จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันจันทร์ที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2555

จะเริ่มต้นสร้างสรรค์งานเทศกาลภาพยนตร์ของคุณเองได้อย่างไร

ของ มิเชลล์ สเวนสัน(Michelle Swenson) พิมพ์เผยแพร่ใน
http://koreanfilm.org/startfest.html
) เมื่อ วันที่ 14 ธันวาคม ค.ศ. 2001
แปลและเรียบเรียงโดย นางสาว ปิ่นมยุรฉัตร ศรีวัฒนสาร
นักศึกษาชั้นปีที่4 ภาควิชาภาพยนตร์และสื่อดิจิทัล คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (ขอขอบคุณเป็นอย่างยิ่ง)


เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ งานเทศกาลภาพยนตร์ขนาดเล็ก อาทิ งานซับเวย์ ซิเนมา(Subway Cinema) ในนิวยอร์ค หรือ งานบรอดเวย์ ซิเนมาเทก(Broadway Cinematheque) ในฮ่องกงเป็นกระจกบานใหญ่ที่สะท้อนบทบาทในการนำภาพยนตร์จากชาติอื่นๆ มานำเสนอต่อสายตาของผู้ชมหน้าใหม่ ในบรรดาเทศกาลภาพยนตร์เหล่านี้ปรากฏว่าผู้จัดจำนวนมากมิได้เป็นพวกมืออาชีพ แต่กลับเป็นบุคคลทั่วไปที่มีความลุ่มหลงในศิลปะแขนงนี้ สำหรับท่านที่สนใจจะเริ่มต้นสร้างสรรค์งานเทศกาลภาพยนตร์ด้วยตนเอง หรือ ท่านที่ใคร่รู้ว่างานเทศกาลภาพยนตร์จัดขึ้นได้อย่างไร บทความนี้จะมีแนวทางที่เกี่ยวกับคำแนะนำ ประสบการณ์และการให้กำลังใจมานำเสนอ

ขั้นตอนที่1 (PHASE 1: PRE-PRODUCTION.)
เมื่อเตรียมความคิดพร้อมแล้วก็มีงานใหญ่หลายอย่างที่จะต้องทำ ดังนี้
อันดับแรก(section 1) การทำรายการ(list) เพื่อให้กระบวนการผลิต(production) มีความเป็นไปได้
ระยะเวลาเตรียมการ(Time line): ประมาณ 1 ปี 6 เดือน ก่อนงานเทศกาลภาพยนตร์จะเปิดตัว
องค์ประกอบสำคัญของการจัดเทศกาลภาพยนตร์ ได้แก่
· เจ้าหน้าที่(staff) อย่างน้อย 2 คน (ไม่รวมผู้จัดงาน)
· ภาพยนตร์คุณภาพ (good films)
· สถานที่จัดฉายภาพยนตร์ (Screening venue)
· เงิน(Money)
ฟังดูน่าจะง่าย ใช่มันเป็นเรื่องง่ายจริงๆ ปัจจัยทั้ง 4 ข้อเป็นสิ่งที่ต้องใช้ในการทำงานให้ประสบผลสำเร็จ
องค์ประกอบที่1 เจ้าหน้าที่(staff) มักจะเป็นเรื่องไม่ยากในการหาคนที่ยินดีจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของการเริ่มต้นขึ้นทำงานแบบไม่ต้องจ่ายค่าแรง คุณจำเป็นต้องหาเพื่อนร่วมงานที่มีเป้าหมายในการทำงานแบบจริงจังและลุ่มหลงในงานพอๆกับตัวคุณเอง การตระหนักรู้ในเป้าหมายของโครงการจะมีประโยชน์ต่อผู้ร่วมงาน โดยเฉพาะถ้างานเทศกาลของคุณได้กลายเป็นเทศกาลพิเศษประจำปีที่ผู้คนจากทุกมุมโลกตั้งความคาดหวังอย่างสูงเอาไว้ บรรดาผู้ที่มีส่วนช่วยคุณริเริ่มจัดเทศกาลภาพยนตร์ ควรจะได้รับการพิจารณาให้เป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งในงานเทศกาลภาพยนตร์นั้น ตราบเท่าที่พวกเขามีส่วนช่วยเหลืออย่างแท้จริงให้งานบรรลุเป้าหมาย นอกจากนี้ คุณก็อาจจะสามารถเสนอร้อยละของส่วนแบ่งจากผลกำไรตลอดการจัดงานให้แก่พวกเขาได้ โดยขึ้นอยู่กับรายได้รวมของเทศกาล แน่นอนระยะเริ่มต้นนั้น ส่วนแบ่งก็จะเป็นเพียงตัวแปรที่มีความหลากหลาย


