จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันอังคารที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2554

การสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง ยุทธศาสตร์ประเทศไทยในมิติการเมืองเศรษฐกิจ สังคมและการบริหารราชการ

วันพุธที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2554
เก็บความและรายงาน
โดย พิทยะ ศรีวัฒนสาร


สถาบันพระปกเกล้า สถาบันพระปกเกล้าร่วมกับกพร. ทีดีอาร์ไอ และสสส. ได้จัดสัมมนาวิชาการเผยแพร่ผลงานวิจัยเรื่อง ยุทธศาสตร์ประเทศไทยในมิติการเมืองเศรษฐกิจ สังคมและการบริหารราชการ เมื่อวันที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๕๔ เวลา ๐๙.๐๐-๑๖.๐๐ น. ณ ห้องประชาธิปก สถาบันพระปกเกล้า ปรากฏว่าในระดับของการนำเสนอในที่ประชุมรายงานผลการวิจัยและในส่วนของการแสดงความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมรับฟังการสัมมนา นักวิชาการเน้นเฉพาะในส่วนของภาพรวมทางการเมือง ระบบราชการ แนวโน้มของรัฐสวัสดิการ และการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน


แต่น่าเสียดายที่(ยัง)ไม่มีท่านใดกล่าวถึงการเข้าถึงโอกาสที่จะได้รับการรักษาพยาบาลอย่างมีคุณภาพ อาทิ การได้รับยาลดเบาหวาน-ความดัน และยาลดคลอเรสสเตอรอลของประชาชนในภาคส่วนของการประกันสังคม รวมถึงโอกาสในการรักษาโรคเกี่ยวกับดวงตา อาทิ โรคต้อกระจก ต้อหิน โรคจอประสาทตาเสื่อม ซึ่งปัจจุบันนอกเหนือจากการได้รับยากลับไปหยอดครั้ง ๑-๒ ขวด แล้วผู้ประกันตนต้องจ่ายเงินเพิ่มในส่วนของยาเบาหวาน ความดัน คลอเรสเตอรอล ฯลฯ


เวลา ๐๙.๑๐ น. ดร.ถวิลวดี บุรีกุล ผู้อำนวยการสำนักวิจัย สถาบันพระปกเกล้า กล่าวรายงาน


