาของนักท่องเที่ยว การศึกษาทั้ง 2 ภาษาในโรงเรียน คือ ภาษาท้องถิ่นและภาษาที่นักท่องเที่ยวใช้อยู่จึงมีความจำเป็นมาก

สถานที่พักของผู้ที่ทำงานในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ( Living Requirments of Employees )

ถ้าแหล่งท่องเที่ยวอยู่ในเมือง ลูกจ้างที่ทำงานก็อาจพักอยู่ในบ้านของตนเองได้โดยเดินทางไปทำงาน เมื่อเลิกทำงานก็สามารถกลับบ้านด้วยรถประจำทาง หรือรถส่วนตัวชนิดต่าง ๆ ได้ เช่น รถจักรยาน มอเตอร์ไซค์ เป็นต้น
แต่ถ้าสถานที่ท่องเที่ยวนั้นอยู่ในชนบทห่างไกล ผู้วางแผนโครงสร้างพื้นฐานก็จะต้องหาที่พักให้กับลูกจ้างด้วย ควรจะแยกออกไปจากที่พักแรมของนักท่องเที่ยว จึงไม่ควรจะเอารวมกันและควรที่จะแยกออกไปจากที่พักแรมของนักท่องเที่ยว จึงไม่ควรจะรวมกัน และควรที่จะจัดหาให้เพียงพอและสามารถขยายได้ในอนาคต
ทั้งหมดที่กล่าวในบทนี้เป็นตัวอย่างของ โครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งอาจจะแยกออกเป็นโครงสร้างพ้นฐานทางกายภาพ และโครงสร้างพื้นฐานทางด้านเศรษฐกิจและสังคมที่ได้กล่าวไว้ในบทของการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว
ห้องพักของไกด์
รวมกับคนรถ ระวังเรื่องชายหญิง
แยก
พักรวมกับทัวร์ ลีดเดอร์ต่างชาติ ระวังเรื่องชายหญิง

ความรู้เกี่ยวกับการเข้าเมือง

ระเบียบวิธีการเข้าเมือง

การล่าช้าในการเข้าประเทศ หรือการรอขนถ่ายกระเป๋าเดินทาง หรือสิ่งของที่ติดตัวเข้ามากับนักท่องเที่ยว ก็เป็นสาเหตุหนึ่งเหมือนกับที่ทำให้เกิดความเบื่อหน่ายแบะตรึงอยู่ในความทรงจำ อาจจะทำให้นักท่องเที่ยวขยาดที่จะเดินทางไปอีกได้

ในการอำนวยความสะดวกที่ท่าอากาศยาน หรือประตูแรกของนักท่องเที่ยวจะเข้าประเทศนี้ มีความสำคัญในการจูงใจให้นักท่องเที่ยวติดใจ เพราะตามปกติ การตรวจลงตราหนังสือเดินทาง การตรวจค้นสิ่งของติดตัว กระเป๋าเดินทางของผู้โดยสารแต่ละคนใช้เวลามากพอสมควรอยู่แล้ว ยิ่งมีเครื่องบินโดยสารลงจอดในเวลาไล่เลี่ยกันหลายลำจะเสียเวลามาก บางครั้งตั้ง 1-2 ชั่วโมง จึงจะผ่านด่านตรวจไปได้

ในการเดินทางเข้าประเทศไทย นักท่องเที่ยวที่ขอวีซ่า (Tourist Visa) จะพักอยู่ในประเทศไทยได้ไม่เกิน 60 วัน ถ้าเดินทางเข้ามาโดยใช้หนังสือเดินทางและมีตั๋วเครื่องบินยืนยันกำหนดการเดินทางออกจากประเทศ (นักท่องเที่ยวที่ซื้อตั๋วไป-กลับมาจากประเทศที่ตนพำนักอยู่ในตั๋วเครื่องบิน จะมีวันที่ในการเข้าประเทศ และวันที่ในการออกจากประเทศอย่างชัดแจ้ง) จะสามารถพักอยู่ในประเทศไทยได้ไม่เกิน 15 วัน โดยไม่ต้องขอวีซ่าที่สถานกงศุลไทยประจำเมืองฮ่องกง ซึ่งจะได้รับอนุญาตให้พักอยู่ในประเทศไทยได้ไม่เกิน 7 วัน