องค์ประกอบที่2 ภาพยนตร์คุณภาพ ขึ้นอยู่กับคุณจะพิจารณาว่าภาพยนตร์คุณภาพ คือ อะไร จากนั้นก็คัดเลือกภาพยนตร์ที่คุณรู้จักมาประมาณ 5-10 ประเภท(types) แล้วจึงสืบค้นภาพยนตร์เรื่องอื่นที่มีแนวเรื่องคล้ายกัน ไม่ว่าจะเป็นภาพยนตร์อิสระทั้งหลายของเกาหลี ภาพยนตร์ตลกทั้งหมด ภาพยนตร์แนวสิทธิมนุษยชน(Human rights subject) หรือ แม้แต่ภาพยนตร์ใหม่(new releases) ของปีที่ผ่านมา เพื่อใช้บอกกรอบการนำเสนอในงานเทศกาลภาพยนตร์ของคุณ แหล่งสืบค้นที่ดีที่สุด คือ ข้อมูลการจัดฉายภาพยนตร์เรื่องต่างๆ ของเทศกาลภาพยนตร์ปีที่ผ่านๆ มา นอกเหนือจากการสืบค้นโปรแกรมของเทศกาลภาพยนตร์ที่คุณเคยชื่นชอบมาก่อน โทรศัพท์หาหรือเขียนจดหมายถึงเจ้าหน้าที่ฝ่ายประสานงานของเทศกาลภาพยนตร์เพื่อขอคำปรึกษาเกี่ยวกับภาพยนตร์ที่คุณต้องการจะนำมาจัดฉาย บางทีพวกเขาอาจจะแนะนำให้คุณติดต่อกับผู้สร้างภาพยนตร์โดยตรงก็ได้ แหล่งสืบค้นอื่นๆ รวมถึง ข้อมูลจากซอล์ฟแวร์ของเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ ( computer databases) ซึ่งบรรจุบทความจากหนังสือพิมพ์และนิตยสารต่างๆไว้จำนวนมาก ถ้าคุณไม่สามารถเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ซอล์ฟแวร์ใดๆ ได้ ก็ลองใช้แหล่งเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศที่ผู้เขียนชอบใช้ประจำ คือ Lexis/ Nexis ซึ่งเป็นระบบห้องสมุดของมหาวิทยาลัยทั่วไป ระบบอินเทอร์เนตเป็นแหล่งสืบค้นที่ยอดเยี่ยมเช่นเดียวกับแหล่งสืบค้นประเภทอาจารย์และนักวิจารณ์ภาพยนตร์ แน่นอนคุณควรจะติดต่อกับองค์กรจำนวนมากที่เกี่ยวข้องกับภาพยนตร์ที่คุณสนใจ เพราะไม่เพียงแต่เขาจะช่วยคุณค้นหาภาพยนตร์ที่คุณสนใจ พวกเขายังอาจจะเป็นหุ้นส่วนผู้ทรงคุณวุฒิในงานเทศกาลของคุณ ได้ด้วย