ศ.ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า กล่าวเปิดการสัมมนา มีใจความดังนี้ ความขัดแย้งทางการเมืองในประเทศไทยที่ผ่านมาตั้งแต่ก่อน ๒๕๔๘ จนถึงปัจจุบัน ก่อให้เกิดความพยายามในการแก้ไขปัญหาอย่างจริงจังทุกระดับ โดยเฉพาะสถาบันพระปกเกล้าได้เก็บข้อมูลและนำองค์ความรู้ที่ได้จากการวิจัยมาแก้ไขปัญหา เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้เกิดขึ้นแก่สังคมไทย จึงเกิดการวิจัยด้านการเมือง รัฐสภา ปัญหาการเลือกตั้ง พื้นฐานขององค์การปกครองท้องถิ่น ประชาธิปไตยภาคพลเมือง ฯลฯ โดยได้รับความสนับสนุนจากสถาบันเพื่อการพัฒนาประเทศไทย(TDRI)กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.)สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ( กพร.) ภายใต้ยุทธศาสตร์การฟื้นฟูประเทศเพื่อสร้างความเข้มแข็งของสังคมไทยประเด็นของปัญหาเริ่มต้นจากความขัดแย้งทางการเมืองโดยการประท้วงกลุ่มพันธมิตรประชาธิปไตย (สีเหลือง) ส่งผลให้มีการรัฐประหาร ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ การเปลี่ยนนายกรัฐมนตรี การประท้วงของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการ(สีแดง) ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าวมีการจัดกิจกรรมสานเสวนาตั้งแต่ปี ๒๕๕๐จากการวิจัยพบว่า ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในสังคมไทยมิได้เกิดจากปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง แต่เป็นความขัดแย้งในเรื่องความไม่เท่าเทียมกันทางสังคม จึงเป็นที่มาของการจัดกิจกรรมสานเสวนาครั้งที่๒ ในปี ๒๕๕๑ในช่วงที่ความขึ้นแย้งทางควาคิดในสังคมไทยก่อตัวขึ้นใหม่ๆ ศาสตราจารย์ .ประเวศ วะศี ก็ได้ร่วมกับนักวิชาการทั่วไปประชุมปรึกษาหารือกันที่ศูนย์วิจัยจุฬาภรณ์เพื่อทำความเข้าใจและแสวงหาแนวทางแก้ไขปัญหาต่างๆ และได้พบว่าจำเป็นต้องอาศัยกระบวนการทางการเมืองในแก้ปัญหาเฉพาะหน้า จึงต้องวิเคราะห์และพบว่า เรื่องความไม่เป็นธรรมในการจัดสรรทรัพยากรในประเทศไทยเป็นปัญหาสำคัญ อันทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำระหว่างคนสองกลุ่ม คือ กลุ่มเสื้อเหลืองในเมืองผู้มีฐานะปานกลางถึงมั่งมีและกลุ่มคนเสื้อแดงซึ่งมีฐานะยากจนในชนบท ด้วยเหตุนี้ TDRI จึงร่วมกับนักวิชาการได้ร่วมกันออกแบบการแก้ปัญหาในการจัดสรรทรัพยากร และการตั้งต้นในการขจัดความขัดแย้งทางผลประโยชน์และความเหลื่อมล้ำทางสังคม ต้องปรับที่ระบบการเมืองและระบบราชการเป็นอันดับแรกในปีพ.ศ.๒๕๔๐ เคยมีการปรับปรุงระบบราชการครั้งใหญ่มาแล้ว แต่เป็นการปรับแต่ระบบราชการเท่านั้น ปัจจุบันต้องปรับเศรษฐกิจในการปรับโครงสร้างของระบบราชการครั้งนี้ มีการตั้งคำถามว่าพันธะกิจบางเรื่องที่ทางฝ่ายราชการเคยทำมาก่อนเป็นเวลานานอาจจะปรับเปลี่ยนให้ชุมชนหรือเอกชนทำแทนได้หรือไม่ ไม่จำเป็นต้องให้ราชการทำเสมอไป จากนั้นก็พิจารณาข้อเสนอเรื่องการปรับโครงสร้างรัฐสภา ซึ่งอ.นันทวัฒน์ บรมานันท์ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นผู้ดำเนินการวิจัย เรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชน เรื่องวัฒนธรรม และฯลฯ ทำอย่างไรผลการวิจัยจะถูกนำไปปรับใช้ในการปรับปรุงโครงสร้างของประเทศด้วยอย่างประสบความสำเร็จ วันนี้แม้จะเป็นการพูดแค่เรื่อง what to do คือ จะทำอะไรได้บ้าง แต่วันข้างหน้าจะต้องคำนึงถึงประเด็น How to do คือ จะเอาไปปรับใช้กันอย่างไรในประเทศญี่ปุ่น การเปลี่ยนแปลงของระบบโครงสร้างเศรษฐกิจ การเมือง สังคมและวัฒนธรรมเกิดขึ้นเพราะการแพ้สงครามและถูกกดดันจากภายนอก แต่ในยุโรปหลายประเทศและเกาหลีการเปลี่ยนแปลงทั้งหลายเป็นผลมาจากแรงกดดันภายในประเทศ วันนี้เราจะแบ่งสรรผลประโยชน์อย่างไรให้เกิดความเป็นธรรมแก่คนส่วนใหญ่ของประเทศได้ เพื่อไม่ให้ความขัดแย้งเกิดประทุขึ้นมาอีกครั้งในอนาคตวันนี้กลุ่ม “คนมีมาก (ฐานะร่ำรวย)”กลับอยู่นั่งในสภา ในอดีตเราเคยผ่านการเลิกทาสโดยไม่เสียเลือดเนื้อ เราเคยมีการออกพระราชบัญญัติภาษีที่ดินปี ๒๔๗๕ แล้วก็เลิกล้มไป เราเคยจำกัดการถือครองที่ดินให้แต่ละคนมีได้ไม่เกิน ๕ ไร่ ในปีพ.ศ.๒๕๐๕ เมื่อเกิดปัญหาความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่ไม่เป็นธรรมเกิดขึ้น มาตรการดังกล่าวอาจถูกอาจนำมาใช้อีกหรือไม่
ปาฐกถาพิเศษ ศ.นพ.ประเวศ วะศี ประธานคณะกรรมการสมัชชาปฏิรูป
คณะกรรมการสมัชชาปฏิรูปเคยประชุมทุก ๒ สัปดาห์ เรื่อง การปฏิรูปประเทศไทย ที่ศูนย์วิจัยจุฬาภรณ์ ทุก ๒ สัปดาห์ ในประวัติศาสตร์ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๕ เคยมีการเสนอปฏิรูปทางด้านการเมืองการปกครองแต่ไม่ได้รับการยอมรับ ทำให้ต้นสมัย ร.๖ เกิดกบฏร.ศ.๑๓๐ หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง ๒๔๗๕ คณะราษฎรมีอำนาจเพียง ๑๘ ปี จากนั้นการเมืองก็ก้าวสู่ภาวะเดิม ทำให้แม้จะผ่านมาแล้วเกือบ ๘๐ ปี แต่ยังเกิดความขัดแย้งทางความคิดรุนแรงถึงขั้นนองเลือดเมื่อพ.ศ.๒๕๕๓
รัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐ ยังไม่สามารถทำให้ภาคประชาชนเข้มแข็ง จึงต้องปฏิรูปโครงสร้าง ในช่วงที่ผ่านมาเราคิดแต่เรื่องบุคคล ไม่คิดถึงโครงสร้างหลักของประเทศ มีคนเคยพูดเปรียบเปรยไว้ว่า คนไทยเหมือนไก่ในเข่งที่แต่จิกกันจนตาย แต่ก็ไม่สามารถออกจากเข่งได้ เข่งเปรียบเหมือนโครงสร้างทางการเมือง สังคมและเศรษฐกิจ สื่อมวลชนก็คาดหวังสูงอยากเห็นสำเร็จเร็วๆ โดยไม่คำนึงว่า การปรับโครงสร้างของประเทศเป็นกระบวนการต่อเนื่องที่ต้องช่วยกันทุกฝ่าย
คณะกรรมการสมัชชาปฏิรูปเคยเสนอนายอานันท์ ปันยารชุนว่า ในอดีตเคยมีการริเริ่มให้เกิดความเป็นธรรมเรื่องการจัดสรรทรัพยากรมาแล้ว อาทิ สมัยจอมพลป. พิบูลสงครามเคยจำกัดการถือครองที่ดินไม่เกินรายละ ๕๐ ไร่ ในสมัยจอมพลถนอม กิตติขจร พลเอกแสวง เสนาณรงค์ขณะดำรงตำแหน่งในสำนักนายกรัฐมนตรีก็เคยเสนอจอมพลถนอม กิตติขจรให้ดำเนินการปฏิรูปที่ดิน แต่ปรากฏว่ามีคนชั้นสูงบางคนกราบทูลฯว่า มีผู้นิยมลัทธิคอมมิวนิสต์แฝงตัวอยู่ในสำนักนายกรัฐมนตรี ๒ คน ซึ่งในช่วงเวลาเดียวกันนั้น นายแพทย์ ประเวศ วะศี เคยถวายฎีกาเรื่องการปฏิรูปที่ดิน เช่นกัน
การพัฒนาประเทศควรริเริ่มจากระดับพื้นฐานของประเทศ ไม่ควรมาจากส่วนบน เกือบร้อยปีมาแล้วที่การพัฒนาประเทศเกิดจากส่วนบนของประเทศ ทำให้การพัฒนาประเทศยังไม่ประสบความสำเร็จ เพราะเป็นการพัฒนามาจากเบื้องบน ท้องถิ่นจึงอ่อนแอ จากรากฐานดั้งเดิมที่ทุกหมู่บ้านมีสภาชุมชนดูแลอยู่แล้ว การพัฒนาด้านต่างๆ อาทิ เศรษฐกิจ จิตใจ ประชาธิปไตย การศึกษา สังคม การเมืองและเศรษฐกิจจึงควรมาจากท้องถิ่น จะทำให้เกิดสวรรค์ขึ้นในชุมชนอย่างแท้จริง แนวทางดังกล่าวเป็นลักษณะของประชาธิปไตยชุมชน
การเปลี่ยนแปลงการปกครอง ๒๔๗๕ ไม่มีฐานมาจากชุมชน ทำให้ระบอบประชาธิปไตยล้มลุกคลุกคลาน ประเทศสหรัฐอเมริกาก่อตัวขึ้นจากการรวมกันของท้องถิ่น จึงมีความเข้มแข็งในการสร้างประเทศ ชื่อของประเทศ คือ The United of America บ่งบอกถึงรากฐานของชุมชน
การปฏิรูปประเทศต้องเริ่มจากระดับกรม ในอดีตอธิบดีเป็นผู้สั่งได้หมดทั้งประเทศทำให้เกิดการรวมศูนย์อำนาจและทุจริต(Corruption) ในประเทศญี่ปุ่นสมัยนายพลโตโจมีอำนาจ ญี่ปุ่นตัดสินใจเข้าสงครามโดยไม่ฟังเสียงทัดทานจากนักวิจัย ภายหลังสงครามรัฐบาลญี่ปุ่นจึงกระจายอำนาจออกไปเพื่อป้องกันการผูกขาดอำนาจและการรัฐประหาร เช่นเดียวกับประเทศอินเดีย
ศาสตราจารย์ ประเวศ วะสี เสนอว่า การปฏิรูปประเทศไทย ควรทำแบบฐานเจดีย์ คือ มีฐานกว้างใหญ่ แข็งแรง เชื่อมยอดเข้ากับฐาน พัฒนาวิถีชีวิตพื้นบ้าน ปรับปรุงเศรษฐกิจ พัฒนาการศึกษา และสร้างสรรค์ให้เกิดความเป็นธรรมที่มั่นคงแบบฐานเจดีย์