เมื่อนักท่องเที่ยวเดินทางมาด้วยเครื่องบินท่าอากาศยานดอนเมืองจะมีการตรวจหนังสือเดินทาง หลักฐานการปลูกฝีฉีดยา (ปัจจุบันนี้เลิกไปแล้ว) ตรวจกระเป๋าเดินทางเพื่อป้องกันการลักลอบนำของเข้าหรือนำเข้าเกินกว่ากำหนด หรือนำวัตถุสิ่งของต้องห้ามเข้ามาในประเทศ

ในเรื่องระเบียบพิธีการเข้าเมืองหรือออกจากเมืองนี้ มีความสำคัญในการท่องเที่ยว เพราะในธุรกิจใดๆ ที่อำนวยความสะดวกในการท่องเที่ยว เช่น ธุรกิจโรงแรมบริษัทนำเที่ยว บริษัทจำหน่ายตั๋วเครื่องบิน หรือร้านค้าของที่ระลึก ฯลฯ เหล่านี้ ควรจะรู้รายละเอียดต่างๆ ของพิธีการ เพื่อจะได้ช่วยเหลือนักท่องเที่ยวได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน้าที่ของมัคคุเทศก์นั้น ต้องมีหน้าที่ทำนองพี่เลี้ยงของนักท่องเที่ยวต่างชาติที่มาขอให้เป็นผู้นำเที่ยว จึงต้องคอยสอบถามและขอดูหลักฐานการอนุญาตในหนังสือเดินทางของคนต่างชาติว่าเจ้าพนักงานตรวจคนเข้าเมืองอนุญาตให้อยู่ในประเทศไทยถึงวันเดือนปีใด แล้วต้องคอยเตือนให้เขารู้ไว้ และหากนักท่องเที่ยวมีความประสงค์จะขออนุญาตอยู่ชั่วคราวตลอดไปอีกนานเท่าใด ก็จะได้ให้คำแนะนำที่ถูกต้อง หรือนำไปพบเจ้าพนักงานตรวจคนเข้าเมืองเพื่อให้ยื่นคำร้องขออนุญาตอยู่ชั่วคราวต่อไป (Application for Extension of Stay) เสียให้ถูกต้อง ทั้งนี้ เพื่อป้องกันมิให้นักท่องเที่ยวผู้นั้นต้องเสี่ยงต่อการกระทำผิดกฎหมายโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์หรือโดยเลินเล่อได้

ระเบียบพิธีการเข้าเมืองนี้จะได้แยกอธิบายเป็น 4 ตอน คือ
1. ความรู้เกี่ยวกับการตรวจคนเข้าเมือง
2. หนังสือเดินทาง
3. พิธีการศุลกากร
4. ข้อควรทราบเกี่ยวกับการควบคุมการแลกเปลี่ยน