องค์ประกอบที่ 3 (Screening venue) ขั้นตอนนี้ ควรจะต้องมีความคิดเอาไว้ได้แล้วว่า งานเทศกาลประเภทไหนที่ต้องการจะจัดขึ้น ช่วงเวลานี้จึงเหมาะที่จะเริ่มต้นการเขียนจดหมายเสนอทำโครงการจัดงานเทศกาลภาพยนตร์ จดหมายนี้จะอธิบายแผนการจัดงาน(the event) ขอบเขตของการจัดงาน ประเภทของผู้ชมที่ตั้งเป้าเอาไว้ และงบประมาณที่จะใช้ในการจัดงาน โครงสร้างของข้อเสนอ( the proposal structure) เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของการเขียนจดหมายเพื่อขอการสนับสนุนในโครงการ คุณสามารถที่จะหารูปแบบข้อเสนอโครงการที่หลากหลายได้จากหนังสือคู่มือการสร้างภาพยนตร์(filmmaking guidebooks) หนึ่งในจดหมายขอรับการสนับสนุนโครงการจัดเทศกาลภาพยนตร์ฉบับแรกๆเป็นการส่งถึงเจ้าของสถานที่จัดฉายภาพยนตร์ หลังจากนั้นก็ติดตามจดหมายดังกล่าวโดยการเชิญผู้จัดการโรงภาพยนตร์โดยตรงเพื่อมาร่วมกันพิจารณาถึงความเป็นไปได้ในการ “แบ่งเทศกาลภาพยนตร์” ไปฉายในโรงภาพยนตร์ของพวกเขา มีเหตุผลสำคัญ 3 ประการที่จะอธิบายว่าเหตุใดคุณจึงต้องร่วมมือกับผู้จัดการโรงภาพยนตร์ พยายามอย่าคุยรายละเอียดทางโทรศัพท์ มากนัก แต่ควรจะคุยรายละเอียดกับพวกเขาระหว่างการร่วมดื่มกาแฟ หรือ ขณะร่วมรับประทานอาหารกลางวัน วิธีนี้คุยจะเห็นปฏิกิริยาของกันและกัน และยังอาจได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นใหม่ๆ ซึ่งกันและกันเพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นด้านของการมีโอกาสที่ดีที่สุดในการได้พบและต้อนรับผู้อื่นเข้ามาอยู่ในชุมชนภาพยนตร์ท้องถิ่นถิ่นของคุณ(local film community) และการเข้ามานั่งอยู่ด้วยกันจะสามารถช่วยให้เห็นข้อดีของการจับมือกันเพื่อผลประโยชน์ของทั้งสองฝ่ายได้


การแสวงหาการสนับสนุนทางการเงินก็ต้องก้าวผ่านกระบวนการเดียวกัน การมองไปที่สถาบันทางด้านวัฒนธรรม ซึ่งแม้ว่าจะไม่มีเงินสนับสนุนโครงการ แต่องค์กรเหล่านั้นอาจแบ่งปันพื้นที่สื่อ หรือ สมาชิกฐานข้อมูล(press or member databases)ของพวกเขา หรือ บางทีพวกเขาอาจจะกลายเป็นหนึ่งในผู้สนับสนุนทางการเงิน(sponsor) หรือ เป็นผู้นำเสนอ(presenter) ที่เทศกาลของคุณ ซึ่งพวกเขามีส่วนร่วมโดยการส่งนักประชาสัมพันธ์ของพวกเขาเข้ามาร่วมงานในนามของเทศกาลกาลภาพยนตร์ของคุณ อย่างไรก็ตาม คุณสามารถที่จะได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อการประหยัดงบประมาณ โดยไม่จำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากพวกเขา ขอให้คิดอย่างสร้างสรรค์ วิธีที่ดีที่สุดที่ผู้เขียนมักใช้เสมอในการให้หน่วยงานใดๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดงานเทศกาลภาพยนตร์ คือ การแต่งตั้งให้เขาเข้ามาเป็นเจ้าภาพร่วม อาจจะเป็นเจ้าภาพร่วมในคืนวันเปิดงานหรือวันปิดงานก็ได้ เพื่อเขาจะได้มีส่วนในการสนับสนุนอาหารหรือเครื่องดื่ม บางทีแม้แต่ในการออกบัตรเชิญ ก็อาจจะใส่ชื่อหน่วยงานของพวกเขาลงไปในสื่อสิ่งพิมพ์ประชาสัมพันธ์ด้วยก็ได้ อีกวิธีที่ดีในการทำงานร่วมกันคือการมีองค์กรอื่นอีกต่างหากในการสร้าง (หรือสนับสนุนด้านการเงิน) แก่คณะกรรมการพิจารณา(panel discussion) หรือ การประชุมเชิงปฏิบัติการ ด้านภาพยนตร์(film workshop)ในงานเทศกาลของคุณ จึงเห็นได้ว่า มีหลายวิธีในการที่จะเข้ามาเป็นหุ้นส่วนกันได้