ความเจ็บช้ำของประชาชนเกิดขึ้นเพราะการเข้าไม่ถึงความเป็นธรรม เนื่องจากรัฐใช้วิธีปฏิบัติตามกฎหมายโดยให้ตำรวจจับ ให้อัยการฟ้อง แล้วศาลเป็นฝ่ายตัดสิน เมื่อไปถึงศาลผู้พิพากษาศาลชั้นต้นก็ปัดไปให้ศาลอุทธรณ์และฎีกาตัดสิน ทำให้เกิดการคั่งค้างของคดีความมากมาย ดังนี้ ระบบอำนาจรัฐต้องเชื่อมให้เกิดความเป็นธรรม


ชุมชนเป็นเรื่องสำคัญ รองศาสตราจารย์ ดร.นรนิติ เศรษฐบุตรกำลังศึกษาเรื่องของท้องถิ่น เทศบาล และเห็นว่าขณะนี้ต้องมีสถาบันดูแลเรื่องท้องถิ่นทุกจังหวัด


ครูสน รูปสูง คนเสื้อแดงขอนแก่น เคยชี้นำว่า ประชาชนจะเป็นคนปฏิรูปด้านต่างๆเอง ประชาชนรู้ดีเรื่องศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ การปฏิรูปองค์กรกันเองจะช่วยแก้ไขปัญหาความยากจนได้ การเข้าร่วมมีส่วนกำหนดนโยบายการพัฒนาและขับเคลื่อนนโยบายดังกล่าวจะเกิดประโยชน์ อย่างยิ่ง


กลุ่มแพทย์ส่วนหนึ่งมีการประชุมปรึกษาหารือเพื่อผลักดันแนวคิดในการแก้ปัญหาของประเทศประจำทุกเดือน ๒๐ กว่าปีมาแล้ว แต่ไม่เคยประกาศคุณความดีของตนถ้าการประชุมตรงนี้ริเริ่มจากนักวิชาการ ๒๐ คน เชื่อมโยงเป็นการประชุมใหญ่ระดับองค์กร จะส่งผลอย่างเป็นนัยสำคัญในการพัฒนาประเทศ และสำหรับประชาชนแล้วการติดอาวุธปัญญาและการแก้ไขความขัดแย้งด้วยสันติวิธี จะทำให้เกิดพลังในการขับเคลื่อนและพัฒนาบ้านเมืองต่อไปได้มากกว่าการใช้ความรุนแรง ซึ่งมีโอกาสจะถูกปราบได้ง่าย


(ร่างรอตรวจสอบขัดเกลาภาษา)ยุทธศาสตร์ประเทศไทยในมิติการเมืองเศรษฐกิจ สังคมและการบริหารราช
อ.ถวิลวดี บุรีกุล ดำเนินการอภิปราย


รศ. ดร.ทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ( กพร.) แผนงานการสร้างเสริมภาคีรัฐเพื่อสร้างเสริม....


ภาครัฐใหญ่แค่ไหน ดูที่ปริมาณจีดีพี ขรก.หนึ่งล้านสองแสนคน ขีดความสามารถรับเข้าทำงานน้อยลง อายุเฉลี่ยเข้าทำงานอายุ๒๗ ครึ่งหนึ่งเข้าเอกชน ร้อยละ๕ มากจากมหาวิทยาลัยที่แข่งขันสูง ๕ อันดับ ฉ้อราษฎร์ ๗๘% ความน่าลงทุน อันดับ ๖๒? ด้านธรรมาภิบาลต้องปรับปรุง-ผลวิจัยพบว่าระบบราชการและภาครัฐมีภาวะไม่สมดุล เดิมภาครัฐเป็นผู้นำในการพัฒนา ปัจจุบัน เอกชน ชุมชนและท้องถิ่นเริ่มมีบทบาทมากขึ้น ความไม่สมดุลเป็นปัญหาสำคัญของการพัฒนาประเทศ-วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัย จัดความเหมาะสมในด้านความสัมพันธ์แต่ละภาคส่วนให้เกิดความสมดุลทั้งด้านการดำเนินงาน ความสัมพันธ์ระหว่างภาครัฐ ระบบราชการ ภาคการเมือง และภาคประชาชน-หลังจากการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองพ.ศ. ๒๔๗๕ ภาคการเมืองยังมีสภาพอ่อนแอต้องอาศัยภาคราชการประคับประคอง ในสมัยร.๕ ภาคราชการใช้ระบบคุณธรรมป้องกันการแทรกแซง ภาคราชการเป็นตัวหลัก แต่เกิดปัญหา คือ แทนที่จะทำงานเพื่อประชาชนกลับแสวงหาอำนาจ มีการออกกฎหมายระดับรองที่เอื้ออำนวยให้อำนาจข้าราชการประจำและระบบราชการสะสมอำนาจ มองในด้านดีระบบราชการทำให้บ้านเมืองก้าวต่อไปได้ แต่ในภาคราชการกลับเกิดอำนาจนิยมจากการเสพอำนาจมาเป็นเวลานาน


หลังจากปีพ.ศ.๒๕๓๒ ในสมัยรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุนหะวัน ฝ่ายการเมืองเริ่มเข้มแข็งในขณะที่ภาคราชการกลับถดถอย จึงเกิดการขัดแย้งของทั้งสองฝ่าย ระหว่างพ.ศ.๒๕๓๐-๒๕๔๐ ฝ่ายการเมืองเป็นผู้ผลักดันนโยบายด้านการเมืองแต่ผู้ปฏิบัติ คือ ข้าราชการ


-ต้องออกแบบใหม่ เรื่อง รัฐสวัสดิการ เคยทำสูตรการรักษาพยาบาลกำหนดเหมาจ่ายหัวละ ๒,๐๐๐ บาท ก็ดำเนินและพัฒนาต่อไป แต่ต้องป้องกันการเมืองเข้ามาแทรก ในอดีตการปรับระบบราชการปฏิเสธการเข้ามาของคนฝ่ายการเมือง ปัจจุบันต้องเปิดทางให้คนของการเมืองเข้ามา โดยมีวาระการดำรงตำแหน่ง ๔ ปี ชัดเจน คนของฝ่ายการเมืองมาพร้อมกับการออกไปตามวาระและต้องรับผิดชอบความผิดทางการเมืองความผิดทางการเมืองที่อาจเกิดขึ้นด้วย-ส่วนราชการต้องพัฒนาความสามารถให้เข้มแข็งระดับหนึ่งแต่ไม่ใช่ชี้นำ เข้มแข็งในด้านการทำงานร่วมกับภาคอื่น บางเรื่องซ่อมไม่ไหว ก็ยุบทิ้ง ลด โอนถ่ายภาระแก่ภาคอื่นของสังคม เข้ามามีส่วนร่วม-จัดความสัมพันธ์ ๓ ยุทธศาสตร์ใหญ่ ๑. จัดกลไกราชการให้สมดุล ลดขนาดราชการ จัดความสัมพันธ์ ส่วนกลาง ภูมิภาค ส่วนกลาง หากจะทำ “เทศาภิวัตน์” ราชการส่วนกลางจะเสริมตรงไหน เอกชน ชุมชน จะร่วมอย่างไร-เดิมส่วนกลางเป็นตัวตั้ง ต้องถอยออกมา ตั้งองค์กรพิเศษให้มากขึ้น มอบอำนาจ