1. ความรู้เกี่ยวกับการตรวจคนเข้าเมือง
1.1 การประทับตราของเจ้าพนักงานตรวจคนเข้าเมือง
เพื่อที่จะได้รู้จักกับดวงตราที่เจ้าพนักงานตรวจคนเข้าเมืองใช้ประทับในหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางของคนต่างด้าวที่ได้อนุญาตให้อยู่เป็นการชั่วคราวพร้อมด้วยความหมายและข้อความในตราที่ประทับ จึงขออธิบายตัวอย่างดังต่อไปนี้
1.1.1 ตราอนุญาตให้คนเดินทางผ่านเฉพาะเครื่องบินได้ไม่เกิน 48 ชั่วโมง
ตราชนิดนี้แสดงว่าเจ้าพนักงาน ได้อนุญาตให้คนต่างด้าวประเภทที่อยู่ในประเทศไทยได้ไม่เกิน 48 ชั่วโมง นับแต่วันเดือนปีและเวลาที่เข้ามาถึงโดยเครื่องบินและต้องออกไปกับเครื่องบิน ณ ท่าอากาศยานดอนเมืองเท่านั้น ตราชนิดนี้ต่ออายุไม่ได้เว้นแต่จำเป็นจริงๆ และจะต้องยื่นคำร้องขออนุญาตด้วยตนเองต่อเจ้าพนักงานตรวจคนเข้าเมืองท้องที่ก่อนถึงเวลากำหนดอนุญาตด้วย
1.1.2 ตราอนุญาตสำหรับผู้ได้รับอนุญาตให้เป็นคนผ่านได้ภายใน 8 ชั่วโมง
ตรานี้ระบุวัน เดือน ปี ที่อนุญาตไว้ชัดแจ้งตามข้อความในตราข้อ 2 แล้ว และจะขอต่ออายุอีกไม่ได้ เว้นแต่มีกรณีพิเศษหรือมีความจำเป็นจริงๆ ที่ไม่อาจออกไปได้ เช่น เจ็บป่วย เป็นต้น จะต้องยื่นคำร้องด้วยตนเองต่อเจ้าพนักงานฯ ก่อนถึงกำหนดเวลาอนุญาตด้วย
1.1.3 ตราอนุญาตชั่วคราวสำหรับนักท่องเที่ยวหรือทัศนาจร
ตามข้อความที่ปรากฎนั้นชัดแจ้งอยู่แล้ว หากจำเป็นจะต้องขออยู่ต่อไป ก็อาจยื่นขออยู่ต่อไปจากเจ้าพนักงานฯ ได้ แต่ปกตินั้นบุคคลประเภททัศนาจร ซึ่งได้รับการตรวจลงตราประเภทเข้ามา จะได้รับอนุญาตให้อยู่ได้ไม่เกิน 30 วันเท่านั้น แต่หากมีกรณีพิเศษหรือจำเป็นจริงๆ เช่น การเจ็บป่วย ก็ยื่นคำร้องขออนุญาตเพื่อขออยู่ต่อไปอีกก็ได้
1.1.4 ตราอนุญาตชั่วคราวสำหรับผู้เข้ามาทำธุรกิจการค้า ความสำราญ อนามัย และอื่นๆ เช่น นักกีฬา เป็นต้น ตราประทับดังนี้

ตราอนุญาตชนิดนี้อาจพอต่ออายุชั่วคราวต่อไปได้ โดยครั้งแรกจะได้รับอนุญาตเพียง 15 วัน และหากจำเป็นจะต้องอยู่ต่อไปอีก ก็ต้องไปยื่นคำร้องขออนุญาตต่อไป ต่อเจ้าพนักงานตรวจคนเข้าเมืองได้อีก 30 วัน รวมเวลาที่จะได้รับอนุญาตไม่เกิน 60 วัน นับแต่วันที่เข้ามาถึง แต่อย่างไรก็ดีหากมีความจำเป็นอย่างแท้จริง ก็อาจยื่นคำร้องขอผ่อนผันต่อคณะกรรมการพิจารณาคนเข้าเมืองได้อีกเท่าที่จำเป็น โดยยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานตรวจคนเข้าเมืองท้องที่ เช่น บุคคลประเภทตามข้อ 1.1.1, 1.1.2 หรือ 1.1.3 ก็ได้

อนึ่ง เมื่อคนต่างด้าวจะกลับออกไปนอกประเทศนั้น จะต้องไปรายงานตัวเองต่อเจ้าพนักงานตรวจคนเข้าเมือง ซึ่งควบคุมท่า หรือสถานีก่อนทุกคน

เมื่ออ่านดวงตราที่ใช้ประทับใจหนังสือเดินทางเข้าใจแล้ว ควรจะได้เข้าใจว่าแต่ละประเทศมีแนวนโยบายเกี่ยวกับการควบคุม กีดกัน และจำกัดคนต่างด้าวกันอย่างไร และการตรวจคนเข้าเมืองมีความจำเป็นแก่ประเทศอย่างใดบ้าง

