จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันเสาร์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ความรู้เกี่ยวกับการเข้าเมือง

ระเบียบวิธีการเข้าเมือง

การล่าช้าในการเข้าประเทศ หรือการรอขนถ่ายกระเป๋าเดินทาง หรือสิ่งของที่ติดตัวเข้ามากับนักท่องเที่ยว ก็เป็นสาเหตุหนึ่งเหมือนกับที่ทำให้เกิดความเบื่อหน่ายแบะตรึงอยู่ในความทรงจำ อาจจะทำให้นักท่องเที่ยวขยาดที่จะเดินทางไปอีกได้

ในการอำนวยความสะดวกที่ท่าอากาศยาน หรือประตูแรกของนักท่องเที่ยวจะเข้าประเทศนี้ มีความสำคัญในการจูงใจให้นักท่องเที่ยวติดใจ เพราะตามปกติ การตรวจลงตราหนังสือเดินทาง การตรวจค้นสิ่งของติดตัว กระเป๋าเดินทางของผู้โดยสารแต่ละคนใช้เวลามากพอสมควรอยู่แล้ว ยิ่งมีเครื่องบินโดยสารลงจอดในเวลาไล่เลี่ยกันหลายลำจะเสียเวลามาก บางครั้งตั้ง 1-2 ชั่วโมง จึงจะผ่านด่านตรวจไปได้

ในการเดินทางเข้าประเทศไทย นักท่องเที่ยวที่ขอวีซ่า (Tourist Visa) จะพักอยู่ในประเทศไทยได้ไม่เกิน 60 วัน ถ้าเดินทางเข้ามาโดยใช้หนังสือเดินทางและมีตั๋วเครื่องบินยืนยันกำหนดการเดินทางออกจากประเทศ (นักท่องเที่ยวที่ซื้อตั๋วไป-กลับมาจากประเทศที่ตนพำนักอยู่ในตั๋วเครื่องบิน จะมีวันที่ในการเข้าประเทศ และวันที่ในการออกจากประเทศอย่างชัดแจ้ง) จะสามารถพักอยู่ในประเทศไทยได้ไม่เกิน 15 วัน โดยไม่ต้องขอวีซ่าที่สถานกงศุลไทยประจำเมืองฮ่องกง ซึ่งจะได้รับอนุญาตให้พักอยู่ในประเทศไทยได้ไม่เกิน 7 วัน

เมื่อนักท่องเที่ยวเดินทางมาด้วยเครื่องบินท่าอากาศยานดอนเมืองจะมีการตรวจหนังสือเดินทาง หลักฐานการปลูกฝีฉีดยา (ปัจจุบันนี้เลิกไปแล้ว) ตรวจกระเป๋าเดินทางเพื่อป้องกันการลักลอบนำของเข้าหรือนำเข้าเกินกว่ากำหนด หรือนำวัตถุสิ่งของต้องห้ามเข้ามาในประเทศ

ในเรื่องระเบียบพิธีการเข้าเมืองหรือออกจากเมืองนี้ มีความสำคัญในการท่องเที่ยว เพราะในธุรกิจใดๆ ที่อำนวยความสะดวกในการท่องเที่ยว เช่น ธุรกิจโรงแรมบริษัทนำเที่ยว บริษัทจำหน่ายตั๋วเครื่องบิน หรือร้านค้าของที่ระลึก ฯลฯ เหล่านี้ ควรจะรู้รายละเอียดต่างๆ ของพิธีการ เพื่อจะได้ช่วยเหลือนักท่องเที่ยวได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน้าที่ของมัคคุเทศก์นั้น ต้องมีหน้าที่ทำนองพี่เลี้ยงของนักท่องเที่ยวต่างชาติที่มาขอให้เป็นผู้นำเที่ยว จึงต้องคอยสอบถามและขอดูหลักฐานการอนุญาตในหนังสือเดินทางของคนต่างชาติว่าเจ้าพนักงานตรวจคนเข้าเมืองอนุญาตให้อยู่ในประเทศไทยถึงวันเดือนปีใด แล้วต้องคอยเตือนให้เขารู้ไว้ และหากนักท่องเที่ยวมีความประสงค์จะขออนุญาตอยู่ชั่วคราวตลอดไปอีกนานเท่าใด ก็จะได้ให้คำแนะนำที่ถูกต้อง หรือนำไปพบเจ้าพนักงานตรวจคนเข้าเมืองเพื่อให้ยื่นคำร้องขออนุญาตอยู่ชั่วคราวต่อไป (Application for Extension of Stay) เสียให้ถูกต้อง ทั้งนี้ เพื่อป้องกันมิให้นักท่องเที่ยวผู้นั้นต้องเสี่ยงต่อการกระทำผิดกฎหมายโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์หรือโดยเลินเล่อได้