การขอความสนับสนุนในด้านของรางวัลสำหรับเทศกาลภาพยนตร์ น่าเศร้าที่จะต้องบอกว่า หนทางที่ง่ายที่สุดในการจะได้เงินมาสนับสนุนมาจากบริษัทที่มักถูกมองว่าเต็มไปด้วยความขัดแย้ง หรือ มีเรื่องเกี่ยวกับการฉ้อฉล ในลักษณะนี้ ถ้าคุณกำลังผลิตงานเกี่ยวกับเทศกาลภาพยนตร์เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ก็อย่าไปขอรับการสนับสนุนจากบริษัทน้ำมัน น่าสังเกตเป็นอย่างยิ่งว่า ขึ้นอยู่กับศีลธรรม(morals)ของคุณที่จะผลักดันให้คุณเดินไปหาบริษัทประเภทใดให้มาสนับสนุนทางการเงินให้คุณ นี่เป็นเรื่องเฉพาะตัว แต่ก็อยากจะเตือนให้เห็นว่า มีบริษัทประเภทใดบ้างที่ต้องการจะให้ชื่อบริษัทของตนปรากฏอยู่ในเทศกาลภาพยนตร์ อีกประการหนึ่งขอให้จำไว้ว่า เงินของผู้สนับสนุนทั้งหลายนั้นล้วนมาจากฝ่ายการตลาดของเขา หรือ อย่างน้อยก็ออกมาจากการส่งเสริมของฝ่ายการตลาด นั่นไม่ใช่ปัญหา แต่ขอให้พึงตระหนักไว้ว่า พวกเขาก็มีกลุ่มเป้าหมายทางการตลาดขนาดใหญ่ที่ต้องการเข้าถึงอยู่แล้ว ผู้ชมงานเทศกาลภาพยนตร์ของคุณอาจจะไม่ใช่กลุ่มเป้าหมายของพวกเขาก็ได้ ถ้าผู้ชมงานเทศกาลภาพยนตร์เป็นส่วนหนึ่งของเป้าหมายทางการตลาดของผู้สนับสนุนทางการเงิน พวกเขาก็อาจจะเป็นเพียงเป้าหมายขนาดเล็ก โดยทั่วไปการสนับสนุนด้วยของรางวัลจะดำเนินการล่วงหน้าไปแล้วนานนับปีภายใต้การดำเนินการขอรับการสนับสนุน หลายบริษัทวางแผนล่วงหน้าแล้วว่า พวกเขาจะต้องสนับสนุนกิจกรรมเทศกาลภาพยนตร์ครั้งหนึ่ง สนับสนุนกิจกรรมทางด้านมนุษยธรรมครั้งหนึ่ง สนับสนุนกิจกรรมกีฬาครั้งหนึ่ง เหตุนี้จึงจำเป็นต้องแจ้งแนวของภาพยนตร์ไปก่อนหน้าเป็นเวลา 1 ปี 6 เดือน เพื่อขอรับการสนับทางการเงินจากบริษัทของสปอนเซอร์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับกำหนดเวลาในการเปิดรับข้อเสนอการขอรับการสนับทางการเงินในแต่ละปีของบริษัทสปอนเซอร์ด้วย เพราะบางทีเงินสนับสนุนทางด้านศิลปะอาจถูกใช้ไปแล้วก่อนหน้าที่คุณจะเข้าไปติดต่อก็ได้ บริษัทสปอนเซอร์มักจะไม่เริ่มให้การสนับสนุนทางการเงินในช่วงต้นของปีงบประมาณ หรือ ตอนต้นปี เพื่อเป็นหลักประกันแห่งความสำเร็จที่มากและดีที่สุด จึงต้องเริ่มต้นแสวงหาการสนับสนุนทางการเงินก่อนกำหนดการเปิดเทศกาลภาพยนตร์ของตนเป็นเวลานานถึง 1 ปี กับอีก 6 เดือน