1.2 หลักกำหนดแนวนโยบายเกี่ยวกับการควบคุมต่างด้าว (Trends of immigration policy) หลักนี้ใช้ในการควบคุม กีดกัน และจำกัดคนต่างด้าวกันอย่างไร และการตรวจคนเข้าเมืองมีความจำเป็นแก่ประเทศอย่างใดบ้าง

1.2.1 ประเภทไม่จำกัด กีดกัน หรือควบคุมคนต่างด้าวในการเข้าใจประเทศเลย (Unrestricted immigration) หลักนี้เคยใช้กันทั่วไป ประเทศไทยก็เคยใช้ก่อนที่จะมี พ.ร.บ. คนเข้าเมือง พ.ศ. 2470 แต่ในปัจจุบันไม่มีประเทศใดใช้นโยบายนี้แล้ว
1.2.2 ประเภทที่กำหนดคุณภาพของคนต่างด้าว (Qualitative Restrication of immigration) คือ มีการกำหนดคุณภาพของคนต่างด้าว หรือกำหนดลักษณะต้องห้ามของคนต่างด้าวที่จะเข้ามาในประเทศ เช่น มาตรา 15 แห่ง พ.ร.บ. คนเข้าเมือง (พ.ศ. 2493 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2497 (ฉบับที่ 2) อันเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน) กำหนดลักษณะคนต่างด้าวซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักรไม่ว่ากรณีใด เป็นต้น
1.2.3 ประเทศที่ห้ามไม่ให้คนต่างด้าวแต่ละสัญชาติเข้ามาตั้งถิ่นที่อยู่ในประเทศ (Quantitative Restriction of Immigration) คือมีการจำกัดหรือกำหนดจำนวนคนต่างด้าวแต่ละสัญชาติ เข้าไปตั้งถิ่นที่อยู่ในประเทศ เช่น ตาม พ.ร.บ. คนเข้าเมือง พ.ศ. 2493 มาตรา 29 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยออกประเทศเป็นรายปี อนุญาตให้คนต่างด้าวแต่ละสัญชาติเข้ามาตั้งถิ่นที่อยู่ในประเทศไทยได้ไม่เกินประเทศละ 200 คนต่อปี
1.2.4 ประเทศที่ห้ามไม่ให้คนต่างด้าวทุกสัญชาติเข้ามาตั้งถิ่นที่อยู่ในประเทศทั้งหมด (Prohigition of all Immigration)

นโยบายตามหลักข้อ 1.2.2 และ 1.2.3 นั้น ประเทศไทยและสหรัฐอเมริกาใช้อยู่ส่วนข้อ 1.2.4 นั้น ประเทศสหภาพพม่าถือปฏิบัติอยู่และก็ใช้ได้ข้อ 1.2.2 สำหรับคนต่างด้าวที่เข้าไปประกอบธุรกิจเป็นการชั่วคราวควบเข้าด้วยสำหรับพระราชบัญญัติคนเข้าเมืองนั้นนับเป็นกฎหมายมหาชนที่ออกใช้เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยและความปลอดภัยของประเทศและประชาชนโดยตรง แต่ละประเทศสามารถร่าง พ.ร.บ. นี้ ขึ้นตามความเห็นที่เป็นประโยชน์ของตน ประเทศอื่นๆ ต้องเคารพสิทธินี้และปฏิบัติตามจะไปสอดแทรกหรือคัดค้านไม่ได้

การตรวจคนเข้าเมือง จึงมีความจำเป็นแก่ประเทศ เพราะคนต่างด้าวซึ่งย้ายถิ่นที่อยู่เข้าไปตั้งหลักแหล่งทำมาหากินในอีกประเทศหนึ่งนั้น ย่อมจะมีความตั้งใจแตกต่างกันออกไป บางส่วนหรือบางกลุ่มที่มิได้กระทำไปโดยความบริสุทธิ์ใจอาจจะมีเจตนาอื่นแอบแฝงอยู่ เช่น สืบความลับของประเทศที่ตนเข้าไปอาศัย หรือเผยแพร่ลัทธิอันเป็นภัยแก่ระบอบการปกครองและสถาบันต่างๆ ของประเทศ นอกจากนี้อาจจะมีภัยที่จะเกิดจากคนต่างด้าวกลุ่มใหญ่ได้ เช่น ภัยทางเศรษฐกิจ การกลืนชาติ การก่อวินาศกรรม ทำจารกรรมหรือบ่อนทำลายความมั่นคง ความสงบเรียบร้อยของประชาชนและบ้านเมือง เพื่อผลงานการเมืองระหว่างประเทศ