ระเบียบพิธีการเข้าเมืองนี้จะได้แยกอธิบายเป็น 4 ตอน คือ
1. ความรู้เกี่ยวกับการตรวจคนเข้าเมือง
2. หนังสือเดินทาง
3. พิธีการศุลกากร
4. ข้อควรทราบเกี่ยวกับการควบคุมการแลกเปลี่ยน

1. ความรู้เกี่ยวกับการตรวจคนเข้าเมือง
1.1 การประทับตราของเจ้าพนักงานตรวจคนเข้าเมือง
เพื่อที่จะได้รู้จักกับดวงตราที่เจ้าพนักงานตรวจคนเข้าเมืองใช้ประทับในหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางของคนต่างด้าวที่ได้อนุญาตให้อยู่เป็นการชั่วคราวพร้อมด้วยความหมายและข้อความในตราที่ประทับ จึงขออธิบายตัวอย่างดังต่อไปนี้
1.1.1 ตราอนุญาตให้คนเดินทางผ่านเฉพาะเครื่องบินได้ไม่เกิน 48 ชั่วโมง
ตราชนิดนี้แสดงว่าเจ้าพนักงาน ได้อนุญาตให้คนต่างด้าวประเภทที่อยู่ในประเทศไทยได้ไม่เกิน 48 ชั่วโมง นับแต่วันเดือนปีและเวลาที่เข้ามาถึงโดยเครื่องบินและต้องออกไปกับเครื่องบิน ณ ท่าอากาศยานดอนเมืองเท่านั้น ตราชนิดนี้ต่ออายุไม่ได้เว้นแต่จำเป็นจริงๆ และจะต้องยื่นคำร้องขออนุญาตด้วยตนเองต่อเจ้าพนักงานตรวจคนเข้าเมืองท้องที่ก่อนถึงเวลากำหนดอนุญาตด้วย
1.1.2 ตราอนุญาตสำหรับผู้ได้รับอนุญาตให้เป็นคนผ่านได้ภายใน 8 ชั่วโมง
ตรานี้ระบุวัน เดือน ปี ที่อนุญาตไว้ชัดแจ้งตามข้อความในตราข้อ 2 แล้ว และจะขอต่ออายุอีกไม่ได้ เว้นแต่มีกรณีพิเศษหรือมีความจำเป็นจริงๆ ที่ไม่อาจออกไปได้ เช่น เจ็บป่วย เป็นต้น จะต้องยื่นคำร้องด้วยตนเองต่อเจ้าพนักงานฯ ก่อนถึงกำหนดเวลาอนุญาตด้วย
1.1.3 ตราอนุญาตชั่วคราวสำหรับนักท่องเที่ยวหรือทัศนาจร
ตามข้อความที่ปรากฎนั้นชัดแจ้งอยู่แล้ว หากจำเป็นจะต้องขออยู่ต่อไป ก็อาจยื่นขออยู่ต่อไปจากเจ้าพนักงานฯ ได้ แต่ปกตินั้นบุคคลประเภททัศนาจร ซึ่งได้รับการตรวจลงตราประเภทเข้ามา จะได้รับอนุญาตให้อยู่ได้ไม่เกิน 30 วันเท่านั้น แต่หากมีกรณีพิเศษหรือจำเป็นจริงๆ เช่น การเจ็บป่วย ก็ยื่นคำร้องขออนุญาตเพื่อขออยู่ต่อไปอีกก็ได้
1.1.4 ตราอนุญาตชั่วคราวสำหรับผู้เข้ามาทำธุรกิจการค้า ความสำราญ อนามัย และอื่นๆ เช่น นักกีฬา เป็นต้น ตราประทับดังนี้