อย่ามองข้ามธุรกิจขนาดเล็กลงมา การได้รับเงินสนับสนุนเล็กๆน้อยสามารถทำได้ง่ายกว่า การขอรับการสนับสนุนด้านอาหารจากภัตตาคารในย่านใกล้เคียง ใครก็อยากบริจาคเงินเพียงเล็กน้อยเพื่อแลกกับการที่จะให้ชื่อเสียงของพวกเขาปรากฏแก่สาธารณะอย่างคุ้มค่า ขอให้มีความมั่นใจในการเข้าหาแหล่งเงินสนับสนุน คุณมีโครงการสำคัญในมือ และจนกว่าพวกเขาจะเชื่อถือในความมั่นใจของคุณ คุณจึงจะก้าวถึงระดับแห่งความสำเร็จที่สุดเพียงพอที่จะได้รับการสนับสนุนทางการเงิน ภาพยนตร์มีเสน่ห์เสมอสำหรับบุคคลทั่วไป ไม่ว่าพวกเขาจะบริจาคเงินมากหรือน้อย การมีส่วนร่วมในงานภาพยนตร์และดาราภาพยนตร์ต่างก็มีส่วนสนับสนุนแก่สปอนเซอร์ทั้งสิ้น


การขอรับทุน ควรเน้นใบสมัครที่ดูดี เนื่องจากผู้ให้ทุนจะให้ความสำคัญแก่องค์กรที่มีสถานภาพเป็นผู้ไม่ไม่แสวงหาผลกำไรเป็นอันดับต้นๆ การมีสถานภาพขององค์กรไม่แสวงหาผลกำไรจะมีส่วนช่วยเป็นอย่างยิ่ง หากไม่ดำเนินการตามนี้ก็ควรมีเวลาสักอย่างน้อย 2 ปี ก่อนเวลาเปิดงานเทศกาล


การหาเงินเป็นเรื่องยาก แต่ถ้าได้เงินมาแล้ว คุณก็สามารถที่จะเริ่มต้นพัฒนางานเทศกาลภาพยนตร์ของคุณได้อย่างเป็นรูปธรรม คุณจะรู้ได้ทันทีว่าจะต้องใช้เงินเท่าใดในการทำโครงการ
อันดับแรก(section 2)
Timeline: อย่างน้อย 8 เดือนก่อนถึงวันเปิดเทศกาลภาพยนตร์
คุณจะสามารถฉายภาพยนตร์ได้กี่เรื่อง
1 .ประเภทของภาพยนตร์ที่จะฉายจะช่วยให้คำตอบแก่คุณในประเด็นนี้; ภาพยนตร์ทั่วไปจะมีความยาว เฉลี่ย90 นาที ภาพยนตร์เรื่องยาวจะฉายนาน 120 นาที ภาพยนตร์สั้นและสารคดีจะฉายนาน 3 - 60 นาที
2.สถานที่จัดฉายภาพยนตร์ พวกเขาเตรียมการอย่างไรบ้างสำหรับการฉายภาพยนตร์(ในแง่ของอุปกรณ์และเครื่องฉายภาพยนตร์) มีห้องฉายภาพยนตร์กี่ห้อง แต่ละห้องมีความสามารถในการรองรับผู้ชมได้กี่คน คุณมีเวลารวมในโรงฉายภาพยนตร์ทั้งหมดกี่ชั่วโมง