สำหรับประเทศไทยนั้น ตามมาตรา 15 พ.ร.บ. คนเข้าเมือง พ.ศ. 2493 แก้ไขเพิ่มเติมตามมาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ. คนเข้าเมือง พ.ศ. 2497 ฉบับที่ 2 มีดังนี้

“มาตรา 15 ห้ามมิให้คนต่างด้าวที่มีลักษณะอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้เข้ามาในราชอาณาจักร คือ
1. ไม่มีหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางอันถูกต้อง และในกรณีที่ต้องรับการตรวจลงตรง ไม่ได้รับการตรวจจากสถานฑูตหรือกงศุลไทยในต่างประเทศ
2. ไม่มีปัจจัยในการยังชีพ ข้อนี้สำหรับผู้เข้ามาชั่วคราว เช่น พวกนักทัศนาจรมิได้บังคับแต่อย่างใด
3. ไม่สามารถเสียเงินค่าธรรมเนียมตามพระราชบัญญัตินี้ ส่วนใหญ่หมายถึงผู้ไม่สามารถเสียเงินค่าธรรมเนียมค่าใบสำคัญถิ่นที่อยู่ หากได้รับอนุญาตให้เป็นคนเข้าเมืองมีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทยได้แล้ว
4. มีโรคอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งกำหนดในกฎกระทรวงมหาดไทย (พ.ศ. 2494) ได้แก่ โรคริดสีดวงตา โรคเรื้อน วัณโรค และกามโรค
5. วิกลจริต หรือไม่สามารถประกอบอาชีพได้เอง จิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ ร่างกายพิการหรือมีโรค
6. ยังมิได้ปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษ หรือฉีดวัคซีน หรือปฏิบัติการอย่างอื่นตามวิชาการแพทย์ เพื่อป้องกันโรค และไม่ยอมให้กระทำเช่นนั้น ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ (พระราชบัญญัติป้องกันโรคติดต่อ)
7. มีพฤติการณ์เป็นที่น่าเชื่อว่า เป็นคนอันธพาล หรือเป็นคนที่น่าจะก่อเหตุร้ายหรืออันตรายต่อความปลอดภัยของประชาชนหรือราชอาณาจักร
8. มีพฤติการณ์ที่น่าเชื่อว่า เข้ามาเพื่อค้าประเวณี เพื่อประกอบกิจที่ขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชนหรือเพื่อค้าหญิงหรือเด็กหญิง
9. เป็นบุคคลที่รัฐมนตรีไม่อนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรตามความในมาตรา 16 พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง 2493 ได้แก่ ผู้ที่เป็นอาชญากรระหว่างประเทศ พวกค้ายาเสพติดให้โทษค้าสิ่งขอหลบหนีภาษีระหว่างประเทศ ฯลฯ เป็นต้น
10. เป็นบุคคลไม่มีเงินติดตัวมาตามจำนวนที่รัฐมนตรีประกาศตามมาตรา 28 พ.ร.บ. คนเข้าเมือง พ.ศ. 2493 ข้อนี้ยังไม่เคยมีประกาศใช้เลยจนกระทั่งบัดนี้”

การกำหนดลักษณะต้องห้ามมิให้เข้ามาในราชอาณาจักรของคนต่างด้าวดังกล่าวข้างต้น มุ่งเฉพาะผู้ซึ่งอาจะเป็นภัยแก่ประเทศและประชาชน และไม่เป็นการขัดกับนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวของรัฐแต่อย่างใด มีหลักฐานเป็นจำนวนมากที่ปรากฎว่ามีนักทัศนาจรปะปนเข้าประเทศอยู่เสมอได้ ลักลอบซุกซ่อนสินค้าหนีภาษีบ้าง นำเงินตราต่างประเทศเข้ามาขายบ้าง ส่วนคนเข้าเมืองที่สุจริตย่อมไม่กระทบกระเทือนแต่ประการใด