ตราอนุญาตชนิดนี้อาจพอต่ออายุชั่วคราวต่อไปได้ โดยครั้งแรกจะได้รับอนุญาตเพียง 15 วัน และหากจำเป็นจะต้องอยู่ต่อไปอีก ก็ต้องไปยื่นคำร้องขออนุญาตต่อไป ต่อเจ้าพนักงานตรวจคนเข้าเมืองได้อีก 30 วัน รวมเวลาที่จะได้รับอนุญาตไม่เกิน 60 วัน นับแต่วันที่เข้ามาถึง แต่อย่างไรก็ดีหากมีความจำเป็นอย่างแท้จริง ก็อาจยื่นคำร้องขอผ่อนผันต่อคณะกรรมการพิจารณาคนเข้าเมืองได้อีกเท่าที่จำเป็น โดยยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานตรวจคนเข้าเมืองท้องที่ เช่น บุคคลประเภทตามข้อ 1.1.1, 1.1.2 หรือ 1.1.3 ก็ได้

อนึ่ง เมื่อคนต่างด้าวจะกลับออกไปนอกประเทศนั้น จะต้องไปรายงานตัวเองต่อเจ้าพนักงานตรวจคนเข้าเมือง ซึ่งควบคุมท่า หรือสถานีก่อนทุกคน

เมื่ออ่านดวงตราที่ใช้ประทับใจหนังสือเดินทางเข้าใจแล้ว ควรจะได้เข้าใจว่าแต่ละประเทศมีแนวนโยบายเกี่ยวกับการควบคุม กีดกัน และจำกัดคนต่างด้าวกันอย่างไร และการตรวจคนเข้าเมืองมีความจำเป็นแก่ประเทศอย่างใดบ้าง

1.2 หลักกำหนดแนวนโยบายเกี่ยวกับการควบคุมต่างด้าว (Trends of immigration policy) หลักนี้ใช้ในการควบคุม กีดกัน และจำกัดคนต่างด้าวกันอย่างไร และการตรวจคนเข้าเมืองมีความจำเป็นแก่ประเทศอย่างใดบ้าง

1.2.1 ประเภทไม่จำกัด กีดกัน หรือควบคุมคนต่างด้าวในการเข้าใจประเทศเลย (Unrestricted immigration) หลักนี้เคยใช้กันทั่วไป ประเทศไทยก็เคยใช้ก่อนที่จะมี พ.ร.บ. คนเข้าเมือง พ.ศ. 2470 แต่ในปัจจุบันไม่มีประเทศใดใช้นโยบายนี้แล้ว
1.2.2 ประเภทที่กำหนดคุณภาพของคนต่างด้าว (Qualitative Restrication of immigration) คือ มีการกำหนดคุณภาพของคนต่างด้าว หรือกำหนดลักษณะต้องห้ามของคนต่างด้าวที่จะเข้ามาในประเทศ เช่น มาตรา 15 แห่ง พ.ร.บ. คนเข้าเมือง (พ.ศ. 2493 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2497 (ฉบับที่ 2) อันเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน) กำหนดลักษณะคนต่างด้าวซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักรไม่ว่ากรณีใด เป็นต้น
1.2.3 ประเทศที่ห้ามไม่ให้คนต่างด้าวแต่ละสัญชาติเข้ามาตั้งถิ่นที่อยู่ในประเทศ (Quantitative Restriction of Immigration) คือมีการจำกัดหรือกำหนดจำนวนคนต่างด้าวแต่ละสัญชาติ เข้าไปตั้งถิ่นที่อยู่ในประเทศ เช่น ตาม พ.ร.บ. คนเข้าเมือง พ.ศ. 2493 มาตรา 29 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยออกประเทศเป็นรายปี อนุญาตให้คนต่างด้าวแต่ละสัญชาติเข้ามาตั้งถิ่นที่อยู่ในประเทศไทยได้ไม่เกินประเทศละ 200 คนต่อปี
1.2.4 ประเทศที่ห้ามไม่ให้คนต่างด้าวทุกสัญชาติเข้ามาตั้งถิ่นที่อยู่ในประเทศทั้งหมด (Prohigition of all Immigration)

นโยบายตามหลักข้อ 1.2.2 และ 1.2.3 นั้น ประเทศไทยและสหรัฐอเมริกาใช้อยู่ส่วนข้อ 1.2.4 นั้น ประเทศสหภาพพม่าถือปฏิบัติอยู่และก็ใช้ได้ข้อ 1.2.2 สำหรับคนต่างด้าวที่เข้าไปประกอบธุรกิจเป็นการชั่วคราวควบเข้าด้วยสำหรับพระราชบัญญัติคนเข้าเมืองนั้นนับเป็นกฎหมายมหาชนที่ออกใช้เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยและความปลอดภัยของประเทศและประชาชนโดยตรง แต่ละประเทศสามารถร่าง พ.ร.บ. นี้ ขึ้นตามความเห็นที่เป็นประโยชน์ของตน ประเทศอื่นๆ ต้องเคารพสิทธินี้และปฏิบัติตามจะไปสอดแทรกหรือคัดค้านไม่ได้