ภาครัฐต้องมีการกระจายออกสู่อำเภอ อปท. เอกชนร่วมลงทุน privatize, out sources มีเครื่องมือในการแข่งขัน กับภาครัฐหากไม่ปล่อยมือการซื้อบริการจากรัฐเอกชน และทำไมไม่ซื้อบริการจากชุมชน เป็นรูปแบบcompact จากอังกฤษ การfunding ส่งผลให้มีทางเลือกมากขึ้นวันนี้ โจทย์ใหญ่ คือ ต้อง join up ภาครัฐมาร่วมกัน ถ้าไม่ทำ ต้อง มีฝ่ายอื่นมาแข่งขัน


ในอังกฤษ มีคอมมิชชันเนอร์ ดูแลคนจะเข้ามาสู่ภาครัฐ นิวซีแลนด์ก็มีคณะกรรมการ คอยดูแล โดยมืออาชีพมาพิจารณา ต้องการคนแบบไหน ในการสรรหาคนเข้าดำรงตำแหน่ง เกิดวิชาชีพในการจัดสรรคน มีใบประกาศ ทำงานเปิดเผย แพร่ในเว็บไซต์-ต้องเปิดพื้นที่ให้ทางการเมืองมีบทบาทแต่งตั้งบุคคลเข้าดำรงตำแหน่งระดับสูง(Political ) อังกฤษตั้งที่ปรึกษา

-เบลเยียมใช้ระบบHibrid System คือ ยืมตัวข้าราชการไปแล้วก็สามารถกลับมาทำงานที่เดิมได้-ในอดีตการมีอธิบดีในระดับทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำ ต้องแก้ด้วยการตั้งTribunal (คณะกรรมการ) มาพิจารณาจัดสรรทรัพยากรของชาติ

-การพัฒนาระบบราชการภายใน มี E-government แก้ทุจริต

-ภาคราชการต้องเปลี่ยนกระบวนทัศน์ ที่น่านยินดีที่ได้หมู ปลา ข้าวโพด แต่ไม่ได้ต่อยอด ปลาป็นหมัน ข้าวโพดปลูกได้ครั้งเดียว หมูเป็นหมัน ต้องเป็นหนี้ ราชการก็เป็นผู้เปิดประมูลให้เอาหมู ไก่ มาแจก แล้วหายไป ปัญหา ทางแก้ มี ๒๒ เรื่อง ควรแก้โดยเอาเงินให้แต่มีโจทย์ให้คิดว่า จะต่อยอดอย่างไร


รศ. ดร. นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


-งานวิจัยชิ้นนี้มี ๓ ทีม ร่วมกันทำงาน คือ นักวิจัยจากจุฬา ธรรมศาสตร์ และทีดีอาร์ไอ


-ดร.นครินทร์ สนใจการปฏิรูประบบราชการ การปฏิรูปด้านการเมืองซึ่งมีนักการเมืองทั้งระดับชาติ

-ระดับท้องถิ่นรวมกันประมาณ ๕,๐๐๐-๖,๐๐๐ คน ทำยาก เพราะนักการเมืองมีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา ปฏิรูปพลเมือง ๖๐ ล้าน ก็ยากมากยิ่งขึ้น

-compact คืออะไร ชุมชน เอ็นจีโอ ส่วนหนึ่งวิจารณ์รัฐอย่างเดียว NGO บางส่วนทำงานร่วมกับภาครัฐ จึงต้องยอมรับกันและกัน เป็นพันธมิตรกันบางลักษณะ ต้องลงทะเบียนยอมรับการถูกตรวจสอบ ในอังกฤษมีระบบcompact สวัสดิการ คนแก่ คนพิการ การซ่อมบ้าน ดุแลหมด เก็บขยะ เทศบาลบางแห่งไม่มีความสามารถในการเก็บขยะ ต้องให้เงินชุมชนขนขยะมากองแล้วเทศบาลขน แต่ไม่มีการทำสัญญา รับงานไปต้องตรวจสอบ แยกขยะหรือไม่ ถ้าชุมชนไม่แยกขยะเป็นเรื่องยาก งานหนัก การซ่อมสาธารณูปโภคบางงานบริษัทไม่รับทำงานเล็กๆ ต้องรับเป็นล้าน ก่อนหน้านี้ชุมชนเคยรับงานจากภาคราชการ แต่ไม่มีรูปแบบเป็นสัญญาที่สามารถตรวจสอบได้ จึงต้องปรับตัว มูลนิธิเด็กต้องรับงานจากรัฐ NGO ทำงานพวกนี้ดีกว่า แต่ไม่มีระบบสัญญา และการตรวจสอบ ปัจจุบันมีร่องรอยอยู่ควรพัฒนาต่อไป

-Contestability ถ้ารัฐไม่ทำ ให้เอกชนทำ สำนักอื่นทำ เช่น การถ่ายโอนคลองชลประทาน แต่ท้องถิ่นไม่มีเครื่องจักร ต้องทำคอนเทสต์ และกลับมาจ้างชลประทานภาครัฐ

-อาจจ้างใครก็ได้ที่ทำแล้วประหยัด บรรลุผลสำเร็จด้วยดี

-Central Government ต้องมีรูปแบบการตัดสินใจใหม่ ไม่รวมอำนาจ ภาคเอกชนมีแล้ว เช่น กรรมการจากเสียงส่วนน้อย เปิดให้ใครมาร่วมเพียงใด

-รัฐตัดสินใจไม่ได้ ต้องตั้งกรรมการแห่งชาติมาทำงาน ต้องให้นายกฯเป็นประธาน ยิ่งทำงานไม่ได้ เขียนกฎหมายมาให้ตัวเองทำงานไม่ได้ บางเรื่องอาจตัดสินใจเชิงอนุญาโตตุลาการ ซึ่งทำงานได้ดีขึ้น


รศ. ดร.ทศพร ศิริสัมพันธ์ บทเรียน เมื่อก่อนลงแรงทำฝาย เมื่อฝายทรุดพังก็ช่วยกันซ่อมด้วยดี เดี๋ยวนี้บอกว่าเป็นฝายของ อบต. เมื่อพังแล้วก็รอ อบต. เข้ามาซ่อมอ.ถวิลวดีขรก. ต้องปรับปรุงตัว ด้วย ทั้งด้าน compact และ contestability


ศ.ดร.นันทวัฒน์ บรมานนท์

ศึกษาเรื่องระบบรัฐสภา เราทำส่วนเล็กๆ ระบบพรรค ท้องถิ่น

-ผมทำที่มาของสมาชิกรัฐสภา ถกกันเรื่องจำนวนสส. เลือกตั้งกับปาร์ตี้ลิสต์-เราดู รัฐธรรมนูญ(รธน.)พ.ศ.๒๕๔๐และพ.ศ.๒๕๕๐