2. หนังสือเดินทาง (Passport)
2.1 ความเป็นมาของหนังสือเดินทาง ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 ค.ส. 1914 ทุกประเทศยังไม่มีหนังสือเดินทางแบบที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้ ผู้ที่เดินทางท่องเที่ยวจะถือเอกสารสำคัญแสดงเพียงสัญชาติและฐานะ ครั้งเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 1 ยุติลงองค์การระหว่างประเทศ เรียกว่า องค์การสันนิบาต ได้เริ่มชักชวนให้ประเทศต่างๆ กำหนดแบบหนังสือเดินทางขึ้นเป็นมาตรฐานและได้ตกลงให้ลักษณะของหนังสือเดินทาง มีดังนี้
2.1.1 รายละเอียดต่างๆ ในหนังสือเดินทาง
1. เลขที่
2. ชื่อนามสกุลของผู้ถือ
3. สัญชาติ
4. อาชีพ
5. ที่เกิด
6. วัน เดือน ปีที่เกิด
7. ภูมิลำเนา
8. รูปพรรณ เช่น ส่วนสูง สีตา สีผม ตำหนิ
9. รูปถ่ายของผู้ถือหนังสือเดินทาง
10. ระบุประเทศของผู้ที่ใช้หนังสือเดินทางนั้นไว้
11. วันหมดอายุ
12. สถานที่ออกหนังสือเดินทาง
13. เมือง และวัน เดือน ปีที่ออกหนังสือเดินทาง
14. เจ้าหน้าที่ของประเทศที่เป็นผู้ออกหนังสือเดินทาง
15. เจ้าหน้าที่ของประเทศที่เป็นผู้ออกหนังสือเดินทาง

2.1.2 ภาษาที่ใช้ กำหนดให้ใช้อย่างน้อย 2 ภาษา คือ ภาษาแห่งชาติตนและภาษาฝรั่งเศส
2.1.3 จำนวนหน้าของหนังสือเดินทาง กำหนดให้มีรายละเอียดของผู้ถือหนังสือเดินทางดังกล่าวข้างต้นเพียง 4 หน้า และอีก 28 หน้า สำหรับตรวจลงตราและการประทับตรวจผ่านเข้าผ่านออกของเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง ฉะนั้นเล่มหนึ่งๆ จึงมีจำนวน 32 หน้า
2.1.4 อายุของหนังสือเดินทาง หนังสือเดินทางอาจจะออกให้ใช้ได้สำหรับการเดินทางเพียงครั้งเดียว หรือสำหรับระยะเวลา 2 ปี เมื่อหมดอายุ 2 ปี แล้วอาจจะต่ออายุให้ได้อีก
2.1.5 ประเภทของหนังสือเดินทางในปัจจุบันหนังสือเดินทางที่ประเทศต่างๆ นิยมใช้กันนั้นแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ

1. หนังสือเดินทางทูต (Diplomatic Passport)
2.หนังสือเดินทางราชการ (Official Passport)
3. หนังสือเดินทางธรรมดา (Regular Passport)

ในทางปฏิบัติ การออกหนังสือเดินทางให้แก่ประชาชนในประเทศต่างๆ ก็คล้ายคลึงกันโดยรัฐเป็นผู้ออกให้แก่คนในสังกัดสัญชาติของตน และรัฐยังมีภาระผูกพันธ์รับผิดชอบต่อประเทศที่ประชาชนแห่งรัฐเดินทางเข้าไปอีกด้วย

สำหรับประเทศไทย การออกหนังสือเดินทางเป็นหน้าที่ของกระทรวงการต่างประเทศและเจ้าหน้าที่ผู้ออกหนังสือเดินทาง คือ
1. ฝ่ายหนังสือเดินทาง กองการกุศล เป็นเจ้าหน้าที่ออกหนังสือเดินทางให้แก่ผู้มีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักร
2. สถานทูต สถานกงศุลไทยในต่างประเทศ เป็นเจ้าหน้าที่ออกหนังสือเดินทางให้แก่ผู้อยู่ในต่างประเทศ