การตรวจคนเข้าเมือง จึงมีความจำเป็นแก่ประเทศ เพราะคนต่างด้าวซึ่งย้ายถิ่นที่อยู่เข้าไปตั้งหลักแหล่งทำมาหากินในอีกประเทศหนึ่งนั้น ย่อมจะมีความตั้งใจแตกต่างกันออกไป บางส่วนหรือบางกลุ่มที่มิได้กระทำไปโดยความบริสุทธิ์ใจอาจจะมีเจตนาอื่นแอบแฝงอยู่ เช่น สืบความลับของประเทศที่ตนเข้าไปอาศัย หรือเผยแพร่ลัทธิอันเป็นภัยแก่ระบอบการปกครองและสถาบันต่างๆ ของประเทศ นอกจากนี้อาจจะมีภัยที่จะเกิดจากคนต่างด้าวกลุ่มใหญ่ได้ เช่น ภัยทางเศรษฐกิจ การกลืนชาติ การก่อวินาศกรรม ทำจารกรรมหรือบ่อนทำลายความมั่นคง ความสงบเรียบร้อยของประชาชนและบ้านเมือง เพื่อผลงานการเมืองระหว่างประเทศ

สำหรับประเทศไทยนั้น ตามมาตรา 15 พ.ร.บ. คนเข้าเมือง พ.ศ. 2493 แก้ไขเพิ่มเติมตามมาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ. คนเข้าเมือง พ.ศ. 2497 ฉบับที่ 2 มีดังนี้

“มาตรา 15 ห้ามมิให้คนต่างด้าวที่มีลักษณะอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้เข้ามาในราชอาณาจักร คือ
1. ไม่มีหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางอันถูกต้อง และในกรณีที่ต้องรับการตรวจลงตรง ไม่ได้รับการตรวจจากสถานฑูตหรือกงศุลไทยในต่างประเทศ
2. ไม่มีปัจจัยในการยังชีพ ข้อนี้สำหรับผู้เข้ามาชั่วคราว เช่น พวกนักทัศนาจรมิได้บังคับแต่อย่างใด
3. ไม่สามารถเสียเงินค่าธรรมเนียมตามพระราชบัญญัตินี้ ส่วนใหญ่หมายถึงผู้ไม่สามารถเสียเงินค่าธรรมเนียมค่าใบสำคัญถิ่นที่อยู่ หากได้รับอนุญาตให้เป็นคนเข้าเมืองมีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทยได้แล้ว
4. มีโรคอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งกำหนดในกฎกระทรวงมหาดไทย (พ.ศ. 2494) ได้แก่ โรคริดสีดวงตา โรคเรื้อน วัณโรค และกามโรค
5. วิกลจริต หรือไม่สามารถประกอบอาชีพได้เอง จิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ ร่างกายพิการหรือมีโรค
6. ยังมิได้ปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษ หรือฉีดวัคซีน หรือปฏิบัติการอย่างอื่นตามวิชาการแพทย์ เพื่อป้องกันโรค และไม่ยอมให้กระทำเช่นนั้น ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ (พระราชบัญญัติป้องกันโรคติดต่อ)
7. มีพฤติการณ์เป็นที่น่าเชื่อว่า เป็นคนอันธพาล หรือเป็นคนที่น่าจะก่อเหตุร้ายหรืออันตรายต่อความปลอดภัยของประชาชนหรือราชอาณาจักร
8. มีพฤติการณ์ที่น่าเชื่อว่า เข้ามาเพื่อค้าประเวณี เพื่อประกอบกิจที่ขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชนหรือเพื่อค้าหญิงหรือเด็กหญิง
9. เป็นบุคคลที่รัฐมนตรีไม่อนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรตามความในมาตรา 16 พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง 2493 ได้แก่ ผู้ที่เป็นอาชญากรระหว่างประเทศ พวกค้ายาเสพติดให้โทษค้าสิ่งขอหลบหนีภาษีระหว่างประเทศ ฯลฯ เป็นต้น
10. เป็นบุคคลไม่มีเงินติดตัวมาตามจำนวนที่รัฐมนตรีประกาศตามมาตรา 28 พ.ร.บ. คนเข้าเมือง พ.ศ. 2493 ข้อนี้ยังไม่เคยมีประกาศใช้เลยจนกระทั่งบัดนี้”