-รธน. ๔๐ ไม่มีระบบตรวจสอบ การเข้าสู่ตำแหน่งก็หลากหลาย สส.ไทยเล่นเรื่องประชาชนฝากลูก แก้ปัญหากดขี่ ของต่างประเทศออกกฎหมาย

-พัฒนาการเรื่องทุจริต กินจอบ กินเสียบ พอมีศาลฎีกาแผนกคดีอาญาผุ้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มีการลงโทษ

-นักการเมืองไม่แก้ปัญหาที่แท้จริง โครงการประชานิยมทำให้ชาวบ้านแบมือรับอย่างเดียว ต้องแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ

-การปรับโครงสร้างรัฐสภา ตอบสนองคนหลายประเภท คนเข้าการเมืองต้องมีฐานอำนาจ ฐานการเงิน เขียนกฎหมายเพื่อประโยชน์ตนเอง

-รบ.นี้พูดเรื่องกฎหมายทรัพย์สิน แต่เงียบไปแล้ว

-ในฝรั่งเศสเสียภาษี ๗๐ % ต้องใช้วิธีโอนให้ลูกหลาน

-ในสภาบ้านเรามีแต่คนรวย ทำอย่างไรจะให้คนจนเข้าสภา มาออกกฎหมายตอบสนองคนทุกระดับ ในการวิจัย ดูหลายส่วน

-มีการถกเถียงเรื่องสส.ต้องสังกัดพรรค หรือ เปล่า เราเห็นว่าไม่ควรสังกัดเพราะพรรคครอบงำสส. ที่สั่งซ้ายหัน ขวาหัน-ในงานวิจัยดูเรื่องที่มาของ สส. สว. เช่นกัน ซึ่งเถียงวนเวียน แต่ไม่เคยถามว่าระบบใดดีที่สุด จึงต้องลองไปเรื่อยๆ

-สว.ในรธน. ๔๐ วุฒิสภา ตรวจสอบด้วย กกต.สีเทา ศาลรธน.สีเทา ถูกการเมืองครอบงำ เพราะการเมืองเลือกเข้ามา เลยไม่ตรวจสอบจริงจัง

-โจทย์อ.บวรศักดิ์ว่า การปล่อยให้พรรคทำประชานิยม เป็นนโยบายพรรค แต่ใช้เงินประเทศ ต้องเอามาใส่ รธน.เสียเลย จะได้ไม่ต้องอ้างเอาเป็นงานของตน

-รบ.นี้ไม่ทำเรื่องภาษีมรดก ทำไมไม่ริเริ่มเรื่องภาษี การกระจายอำนาจให้ท้องถิ่น ทำงานเหมือนองค์กรกระจายอำนาจด้านสวัสดิการ

-เรื่องสส. สว. เราตั้ง ๓๙๙ กับ๑๐๑ น่าจะเหมาะกว่าปัจจุบัน การนับคะแนน กลับใช้รธน.๔๐ เอาทุกหน่วยมารวมกันแล้วนับคะแนน

-การหาเสียง ถ้าต้องการลดบทบาทหัวคะแนน ก็ต้องเปิดเสรี และยกเลิกการสังกัดพรรคการเมือง ซึ่งมี สส.ขายตัว จึงต้องกำหนดให้ถ้าไม่สังกัดพรรคก็ต้องไม่เข้าพรรคเลย

-การตรวจสอบของสว. การถอดถอนสว.ให้ศาลรธน.ดำเนินการ ให้วุฒิสภาดูกฎหมายหรือตั้งคนเท่านั้น-วุฒิสภา โดยตำแหน่ง ให้สัดส่วนคนในระบบรัฐเข้าม เช่น ปลัดกระทรวง เหล่าทัพ ผู้แทน อปท . สภาทนายความ ส่วนที่เหลือให้สรรหาจากวิชาชีพรัฐวิสาหกิจ เกสร พาณิชยกรรม มูลนิธิ NGO สรรหาเข้ามาจำนวน ๕ เท่า แล้วให้คณะกก.สรรหา คัด โดยมาจาก การเมือง นิติ บริหาร องค์กรตามรธน. จำนวน ๒๐๐ คน-เรื่องการตั้งสว.โดยตำแหน่งลองพิจารณษดู

-นายกฯ และรมต. ต้องเป็นสส. เถียงกันมานาน จะให้ขรก. คนมีบารมีเข้ามาหรือ งานวิจัยเสนอให้นายกมาจากการเลือกตั้ง

-ปัญหาฝ่ายนิติบัญญัติไม่ควรมาเป็นฝ่ายบริหาร อาจใช้โครงสร้างรธน. ๔๐

-เสนอให้นายกฯห้ามเป็นต่อกัน ๒ สมัย อาจโต้แย้งว่า ลาออกก่อน ครบวาระแล้วเข้าใหม่ หรือ อาจเอาเด็กในคาถามาเป็นนายกฯ จึงต้องปล่อย

-รัฐสวัสดิการ ต้องปรับระบบภาษี และรูปแบบสวัสดิการ

-ฝรั่งเศสทำงบ ๒ ชุด งบสวัสดิการ และงบบริหารราชการแผ่นดิน

-รัฐต้องกำหนดประเภทสวัสดิการ กำหนดภาษี กำหนดคณะกรรมการดูแลคล้ายคณะกรรมการกำหนดแผนกระจายอำนาจ

อ.ณรงค์เดชเรามีการยุบพรรค ๑๔๓ พรรค เกิดปัญหาลดความหลากหลายทางการเมือง ทำลายโอกาสการมีส่วนร่วม การยุบพรรคถูกใช้จัดการคู่แข่งทางการเมือง ทำลายโอกาสการพัฒนาเป็นสถาบันการเมือง คือ แยกพรรคออกจากบุคคล ไม่มีเจ้าของ การยุบพรรคทำให้สถาบันไม่เกิดป ประชาธิปัตย์มีคดี-ปัญหาเชิงกฎหมาย การยุบพรรค ทางสากลมี ๔ ข้อ ปฏิปักษ์ต่อรัฐ ประชาธิปไตย อัตลักษณ์รัฐธรรมนูญ(สาธารณรัฐ ราชอาณาจักร รัฐศาสนา) ไม่ส่งเลือกตั้งต้องสลายตัว แต่ในไทย เหตุยุบพรรคขัดต่อนิติรัฐหลายข้อ เช่น กรรมการทำผิด มีการรู้เห็นเป็นใจ ถูกยุบ-กระบวนการยุบพรรคการเมืองเยอรมนี ต้องเปิดให้โต้แย้ง นายพงษ์ศักดิ์ รักตะพงศ์ไพศาลและพลเอก ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ไม่มีโอกาสเข้าต่อสู้ให้การในชั้นศาล แต่ ศาลรธน.กลับบอกไม่เป็นไร-การเพิกถอนสิทธิ์เลือกตั้งในต่างประเทศ ต้องเป็นโทษทางอาญา-ปัญหาการบังคับใช้ เช่น หัวหน้าพรรคไม่ยื่นรายวานประจำปี ยุบพรรค ทำไมไม่ถอดถอน-บ้านเรายุบเสร็จตั้งใหม่ แต่ต่างประเทศห้ามมีองค์กรทดแทนแบบนอมินี