2.2 การยื่นคำร้องต่อเจ้าหน้าที่
ผู้ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพมหานคร จะต้องยื่นคำร้องต่อเจ้าหน้าที่ฝ่ายหนังสือเดินทางกองการกุศล กระทรวงการต่างประเทศ

ผู้ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในต่างประเทศ ยื่นคำร้องต่อเจ้าหหน้าที่จังหวัดที่ตนมีภูมิลำเนาอยู่และเจ้าหน้าที่จังหวัดจะวัดส่งเรื่องราวไปยังกระทรวงการต่างประเทศต่อไป

ผู้ที่อยู่ต่างประเทศ จะต้องยื่นคำร้องหรือขอต่ออายุหนังสือเดินทางต่อเจ้าหน้าที่ของสถานฑูต หรือสถานกงศุลไทย

2.3 การตรวจลงตราหนังสือเดินทาง
การตรวจลงตราหนังสือเดินทาง (Visa)
1. การตรวจลงตราหนังสือเดินทาง (Visa) คือ คำอนุญาตของสถานฑูตหรือสถานกงศุล ตัวแทนของประเทศซึ่งผู้ร้องขอมีความประสงค์จะเดินทางเข้าไปโดยประทับตราอนุญาตลงบนหนังสือเดินทาง
2. การตรวจลงตราให้กลับ (Re-entry Visa) คือ คำอนุญาตของเจ้าหน้าที่ในประเทศ อนุญาตให้คนต่างด้าวที่เข้ามาอยู่ในประเทศนั้น กลับเข้ามาในประเทศได้อีก เมื่อคนต่างด้าวนั้นประสงค์จะเดินทางไปนอกประเทศ โดยไม่ต้องไปขอทำวีซ่าจากผู้แทนของประเทศนั้นในต่างประเทศอีก
จะเห็นได้ว่า Visa กับ Re-entry Visa มิได้ต่างกันในความหมาย หากความแตกต่างอยู่ที่เจ้าหน้าที่ผู้ออก ซึ่งอยู่ต่างสถานที่เท่านั้น

การตรวจลงตราหนังสือเดินทางของไทย โดยเฉพาะหนังสือเดินทางธรรมดา แบ่ง 5 ประเภทคือ
1) ประเภทคนเข้าเมือง
(Immigrant Visa) เป็นการตรวจลงตราแก่ข่าวต่างประเทศที่ประสงค์จะเดินทางเข้ามามีถิ่นที่อยู่ประจำในราชอาณาจักร ซึ่งขึ้นกับโควต้าที่ยอมให้คนเข้าเมืองเป็นคนสัญชาตินั้นๆ ได้ ตามประกาศของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
2) ประเภทไม่นับเป็นคนเข้าเมือง (Non-Immigrant Visa) คือ การตรวจลงตราแก่ชาวต่างประเทศ ที่ประสงค์จะเดินทางเข้ามาเพื่อการเยี่ยมเยียน ธุรกิจความสำราญ อนามัย การศึกษา อันมีลักษณะเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว
3) ประเภทท่องเที่ยว (Trourist Visa) คือ ตรวจลงตราให้แก่ชาวต่างประเทศที่จะเดินทางเข้ามา เพื่อวัตถุประสงค์ในการท่องเที่ยว ทัศนากรเป็นการชั่วคราวเท่านั้น
4) ประเภทคนเดินทางผ่าน (Transit Visa) คือ ตรวจลงตราให้แก่ชาวต่างประเทศที่จะเดินทางผ่านราชอาณาจักรไปยังประเทศอื่น
5) ประเภทคนเข้าเมืองนอกโควต้า (Non-Quota Immigrant Visa) คือการตรวจลงตราให้แก่ชาวต่างประเทศที่มีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักร ซึ่งจะต้องมีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว มีใบสำคัญถิ่นที่อยู่หรือใบแทนและรายการสลักหลังแจ้งออกในใบสำคัญถิ่นที่อยู่ของเจ้าพนักงานตรวจคนเข้าเมือง ยังมีอายุใช้ได้อยู่ด้วย

