จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันเสาร์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ทรัพยากรท่องเที่ยว(Tourism Attractions)

-ความหมาย
ทรัพยากรท่องเที่ยวหมายถึง สถานที่ท่องเที่ยว ทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นหรือปรับปรุงขึ้นเป็นสถานที่ท่องเที่ยว ประกอบกิจกรรม ประกอบพิธีกรรมตามขนบธรรมเนียมประเพณี อันสะท้อนให้เห็นถึงลักษณะเด่นวัฒนธรรมของชนแต่ละท้องถิ่น และมีศักยภาพดึงดูดความสนใจของนักท่องเที่ยว ทรัพยากรท่องเที่ยวในประเทศไทยจำแนกเป็นสองประเภท ดังนี้

1.ทรัพยากรท่องเที่ยวที่เป็นสภาพแวดล้อมธรรมชาติ(Natural Attraction) ถือเป็นสิ่งดึงดูดใจที่สุด เพราะเกิดตามธรรมชาติ เป็นสถานที่ศึกษาความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติ ได้แก่ น้ำตก น้ำพุร้อน ถ้ำ เพิงผา ชายหาด ชายฝั่งทะเล ปะการัง ป่าไม้ หินงอกหินย้อย ฯลฯ ทรัพยากรท่องเที่ยวเหล่านี้ อาจจำแนกเป็นกลุ่มใหญ่ๆได้แก่

1.1ทิวทัศน์(Scenery)ได้แก่ สภาพแวดล้อมธรรมชาติที่มีลักษณะสวยงามประหลาดตาดึงดูดใจให้เดินทางไปท่องเที่ยวหรือศึกษาหาความรู้ เช่น The Grand Canyon/ Arisona USA.
The Niagara/ USA.
The Visuvius Volcano/ Itali

ทิวทัศน์บางอย่างอาจมีลักษณะสวยงามเปลี่ยนแปลงไปตามฤดูกาล เช่นฤดูหนาวในเนเธอร์แลนด์มีดอกทิวลิป ในญี่ปุ่นมีดอกซากุระ เชียงใหม่ดอกบัวตองบาน ลพบุรีดอกทานตะวันบานเต็มทุ่ง
ภูมิประเทศบางแห่งเช่นแม่น้ำ ลำคลอง ชายหาด ป่าไม้ หรือแม้แต่ทะเลทราย ก็มีความงดงามแปลกตาสำหรับผู้ไปเยือน

1.2สัตว์ป่า(Wildlife/ Wild Animals) ได้แก่สัตว์ป่าประเภทต่างๆ เช่น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์เลื้อยคลาน((Reptile)เช่น ฟาร์มงู สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ (ฟาร์มจระเข้) สัตว์ปีก แมงและแมลง (เช่น หิ่งห้อยที่ปลายโพงพาง อ.อัมพวา สมุทรสงคราม) สัตว์เหล่านี้จัดเป็นทรัพยากรท่องเที่ยวที่มีศักยภาพในการดึงดูดนักท่องเที่ยวมาก เนื่องจากความสวยงามและชีวิตความเป็นอยู่เป็นสิ่งที่น่าศึกษาค้นคว้าสำหรับนักท่องเที่ยวทุกเพศวัย

แต่ละทวีป แต่ละภูมิประเทศก็มีสัตว์ป่าแตกต่างกันออกไป (ได้แก่อะไร) สัตว์ป่าบางชนิดกำลังจะสูญพันธุ์ จึงต้องมีกระบวนการอนุรักษ์และขยายพันธุ์สัตว์ป่า สถานที่เที่ยวชมสัตว์มักอยู่ในอุทยานแห่งชาติ วนอุทยาน เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และสวนสัตว์(ได้แก่ที่ไหน)เป็นต้น

1.3สัตว์น้ำ(Aqatic Animals) เช่น พิพิธภัณฑ์ปลาที่บางแสน
1.4สภาพภูมิอากาศ(Climate) ความแตกต่างของภูมิประเทศในโลกนี้ทำให้ภูมิอากาศมีความแตกต่างกันไปด้วย ฝนตก แสงแดด อากศหนาวเย็น หิมะ ลมทะเล ทำให้มีกีฬาและนันทนาการรูปแบบต่างๆเกิดขึ้น อากาศที่แตกต่างกันทำให้ผู้มาเยือนเกิดความตื่นตาตื่นใจ