คุณจะมีขั้นตอนในการรับสมัครภาพยนตร์เข้ามาร่วมฉาย (Call for Entry process )หรือไม่
1.เขียนชื่อภาพยนตร์ในรายการภาพยนตร์ที่จะฉายในงานเทศกาลของคุณ และพิมพ์แบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลเพื่อให้ง่ายต่อการสืบค้นก่อนที่กระบวนการคัดเลือกจะแล้วเสร็จ(ข้อมูลเหล่านี้ประกอบด้วย ข้อมูลสำหรับผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ ผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่าย ภาพนิ่งจากภาพยนตร์ ข้อมูลทั้งหมดที่เป็นข้อเท็จจริงเกี่ยวกับภาพยนตร์ ได้แก่ ปีที่ถ่ายทำเสร็จ ความยาวของภาพยนตร์ ข้อมูลรูปแบบของภาพยนตร์(it’s available formats) รวมถึงวิดีโอเทปสำหรับการชมของผู้จัดเทศกาลเอง เพราะเมื่อถึงคราวจะต้องส่งคืนภาพยนตร์หลังจบงานเทศกาล หากบังเอิญมีการระบุว่า ฟิล์มภาพยนตร์ได้รับความเสียหายระหว่างนำส่งมาถึงมือผู้จัดเทศกาล คุณอาจจะจำเป็นต้องแสดงหลักฐาน และวิดีโอเทปอาจใช้เป็นหลักฐานยืนยันได้ แม้ว่าคุณภาพจะไม่ดีนัก และคุณอาจจะจำเป็นต้องมีการถ่ายทำวิดีโอเพื่อประชาสัมพันธ์ด้วยเช่นกัน
2.ประชาสัมพันธ์การขอเข้าร่วมฉายภาพยนตร์ให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้
จะเลือกภาพยนตร์อย่างไรดี


1.คุณกำลังจะดูภาพยนตร์ทั้งหมดด้วยตนเองหรือเปล่า ขอแนะนำให้ตั้งคณะกรรมเลือกภาพยนตร์ เพื่อช่วยให้เกิดความหลากหลายของภาพยนตร์ และให้ตรงกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ขณะที่ในการคัดภาพยนตร์ออกไปนั้น คุณจะต้องนั่งดูด้วยตนเอง
2. ไม่ว่าคุณจะมีกระบวนการสมัครเข้าร่วมฉาย (Call for Entry process)หรือ คณะกรรมการคัดเลือกภาพยนตร์หรือไม่ ควรมีการพัฒนากลยุทธ์ในการชมภาพยนตร์และการตัดสินภาพยนตร์ตามเกณฑ์ ด้วย
ขั้นตอนที่2 ผลผลิตของงานเทศกาล (PHASE 2: PRODUCTION.)
Time-line: อย่างน้อย 6 เดือนก่อนการเปิดงานเทศกาลภาพยนตร์


เมื่อคุณพร้อมที่จะคัดเลือกภาพยนตร์สำหรับการจัดฉายแล้ว ก็เท่ากับว่าคุณมาถึงขั้นตอนที่2 แล้ว การเลือกภาพยนตร์ก็เหมือนกับการเลือกพระเอกภาพยนตร์(actors) ผู้เล่าเรื่อง(narrators) หรือ เรื่องในการสร้างภาพยนตร์ของคุณเอง คุณอาจจะต้องการกำหนดวิธีการที่ดีที่สุดสำหรับตนเองในการให้คะแนนหรือตัดสินภาพยนตร์ ถ้าหากคุณกำลังทำงานร่วมกับคณะกรรมการคัดเลือกภาพยนตร์ซึ่งตั้งเป้าไว้ว่าจะต้องดูภาพยนตร์นั้นอย่างน้อย2-5ครั้ง เมื่อผลการพิจารณาคัดเลือกออกมาแล้วขอให้คำนึงถึงข้อสังเกตที่มีต่องบประมาณและแรงงานในโครงการ (เส้นตายของแต่ละภาระงานมีดังนี้)