การกำหนดลักษณะต้องห้ามมิให้เข้ามาในราชอาณาจักรของคนต่างด้าวดังกล่าวข้างต้น มุ่งเฉพาะผู้ซึ่งอาจะเป็นภัยแก่ประเทศและประชาชน และไม่เป็นการขัดกับนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวของรัฐแต่อย่างใด มีหลักฐานเป็นจำนวนมากที่ปรากฎว่ามีนักทัศนาจรปะปนเข้าประเทศอยู่เสมอได้ ลักลอบซุกซ่อนสินค้าหนีภาษีบ้าง นำเงินตราต่างประเทศเข้ามาขายบ้าง ส่วนคนเข้าเมืองที่สุจริตย่อมไม่กระทบกระเทือนแต่ประการใด

2. หนังสือเดินทาง (Passport)
2.1 ความเป็นมาของหนังสือเดินทาง ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 ค.ส. 1914 ทุกประเทศยังไม่มีหนังสือเดินทางแบบที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้ ผู้ที่เดินทางท่องเที่ยวจะถือเอกสารสำคัญแสดงเพียงสัญชาติและฐานะ ครั้งเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 1 ยุติลงองค์การระหว่างประเทศ เรียกว่า องค์การสันนิบาต ได้เริ่มชักชวนให้ประเทศต่างๆ กำหนดแบบหนังสือเดินทางขึ้นเป็นมาตรฐานและได้ตกลงให้ลักษณะของหนังสือเดินทาง มีดังนี้
2.1.1 รายละเอียดต่างๆ ในหนังสือเดินทาง
1. เลขที่
2. ชื่อนามสกุลของผู้ถือ
3. สัญชาติ
4. อาชีพ
5. ที่เกิด
6. วัน เดือน ปีที่เกิด
7. ภูมิลำเนา
8. รูปพรรณ เช่น ส่วนสูง สีตา สีผม ตำหนิ
9. รูปถ่ายของผู้ถือหนังสือเดินทาง
10. ระบุประเทศของผู้ที่ใช้หนังสือเดินทางนั้นไว้
11. วันหมดอายุ
12. สถานที่ออกหนังสือเดินทาง
13. เมือง และวัน เดือน ปีที่ออกหนังสือเดินทาง
14. เจ้าหน้าที่ของประเทศที่เป็นผู้ออกหนังสือเดินทาง
15. เจ้าหน้าที่ของประเทศที่เป็นผู้ออกหนังสือเดินทาง

2.1.2 ภาษาที่ใช้ กำหนดให้ใช้อย่างน้อย 2 ภาษา คือ ภาษาแห่งชาติตนและภาษาฝรั่งเศส
2.1.3 จำนวนหน้าของหนังสือเดินทาง กำหนดให้มีรายละเอียดของผู้ถือหนังสือเดินทางดังกล่าวข้างต้นเพียง 4 หน้า และอีก 28 หน้า สำหรับตรวจลงตราและการประทับตรวจผ่านเข้าผ่านออกของเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง ฉะนั้นเล่มหนึ่งๆ จึงมีจำนวน 32 หน้า
2.1.4 อายุของหนังสือเดินทาง หนังสือเดินทางอาจจะออกให้ใช้ได้สำหรับการเดินทางเพียงครั้งเดียว หรือสำหรับระยะเวลา 2 ปี เมื่อหมดอายุ 2 ปี แล้วอาจจะต่ออายุให้ได้อีก
2.1.5 ประเภทของหนังสือเดินทางในปัจจุบันหนังสือเดินทางที่ประเทศต่างๆ นิยมใช้กันนั้นแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ

1. หนังสือเดินทางทูต (Diplomatic Passport)
2.หนังสือเดินทางราชการ (Official Passport)
3. หนังสือเดินทางธรรมดา (Regular Passport)