อ.ไมเคิล เนลสัน

๑.ไม่มีใครพูดถึงผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง สื่อเห็นว่า Voters โง่ ยากจน สังกัดพรรค ซื้อเสียงได้ ผมเห็นว่า ความรู้ทางการเมืองของVoters ในไทย USA Germany หรือ France ก็เหมือนกัน คือ ต่ำ คล้ายกัน ขอให้ที่เห็นว่าผู้ออกเสียงโง่ เลิกคิดได้เลย-ประเด็นการนับคะแนนที่อำเภอตามรธน.๔๐


ผมเคยมีประสบการณ์สังเกตการนับคะแนนที่อำเภอแปดริ้ว ปรากฏว่าใช้กระบวนการยาวนานกว่า ๔๐ ชั่วโมง กรรมการเลือกตั้งเหนื่อย ความโปร่งใสหายไป เห็นว่า มีการจัดการมากปัญหาเป็นแรงกดดัน ตอนเช้าไม่มีใครนับคะแนน จึงควรนับคะแนนที่หน่วยเลือกตั้งเลยดีกว่านับที่อำเภอ ง่ายกว่า เร็วกว่า ผลออกมาเหมือนกันหมด ไม่ว่าจะนับที่หน่วยหรืออำเภอ-คะแนนเสียงขั้นต่ำ รธน.๔๐ ถ้าคิด ๕% พรรคมหาชนไม่ได้สส.แม้แต่คนเดียว ทั้งๆที่มีสส. ๒ คน ปัญหาส่วนใหญ่มาจากเรื่องสส.บัญชีรายชื่อ การมีสส.คนเดียว ของ ๔-๕ พรรค จะมีประโยชน์มากน้อยเพียงใด ถ้าลดจาก ๕% เหลือ ๑ % จะเหมาะสมกว่า


อ.ถวิลวดี อปท.ช่วยเสนออะไรเล็กน้อย เชิญอ.ตระกูล


อ.ตระกูลผมทำเรื่องการเข้าสู่อำนาจขององค์กรปกครองท้องถิ่น พิการ อำนาจเบ็ดเสร็จอยู่ที่ฝ่ายราชการ การตรวจสอบมีน้อย เป็นระบบซ้ำซ้อนกับสภาองค์กรชุมชน(ปี๕๐) มหาดไทยกำลังจะผลักดันสภาท้องถิ่นมาซ้อน-อปท.ไม่สะท้อนปัญหาชุมชน สภาท้องถิ่น ค่าใช้จ่ายสูงมาก คนละ ห้าพัน ปีละหกหมื่น แต่ละคนทำงานน้อย ไม่สะท้อนความต้องการที่หลากหลายของชุมชน มีกลุ่มในชุมชนหลายหลายมาก-สภาท้องถิ่นต้องร่วม ตัดสิน และเสนอความคิดเห็น ในการพัฒนา ระบบ๒ ลู่ คือระบบเลือกตั้งกับระบบตัวแทนของภาคประชาสังคมในหมู่บ้านมาทำงานด้วยกัน-ฝ่ายเลือกตั้งทำงานไป ฝ่ายตัวแทนชุมชนมาถ่วงดุล(ไม่มีเงินเดือน) เป็นลักษณะสังคมชนบท ร่วมตัดสินใจมีเหตุผล ตอบสนองชุมชน


อ.นิยม รัฐอมฤตผมติดตามองค์กรอิสระและองค์การติดตามการบังคับใช้ในรธน. จากการศึกษา ปัญหามีมากถึง๑๐ องค์กร พบปัญหาที่องค์อิสระไม่ประสบความสำเร็จหลายองค์กรเพราะถูกแทรกแซงจากพรรคการเมือง ต้องยุบหลายองค์กร-การมีวาระ ๖-๘ ปี เป็นช่องว่างถูกแทรกแซงจากการเมือง คุณสมบัติกรรมการก็กำหนดไว้กว้างๆ บางคนไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญที่แท้จริง เช่น องค์กรจัดการเลือกตั้ง องค์กรออกกฎหมาย เช่น กำหนดว่าเป็นศาสตราจารย์ อธิบดี ฯลฯ-เจ้าหน้าที่ขององค์กรก็มีปัญหา จนท.ไม่มีความรู้ความสามารถเพียงพอ ก็เกิดปัญหาได้เช่นกัน โดยสรุป พบว่า ๙ องค์กร ไม่ประสบความสำเร็จ จากปัจจัยข้สงต้น
วรัญชัย โชคชนะประสบการณ์ตรง คือ ยุทธศาสตร์ด้านการเมือง ด้านรธน. ควรจับตาตาการแก้ไข อย่าดูว่าแค่ที่ม่าของสส. ดูสว.ด้วย จำนวนควรเป็น รธน.๔๐ รัฐบาลควรเสริมสร้างประชิปไตย ไม่ใช่หน้าที่ของสถาบันพระปกเกล้า การเมืองนอกสภา สถาบันพระปกเกล้าต้องดูด้วย สุดท้าย สื่อและนักวิชาการ สื่อ ๒ ค่าย นักวิชาการ ๒ ค่าย-การเลือกตั้ง นับที่หน่วยเลือกแบบเขต พรรคตั้งได้ ล้มได้ถ้าไม่ส่งสมัคร การยุบพรรค พรรคเป็นของประชาชน องงค์กรอิสระ ลำเอียง ผู้บริหารท้องถิ่นควรให้คนท้องถิ่นเลือกผุ้ว่าได้ ยุบอบจ.เลือกตั้งผู้ว่าแทน


ประเสริฐ เลิศยะโส อดีตสส.บุรีรัมย์ พรรคสังคมนิยม อาสาสมัครอบรมความรู้ประชาธิปไตยของรัฐสภา เป็นกรรมการบริหารพรรคการเมืองใหม่-การต่างประเทศเราอ่อน ปัญหาประเทศไทยมีทั้งโครงสร้างและบุคคล-ปัญหาเรามีศก. การเมือง สังคม ต้นเหตุ ปลายเหตุ ไม่มีการวิจัย แบบคอมมิวนิสต์แล้วออกแบบรัฐธรรม ให้ประชาชนมีส่วนร่วมไม่ใช่แค่ประเวศ อานันท์มาแก้เพียงข้อสองข้อ-การสร้างอำนาจรัฐใหม่มาจากประชาชน


วิชิต อินทะประสบ ผู้แทนหน่วยงานการติดตามการใช้อำนาจในภาครัฐต่อประชาชนขององค์การสหประชาชาติเห็นด้วยจะกี่คนผลก็เหมือนกัน ไม่เห็นด้วยที่สว.ออกก่อนวาระ อยู่ให้ครบ อย่าให้การเมืองชะงัก-อปท. อบต. สจ.จะย่อยสลาย ไปตั้งสอบจ.มาทำงานเดียวกัน แบ่งเค้ก งานมางบไม่ให้ แก้ปัญหา