ค่าเช่าฟิล์มภาพยนตร์/ วิดีโอ (ถ้าผู้สร้างมิได้ให้ยืมมาแบบไม่คิดเงิน ซึ่งมีน้อย แต่ใช่ว่าจะไม่มีเอาเสียเลย) Time-line: ไม่เกิน 3 เดือนก่อนเปิดงานเทศกาลภาพยนตร์


ค่าภาษีและธรรมเนียมการนำเข้าและส่งออกภาพยนตร์ (หากต้องนำเข้าหรือส่งออกภาพยนตร์หลังเทศกาล จะต้องมีค่าธรรมเนียมในการดำเนินการด้วย) Time-line: 3 เดือนก่อนเปิดงานเทศกาลภาพยนตร์


งานออกแบบตัวอักษรของภาพยนตร์(graphic design) คุณต้องการให้มีการส่งเสริมเทศกาลภาพยนตร์ในรูปแบบใด ใครจะรับผิดชอบ จะต้องใช้งบประมาณมากน้อยเพียงใด (อาทิ การออกแบบโลโก้ โพสท์การ์ด แผ่นปลิว/flyers รายการฉายภาพยนตร์-programs ปฏิทิน/ calendars สื่อโฆษณา และเว็บไซต์) time-line: 4-5 เดือน ก่อนวันเปิดงานเทศกาลภาพยนตร์


รายจ่ายเกี่ยวกับสิ่งพิมพ์ time-line: 2-8 เดือน ก่อนเปิดงานเทศกาล รายจ่ายเกี่ยวกับสิ่งพิมพ์จะแตกต่างกันออกไป เช่น “save the date” post-cards (โพสท์การ์ดระบุวันจัดงาน) ควรสั่งพิมพ์ในช่วง 6 เดือนก่อนจัดงาน


ค่าใช้จ่ายทางด้านไปรษณีย์(postage costs) Time-line : ตลอดช่วงเวลาของการจัดงาน อย่างไรก็ตาม สำหรับจดหมายเชิญผู้เข้าชม ควรส่งประมาณ 2 เดือนก่อนวันเปิดงาน (นอกจากนี้ ในการเปิดแถลงข่าว อย่าลืมเชิญ ตัวแทนจากบริษัทที่ให้การสนับสนุนทางด้านการเงินด้วย)


วัสดุสำนักงาน(office supply)


ของชำร่วยในงานเทศกาล (Festival gifts) เลือกว่าจะเอาอะไรบ้าง เช่น เสื้อยืด(T-shirt) โปสเตอร์ เข็มกลัด ปากกา ถุง(totes)


มีการจ้างเจ้าหน้าที่ประจำโรงภาพยนตร์ครอบคลุมจนครบแล้วหรือไม่ บุคลากรรับจองตั๋ว, พนักงานอำนวยความสะดวก / พนักงานรักษาความปลอดภัย สะอาด คนเดินตั๋ว พนักงานฉาย เจ้าหน้าที่บริการอาหาร-เครื่องดื่ม


Subtitle หรือ translators คุณต้องการแปลภาษาในภาพยนตร์หรือไม่ Time-line : 2- 3 เดือนก่อนวันเปิดงานเทศกาล