ในทางปฏิบัติ การออกหนังสือเดินทางให้แก่ประชาชนในประเทศต่างๆ ก็คล้ายคลึงกันโดยรัฐเป็นผู้ออกให้แก่คนในสังกัดสัญชาติของตน และรัฐยังมีภาระผูกพันธ์รับผิดชอบต่อประเทศที่ประชาชนแห่งรัฐเดินทางเข้าไปอีกด้วย

สำหรับประเทศไทย การออกหนังสือเดินทางเป็นหน้าที่ของกระทรวงการต่างประเทศและเจ้าหน้าที่ผู้ออกหนังสือเดินทาง คือ
1. ฝ่ายหนังสือเดินทาง กองการกุศล เป็นเจ้าหน้าที่ออกหนังสือเดินทางให้แก่ผู้มีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักร
2. สถานทูต สถานกงศุลไทยในต่างประเทศ เป็นเจ้าหน้าที่ออกหนังสือเดินทางให้แก่ผู้อยู่ในต่างประเทศ

2.2 การยื่นคำร้องต่อเจ้าหน้าที่
ผู้ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพมหานคร จะต้องยื่นคำร้องต่อเจ้าหน้าที่ฝ่ายหนังสือเดินทางกองการกุศล กระทรวงการต่างประเทศ

ผู้ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในต่างประเทศ ยื่นคำร้องต่อเจ้าหหน้าที่จังหวัดที่ตนมีภูมิลำเนาอยู่และเจ้าหน้าที่จังหวัดจะวัดส่งเรื่องราวไปยังกระทรวงการต่างประเทศต่อไป

ผู้ที่อยู่ต่างประเทศ จะต้องยื่นคำร้องหรือขอต่ออายุหนังสือเดินทางต่อเจ้าหน้าที่ของสถานฑูต หรือสถานกงศุลไทย

2.3 การตรวจลงตราหนังสือเดินทาง
การตรวจลงตราหนังสือเดินทาง (Visa)
1. การตรวจลงตราหนังสือเดินทาง (Visa) คือ คำอนุญาตของสถานฑูตหรือสถานกงศุล ตัวแทนของประเทศซึ่งผู้ร้องขอมีความประสงค์จะเดินทางเข้าไปโดยประทับตราอนุญาตลงบนหนังสือเดินทาง
2. การตรวจลงตราให้กลับ (Re-entry Visa) คือ คำอนุญาตของเจ้าหน้าที่ในประเทศ อนุญาตให้คนต่างด้าวที่เข้ามาอยู่ในประเทศนั้น กลับเข้ามาในประเทศได้อีก เมื่อคนต่างด้าวนั้นประสงค์จะเดินทางไปนอกประเทศ โดยไม่ต้องไปขอทำวีซ่าจากผู้แทนของประเทศนั้นในต่างประเทศอีก
จะเห็นได้ว่า Visa กับ Re-entry Visa มิได้ต่างกันในความหมาย หากความแตกต่างอยู่ที่เจ้าหน้าที่ผู้ออก ซึ่งอยู่ต่างสถานที่เท่านั้น

การตรวจลงตราหนังสือเดินทางของไทย โดยเฉพาะหนังสือเดินทางธรรมดา แบ่ง 5 ประเภทคือ
1) ประเภทคนเข้าเมือง
(Immigrant Visa) เป็นการตรวจลงตราแก่ข่าวต่างประเทศที่ประสงค์จะเดินทางเข้ามามีถิ่นที่อยู่ประจำในราชอาณาจักร ซึ่งขึ้นกับโควต้าที่ยอมให้คนเข้าเมืองเป็นคนสัญชาตินั้นๆ ได้ ตามประกาศของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
2) ประเภทไม่นับเป็นคนเข้าเมือง (Non-Immigrant Visa) คือ การตรวจลงตราแก่ชาวต่างประเทศ ที่ประสงค์จะเดินทางเข้ามาเพื่อการเยี่ยมเยียน ธุรกิจความสำราญ อนามัย การศึกษา อันมีลักษณะเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว
3) ประเภทท่องเที่ยว (Trourist Visa) คือ ตรวจลงตราให้แก่ชาวต่างประเทศที่จะเดินทางเข้ามา เพื่อวัตถุประสงค์ในการท่องเที่ยว ทัศนากรเป็นการชั่วคราวเท่านั้น
4) ประเภทคนเดินทางผ่าน (Transit Visa) คือ ตรวจลงตราให้แก่ชาวต่างประเทศที่จะเดินทางผ่านราชอาณาจักรไปยังประเทศอื่น
5) ประเภทคนเข้าเมืองนอกโควต้า (Non-Quota Immigrant Visa) คือการตรวจลงตราให้แก่ชาวต่างประเทศที่มีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักร ซึ่งจะต้องมีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว มีใบสำคัญถิ่นที่อยู่หรือใบแทนและรายการสลักหลังแจ้งออกในใบสำคัญถิ่นที่อยู่ของเจ้าพนักงานตรวจคนเข้าเมือง ยังมีอายุใช้ได้อยู่ด้วย