1.5ปรากฏการณ์ธรรมชาติ(Natural Phenomenon) ทำให้เกิดกิจกรรมการท่องเที่ยวสัมผัสและศึกษาปรากฏการณ์ธรรมชาติ อาทิ พระอาทิตย์เที่ยงคืน จันทรุปราคา สุริยุปราคา ฝนดาวตกเลโอนิด เป็นต้น
1.6สัตว์เลี้ยง(Domestic Animal/ Pets) มักเป็นนักท่องเที่ยวที่สนใจเฉพาะด้าน เช่น ปัจจุบันนี้มีทัวร์ดูสุนัข ทัวร์ดูแมว

2.ทรัพยากรท่องเที่ยวที่มนุษย์สร้างขึ้นหรือจัดการให้มีขึ้น(Manufacture Attractions) ได้แก่ สถานเริงรมย์ โรงแรม กาสิโน สวนสนุก เทคโนโลยี ศูนย์การค้า เมืองโบราณ เมืองทันสมัย เมืองในเทพนิยาย สถาปัตยกรรม ศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี จำแนกทรัพยากรท่องที่ยวที่มนุษย์ทำขึ้นมีดังนี้

2.1ประเภทประวัติศาสตร์และโบราณสถาน(Historical and Sites) โบราณสถานจำแนกเป็น มีชีวิตกับไม่มีชีวิต หมายถึงแหล่งท่องเที่ยวที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีซึ่งแสดงให้เห็นถึงร่องรอยความเป็นมาทางอารยธรรมเก่าแก่ในท้องถิ่นนั้นๆ ได้แก่วัดโบราณ ซากกำแพงเมือง พระราชวัง เนินดิน เนินโบราณสถาน แหล่งตั้งถิ่นฐานหรือที่อยู่อาศัยของมนุษย์ในอดีต อุทยานประวัติศาสตร์ อนุสาวรีย์ และพิพิธภัณฑ์ เป็นต้น เช่น อุทยานปวศ.พระนครศรีอยุธยา สุโขทัย ศรีสัชนาลัย พนมรุ้ง พิมาย กำแพงเพชร พระนครคีรี

2.2ประเภทศิลปวัฒนธรรมประเพณีและกิจกรรม(Art&Culture Tradition and Activities) แตกต่างกันไปตามสภาพสังคม สิ่งแวดล้อม ภูมิประเทศ ขนบธรรมเนียมประเพณี การดำเนินชีวิตฯลฯ มีลักษณะเป็นรูปแบบของพิธีกรรมตามความเชื่อ ประเพณี เทศกาล งานเฉลิมฉลอง การละเล่นพื้นบ้านพื้นเมือง เรื่องเล่า เพลงพื้นบ้าน เพลงกล่อมลูก สินค้าพื้นเมือง ศูนย์วัฒนธรรม เช่น งานสงกรานต์ การทำบุญตักบาตรดอกไม้ บุญบั้งไฟยโสธร

2.3กีฬา(sports) กีฬาหลายอย่างจูงใจให้เกิดการเดินทางท่องเที่ยว เช่น ฟุตบอล เทนนิส กอล์ฟ มวย
2.4แหล่งความรู้ทางการศึกษาและเทคโนโลยี เช่น เขื่อน สวนเกษตร โรงงานต่างๆ ฟาร์ม ท่าเรือ สถานีอวกาศ มหาวิทยาลัย โรงเรียน
2.5สถานบันเทิง เช่นไนท์คลับ กาสิโน เรือสำราญ คาบาเร่ต์ ภูเก็ตแฟนตาซี
2.6สวนสาธารณะ เป็นสถานพักผ่อนหย่อนใจดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งคนในท้องถิ่นและชาวต่างชาติ
2.7สวนสนุก เช่น ดิสนีย์แลนด์ ดรีมเวิร์ล มักมีการแสดง ร้านค้า ร้านาหารและเครื่องดื่มบริการด้วย
2.8ศูนย์การค้าและร้านของที่ระลึก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น