อนุชา บุญญสาสี สส.กทม. ปชป.-ออกรายการรู้ทันประเทศไทยของ ดร. เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ผู้เสวนาพูดเรื่อง จำนวน สส.เขต ๒๐๐ เขต สส.สัดส่วน ๒๐๐ คน (มีนายกฯอยู่ในนี้) มีการเสนอแนวคิดว่า ต่อไปนายกฯไม่มีอำนาจยุบสภา และสส.ไม่มีอำนาจในการยื่นญัตติไว้วางใจ


อ.นครินทร์การเมืองเป็นเรื่องของทุกคน แต่ปรากฏเอาเข้าจริงการเมืองกลับเป็นเรื่องของคนบางกลุ่ม การแก้รัฐธรรมนูญเป็นเรื่องต้องทำไปแก้ไป เคยเสนอในการเขียนรัฐธรรมนูญฉบับพ.ศ.๒๕๕๐ ว่าที่มาของสว.อาจต้องใช้วิธีการสรรหาโดยไม่คิดว่าจะเป็นวิธีการสรรหาแบบถาวร (๗๔-๗๖) ไปๆมาๆที่มาของสว.จะกลายเป็นการสรรหาถาวร


อ.ถวิลวดีประชาชนต้องปฏิรูปตัวเอง ปัจจุบันเรายึดตัวเองเป็นที่ตั้งมานาน ดังนั้นจึงต้องปฏิรูปตัวเองเป็นอันดับแรกภาคบ่าย ยุทธศาสตร์ประเทศไทยในมิติการปฏิรูประบบเศรษฐกิจเพื่อลดความขัดแย้งทางการเมือง

วันศุกร์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2554

ความคืบหน้ารายวันการปรับปรุงทางลาดทางเท้าในซอยวิภาวดีรังสิต64แยก7ฝั่งใต้(ต่อ)

รายงานโดย พิทยะ ศรีวัฒนสาร



ระหว่างเวลา 9.00-11.00 น. วันที่ 23 เมษายน 2554 ฝ่ายโยธา สำนักงานเขตหลักสี่ ได้ส่งรถบรรทุกหินคลุกพร้อมด้วยแรงงานจำนวนหนึ่งเข้ามาปฏิบัติงานต่อในซอยวิภาวดีรังสิต64แยก7ฝั่งใต้ ผู้เขียนจึงบันทึกข้อมูลดังกล่าวมารายงานแก่สาธารณชน เพื่อประโยชน์ด้านการสร้างจิตสำนึกสาธารณะในการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของชุมชนต่อไป



วันพฤหัสบดีที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2554

ความคืบหน้าการปรับปรุงทางลาดทางเท้าในซอยวิภาวดีรังสิต64 แยก7 : ความหวังและต้นแบบของการพัฒนาจากการผลักดันของพลเมืองในพื้นที่เขตหลักสี่

รายงานโดย พิทยะ ศรีวัฒนสาร

เมื่อวันที่21 เมษายน 2554 ฝ่ายโยธา สำนักงานเขตหลักสี่ได้ส่งเครื่องจักรกลหนักเข้ามาตักเศษดิน หิน ทรายและเศษวัสดุอื่นๆ ออกไปจากพื้นที่ทางลาดทางเท้าในซอยวิภาวดีรังสิต64 แยก7 ฝั่งใต้ เพื่อเตรียมพื้นที่ในการบดอัดหินคลุกตามที่พลเมืองของชุมชนในพื้นที่ได้ร้องขอเอาไว้ เชื่อว่าความสำเร็จในการปฏิบัติงานคงจะเกิดขึ้นเร็วๆอย่างแน่นอน และมีแนวโน้มว่าพื้นที่ส่วนนี้จะได้รับการพัฒนาและทำนุบำรุงให้มีความเป็นระเบียบเรียบร้อยอย่างเสมอต้นเสมอปลายต่อไปในอนาคต ขอขอบคุณเป็นอย่างยิ่งครับ




วันพุธที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2554

พิธีลงนามบันทึกความร่วมมือในกระบวนการสร้างความเป็นพลเมืองระหว่างสถาบันพระปกเกล้ากับมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ 12 เมยายน 2554

รายงานโดย
พิทยะ ศรีวัฒนสาร ม.ธุรกิจบัณฑิตย์ และ ฉัตรบงกช ศรีวัฒนสาร สถาบันพระปกเกล้า

พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในกระบวนการสร้างความเป็นพลเมืองระหว่างสถาบันพระปกเกล้ากับมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ อังคาร 12 เมษายน 2554


หัวข้อ “ความเป็นมาของโครงการความร่วมมือเพื่อพัฒนาความเป็นพลเมือง” โดย ผศ. ดร. ธานี วรภัทร์ รักษาการ ผู้ช่วยอธิการบดี ฝ่ายกิจการนักศึกษา มธบ. อ.ฐิติ ลาภอนันต์ ผู้อำนวยการฝ่ายกิจการนักศึกษา มธบ. และ อ.ศุภณัฐ เพิ่มพูนวิวัฒน์ ผอ.สำนักส่งเสริมการเมืองภาคพลเมือง

ดร.ธานี บทบาทในการพัฒนาความเป็นพลเมืองนี้สำคัญ ลึกซึ้งมาก เรื่องปชต. สำนึกพลเมือง ถูกสร้างสมมาตั้งแต่สมัยอ.ดร.ไสว สุทธิพิทักษ์ ผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัย ซึ่งท่านเคยสมัครสส. เคยทำงานการเมืองร่วมกับอ.ปรีดีพนมยงค์ อ.ไสว ให้ยนิยาม พลเมืองว่า กำลังของเมือง เมืองจะดี อยู่ที่การปลูกฝังเรื่องการศึกษาที่มหาวิทยาลัย การร่วมมือกับสถาบันพระปกเกล้าเป้นแนวทางที่ถุกต้อง อ.ปรีดี พนมยงค์ สร้าง ม.ธรรมศาสตร์ แนวคิดของอ.ปรีดีต้องการสร้างพลเมืองด้านการศึกษา

การเลือกตั้งมีความสำคัญต่อประเทศ ปรากฏการณ์ทางสังคมที่เกิดการแตกแยก มีนัยสำคัญ รัฐประกอบด้วย ประชากร ดินแดน และอำนาจอธิปไตย ทำไมคนไทยคิดไม่เหมือนกัน เราสร้างพลเมืองอย่างไร มหาวิทยาลัย เป็นแหล่งซักซ้อมความเป็นพลเมือง ประชาธิปไตย เป็นการปกครองที่เลวน้อยที่สุด มหาวิทยาลัยจะผลิตพลเมืองออกไปให้มีคุณภาพได้อย่างไร

อ.ฐิติ เป็นการแลกเปลี่ยนความร่วมมือ เพื่อก้าวไปข้างหน้า สถาบันพระปกเกล้ามีแนวคิดในการเมืองภาคพลเมืองอย่างไร

อ.ศุภณัฐ 78 ปีที่ผ่านมาเราพัฒนาประชาธิปไตยกันมาอย่างไร ก็แลเห็นอยู่ ประชาธิปไตยอยู่ที่ไหน แนวคิดประชาธิปไตย คือ อำนาจเป็นของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชน ในระดับโรงเรียนมีการเลือกตั้งประธานนักเรียน