บุคคลที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องตรวจลงตรา
นอกจากที่กล่าวมาข้างต้น ยังมีบุคคลอีกจำพวกหนึ่ง ได้รับการยกเว้นให้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรในประเภทคนอยู่ชั่วคราว ทัศนาจร และเดินทางผ่านโดยไม่ต้องได้รับความตรวจลงตราหนังสือเดินทางจากสถานฑูต สถานกงศุลไทยในต่างประเทศ คือ

1.คนสัญชาติอเมริกัน (ถือหนังสือเดินทางทุกประเภท)
2.คนสัญชาติอิตาลี เนเธอร์แลนด์ เบลเยี่ยม อิสราเอล ลุกเซมเบอร์ก เยอรมัน ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย เดนมาร์ก สวีเดิน นอร์เวย์ เกาหลี และสิงคโปร์ ผู้ซึ่งถือหนังสือเดินทางฑูตและหนังสือเดินทางราชการ
3.บุคคลที่เดินทางมาจากประเทศที่ไม่มีสถานฑูตสถานกงสุลไทยตั้งประจำอยู่และได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว
4.คนเดินทางผ่านเข้าในราชอาณาจักรแล้วเดินทางออกไปนอกประเทศ โดยพาหนะทางอากาศ ภายในเวลาไม่เกิน 48 ชั่วโมง

สำหรับผู้ที่เดินทางเข้ามาจากที่ไม่มีสถานฑูตหรือสถานกงสุลไทยตั้งประจำอยู่ในประเทศนั้น จะต้องปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งตามวิธีการดังนี้

1. อาจขอรับการตรวจตราได้จากสถานฑูต สถานกงสุลไทยที่ใกล้เคียงที่สุดหรือจะเดินทางไปประเทศหนึ่งประเทศใดที่มีสถานฑูต สถานกงสุลตั้งอยู่อาจขอรับการตรวจตราก่อนเดินทางเข้าประเทศไทย
2. ด้วยการยื่นคำร้องขอเข้ามาในราชอาณาจักรผ่านผู้แทนทางการฑูตหรือผู้แทนทางกงสุลของตน ซึ่งตั้งสำนักงานอยู่ในกรุงเทพมหานคร (ถ้ามี)
3. ด้วยการยื่นคำร้องโดยตรงถึงกองตรวจคนเข้าเมือง ซอยสวนพลู กรุงเทพฯ

อายุของการตรวจลงตรา
กำหนดไว้เพียง 60 วัน นับจากวันที่ได้ทำการตรวจลงตรา หากผู้เดินทางไม่อาจเกิดทางเข้ามาถึงประเทศไทยได้ภายในกำหนด อาจต่ออายุการตรวจลงตราได้ ทันที ณ ที่ยื่นคำร้องเดิม เจ้าหน้าที่อาจต่ออายุให้ถึง 6 เดือน หรือต่ำกว่านั้น แต่สถานฑูต สถานกงสุลไทยในเส้นทางที่ผ่านไม่มีอำนาจจะต่ออายุการตรวจลงตราที่ได้ตรวจลงตรามาจากที่อื่น ในกรณีที่ผู้เดินทางได้รับการตรวจลงตราแล้ว แต่เดินทางยังไม่ถึงประเทศไทย เกิดอายุการตรวจลงตราขาดลงเสียก่อนที่จะเดินทางเข้ามาถึงประเทศไทย ผู้เดินทางจะต้องขอรับการตรวจตราใหม่จากสถานฑูต สถานกงศุลไทย ในทางที่ตนผ่านมา หมายความว่า ถ้ายังไปติดอยู่ในประเทศอื่นอีกจะต่ออายุไม่ได้ ซึ่งหมายความว่าจะต้องเสียค่าธรรมเนียมการลงตราใหม่ ณ สถานทูตหรือสถานกงสุลไทยในประเทศที่ไปติดอยู่นั้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น