บุคคลที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องตรวจลงตรา
นอกจากที่กล่าวมาข้างต้น ยังมีบุคคลอีกจำพวกหนึ่ง ได้รับการยกเว้นให้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรในประเภทคนอยู่ชั่วคราว ทัศนาจร และเดินทางผ่านโดยไม่ต้องได้รับความตรวจลงตราหนังสือเดินทางจากสถานฑูต สถานกงศุลไทยในต่างประเทศ คือ

1.คนสัญชาติอเมริกัน (ถือหนังสือเดินทางทุกประเภท)
2.คนสัญชาติอิตาลี เนเธอร์แลนด์ เบลเยี่ยม อิสราเอล ลุกเซมเบอร์ก เยอรมัน ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย เดนมาร์ก สวีเดิน นอร์เวย์ เกาหลี และสิงคโปร์ ผู้ซึ่งถือหนังสือเดินทางฑูตและหนังสือเดินทางราชการ
3.บุคคลที่เดินทางมาจากประเทศที่ไม่มีสถานฑูตสถานกงสุลไทยตั้งประจำอยู่และได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว
4.คนเดินทางผ่านเข้าในราชอาณาจักรแล้วเดินทางออกไปนอกประเทศ โดยพาหนะทางอากาศ ภายในเวลาไม่เกิน 48 ชั่วโมง

สำหรับผู้ที่เดินทางเข้ามาจากที่ไม่มีสถานฑูตหรือสถานกงสุลไทยตั้งประจำอยู่ในประเทศนั้น จะต้องปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งตามวิธีการดังนี้

1. อาจขอรับการตรวจตราได้จากสถานฑูต สถานกงสุลไทยที่ใกล้เคียงที่สุดหรือจะเดินทางไปประเทศหนึ่งประเทศใดที่มีสถานฑูต สถานกงสุลตั้งอยู่อาจขอรับการตรวจตราก่อนเดินทางเข้าประเทศไทย
2. ด้วยการยื่นคำร้องขอเข้ามาในราชอาณาจักรผ่านผู้แทนทางการฑูตหรือผู้แทนทางกงสุลของตน ซึ่งตั้งสำนักงานอยู่ในกรุงเทพมหานคร (ถ้ามี)
3. ด้วยการยื่นคำร้องโดยตรงถึงกองตรวจคนเข้าเมือง ซอยสวนพลู กรุงเทพฯ

อายุของการตรวจลงตรา
กำหนดไว้เพียง 60 วัน นับจากวันที่ได้ทำการตรวจลงตรา หากผู้เดินทางไม่อาจเกิดทางเข้ามาถึงประเทศไทยได้ภายในกำหนด อาจต่ออายุการตรวจลงตราได้ ทันที ณ ที่ยื่นคำร้องเดิม เจ้าหน้าที่อาจต่ออายุให้ถึง 6 เดือน หรือต่ำกว่านั้น แต่สถานฑูต สถานกงสุลไทยในเส้นทางที่ผ่านไม่มีอำนาจจะต่ออายุการตรวจลงตราที่ได้ตรวจลงตรามาจากที่อื่น ในกรณีที่ผู้เดินทางได้รับการตรวจลงตราแล้ว แต่เดินทางยังไม่ถึงประเทศไทย เกิดอายุการตรวจลงตราขาดลงเสียก่อนที่จะเดินทางเข้ามาถึงประเทศไทย ผู้เดินทางจะต้องขอรับการตรวจตราใหม่จากสถานฑูต สถานกงศุลไทย ในทางที่ตนผ่านมา หมายความว่า ถ้ายังไปติดอยู่ในประเทศอื่นอีกจะต่ออายุไม่ได้ ซึ่งหมายความว่าจะต้องเสียค่าธรรมเนียมการลงตราใหม่ ณ สถานทูตหรือสถานกงสุลไทยในประเทศที่ไปติดอยู่นั้น