คำสำคัญที่จะต้องตัดสินใจ คือ คุณต้องการจะนำผู้สร้างภาพยนตร์ มาร่วมในงานเทศกาลภาพยนตร์ของคุณด้วยหรือไม่ (ซึ่งจะต้องคำนึงถึง การจัดรถรับ-ส่ง โรงแรม อาหาร ค่าเช่าลำโพง หรือ ค่าชดเชยในการเดินทางมาร่วมงาน/ honoraria ) ต้องจองโรงแรมล่วงหน้าหลายเดือน หลายห้อง มิใช่ทุกเทศกาลจะต้องเตรียมค่าใช้จ่ายที่ระบุเช่นนี้ทั้งหมด แต่ขอให้ระลึกไว้ว่า การสร้างภาพยนตร์เป็นสื่อที่มีค่าใช้จ่ายสูง และผู้สร้างภาพยนตร์อาจจะรับไม่ได้ที่จะต้องเดินทางไปไหนมาไหนโดยไม่มีค่ารับรอง หรือ เขาอาจจะมีชื่อเสียงมากเกินกว่าที่จะมาในที่เล็กๆแบบไม่มีค่าตอบแทน Time –line : 3-5 เดือน ก่อนเปิดงาน เพื่อเตรียมที่พักให้ผู้สร้างภาพยนตร์


ขั้นตอนที่ 3 (PHASE 3: THE FESTIVAL)
ช่วงเวลาแห่งการฉาย การพบปะผู้คนและการดำเนินกระบวนการสืบเนื่องในงานเทศกาลภาพยนตร์ของคุณ ช่วงนี้คุณอาจจะพบว่า คุณรับประทานอาหารมากหรือน้อยเกินไป ขอให้พกพาวิทยุสื่อสารตลอดเวลาทั้งคุณและสต๊าฟ ทุกอย่างขึ้นอยู่งานเทศกาลของคุณ และนี่คือสิ่งที่คุณทำอยู่ คุณสามารถใช้รายการที่ไม่จำเป็นออกไป ทำให้ดีที่สุดของสิ่งที่คุณได้ ขอให้สนุกกับตัวเองในการรวบรวมผู้คนจากสถานที่แตกต่างกันเข้าด้วยกัน คุณกำลังจัดแสดงงานศิลปะที่คุณรักและอยู่กับคนที่กำลังดูดซับงานศิลปะอันนั้น คุณกำลังทำกิจกรรมให้บริการสาธารณะ คุณยังได้สร้างงานเทศกาลและได้เพื่อนใหม่ รวมถึงได้เป็นพยานแห่งการชุมนุมท่ามกลางบุคคลที่รู้สึกเหมือนเป็นครอบครัวเดียวกัน


ละครชีวิตหรือละครตลก ต่างก็มีความสำคัญต่อชาวกรีกเช่นเดียวกับการเมือง ความหมายที่แท้จริงสำหรับละครคือ "การกระทำ" หรือ "ผลงาน" ตลกในภาษากรีก แปลว่า "komodia" มาจากรากคำว่า "komos" หมายถึงเทศกาล พวกเขาสร้างคำศัพท์เฉพาะเพื่อใช้ในโรงละคร โดยหากมิได้เน้นในเรื่องของมูลค่าแล้ว อย่างน้อยก็สามารถอธิบายถึงผลกระทบที่เกิดกับชีวิตของเราได้อย่างชัดเจน ไม่เพียง แต่คุณจะเป็นพยานนี้ในคนแรกเป็นผู้จัดงานเทศกาล แต่คุณจะรู้สึกมากเกินไปผลกระทบอย่างมากมายที่มีต่อความคิดและสติปัญญาของ มนุษย์ เราจำเป็นต้องแสดงละครและหนังตลกในชีวิตของเรา เพื่อที่จะสร้างแรงบันดาลใจให้เรา ในการสะท้อนให้เห็นถึงเสียงหัวเราะหรือเพียงแค่ที่จะได้รับจากภาพยนตร์ ภาพยนตร์เปรียบเสมือนโรงละครครึ่งวงกลมสมัยใหม่​ ภาพยนตร์เป็นเหมือนอาหารสำหรับชีวิต และเทศกาลของคุณเป็นเช่นเดียวกับสิ่งที่ชาวกรีกจะได้รับ คือ เทศกาลแห่งการเฉลิมฉลองนั่นเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น