ประชาชน พลเมืองมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันอย่างไร เราไม่ได้เกิดมาพร้อมกับความเป็นพลเมือง แต่สามารถสร้างความเป็นพลเมืองได้ มนุษย์สนใจเรื่องใดมากเกินไปก็อาจเห็นแก่ตัวได้ แต่ตัวอย่างที่เห็นในประเทศญี่ปุ่นขณะเกิดพิบัติภัยซึนามิ ทั้งๆที่ได้รับความเดือดร้อน แต่ชาวญี่ปุ่นเข้าแถวซื้อของ รับของและไม่มีการลักขโมย แสดงให้เห็นถึงวินัยที่มีการปลูกฝังตั้งแต่วัยเรียนหรือในครอบครัว

เรามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาหากทุกคนมีจิตสำนึก มีเหตุผล รู้ว่าสิ่งใดควรทำหรือไม่ควรทำ บางคนเขาห้ามเดินลัดสนามกลับใช้วิธีวิ่งข้ามสนาม มนุษย์ส่วนใหญ่จะมีจิตสำนึกอยู่ในตัวเอง 10ส่วน ขณะที่มีจิตใต้สำนึก90ส่วนมาตั้งแต่เกิด จิตใต้สำนึกจะถูกสะสมมาเรื่อยโดยไม่รู้ตัว อาจเรียกสันดาน ทั้งสองส่วนมีความสำคัญต่อการพัฒนาความเป็นพลเมือง บางครั้งเราจำเป็นต้องเอาจิตใต้สำนึกดีๆ มาช่วยแก้ปัญหาในสังคมได้ ก็เกิดประโยชน์ได้ แต่ถ้าเอาจิตใต้สำนึกฝ่ายไม่ดีมาใช้จะเกิดปัญหา

เมื่อพลเมืองเป็นพลังสำคัญของเมือง พลเมืองจะเข้มแข็งแค่ไหนเพียงใด มีจิตสำนึก มีจิตอาสา หรือมีจิตสาธารณะเพียงใดต้องปลุกฝัง และลงมือปฏิบัติ

อ.ธานี การลดความขัดแย้ง ต้องสร้างความมีส่วนร่วม ในส่วนของนักศึกษาก็ให้น.ศ.มีส่วนร่วม ม.ธรรมศาสตร์รู้เรื่องนี้มานาน โดยสร้างกิจกรรมนักศึกษา สคอ.ก็สนับสนุน เราก็มองดู 4-5 ปี มธ.เปิดวิชากิจกรรมจิตอาสาให้หน่วยกิต มธบ.ก็สร้างวิชาจิตอาสาในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป มีการสัมมนาผุ้นำนักศึกษา อธิการบดีก็สนับสนุน เรามีคณะกกต. มีการเลือกตั้งประธานน.ศ. ชมรมต่างๆในมหาวิทยาลัยมีการประชุมกันทุกเดือน

มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์สนับสนุนการมีส่วนร่วมของชมรมต่างๆ รวมทั้งเน้นการมีวินัยและสุขภาพกาย การยอมรับความแตกต่าง สถาบันพระปกเกล้าก็เต็มที่กับเรา เปิดบทเรียนไม่ต้องมีหน่วยกิต ในการเรียนรู้ร่วมกัน มีการจัดกิจกรรมให้รู้สึกว่าทุกคนเป็นหุ้นส่วนของสังคม จะมีการทำโพล และประเมินทุกปี สำรวจความพึงพอใจ มีการเข้าร่วมทำกิจกรรมกับชุมชนรอบมหาวิทยาลัยด้วย 4 ปีที่น.ศ.อยู่กับเราน่าจะปลูกฝังอะไรได้มาก

อ.ศุภณัฐ 23-24-25 พค. 2554 จะมีการอบรมที่มธบ. การลงมือปฏิบัติเป็นเรื่องสำคัญ มากกว่าการอบรมในชั้นเรียน

รศ. ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ กล่าวต้อนรับแนวทางการพัฒนานักสึกษาของมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์สู่ความเป็นพลเมือง

การสร้างความเป็นพลเมืองแก่น.ศ.ต้องสร้างบุคลิกบางอย่างให้เกิดขึ้น คือ เรื่องของการยอมรับความแตกแตกท่ามกลางความหลากหลาย นักศึกษาต้องมีความรุ้และมีความเป็นพลเมือง ออกไปสร้างสรรค์สังคม ก่อนหน้านี้ ศูนย์สันติวิถี สถาบันพระปกเกล้า เคยมีการลงนามสร้างเครือข่ายลดความขัดแย้งในสถานศึกษากับมหาวิทยาลัยมาแล้วเมื่อเร็วๆนี้

ศ. ดร. บวรศักดิ์ อุวรรณโณ ปาฐกถาพิเศษเรื่อง “การสร้างความเป็นพลเมือง”




ศาสตราจารย์ ดร. บวรศักดิ์ อุวรรณโณ ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง การสร้างความเป็นพลเมือง

ขอขอบคุณที่ไว้วางใจสถาบัน อธิการบดีมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์เป็นกรรมการสถาบัน เป็นกก.วิชาการและเป็นกรรมการหลักสูตรของสถาบันฯ ถือเป็นความสัมพันธ์แน่นแฟ้น

ประชาชน เป็นราษฎร= subject รอผู้ปกครองสั่ง ในระบบเผด็จการ ระบอบอุปถัมภ์

พลเมืองcitizen= แตกต่างจากราษฎร





พลเมืองเกิดตั้งแต่สมัยอารยธรรมกรีก นครรัฐเอเธนส์ มีขนาดเล็ก ประชาชนในนครรัฐต้องทำหน้าที่เป็นพลเมือง คือ Citizen เป้นกำลังของเมือง อริสโตเติลที่ไม่มีส่วนร่วม คือ อมนุษย์ กับเทพ อริสโตเติล บอกมนุษย์แบ่งเป็นสอง ส่วน กาย จิต กายรักษาโรค จิต ทำหน้าที่เพื่อบ้านเมือง เน้นมากกว่าสิทธิ

1789 ในฝรั่งเศสพูดเรื่องหน้าที่ต่อรัฐ

ปัจจุบันเราต้องพูดถึงหน้าที่ที่มีต่ออาเซียน โดยต้องตระหนักถึงเรื่องความร่วมใจ การมีส่วนร่วม คุณธรรมของความเป็นพลเมือง เริ่มจากครอบครัว และสถานศึกษา ในอังกฤษและอเมริกาบังคับเรื่องพลเมืองศึกษาบ้านเราเรียนเรื่องสลน.

วันนี้ ความเป็นพลเมืองขยายความออกไปมาก มีการสร้างประชาธิปไตยชุมชน เพื่อให้ชุมชนมีความเป็นพลเมือง ดุปัญหาชุมชน ถกเถียงแล้วให้ทางราชการนำแผนไปบรรจุ เรียกประชาธิปไตยชุมชน สิ่งที่เราทำวันนี้จะเป็นรากฐานสร้างความเป้นพลเมือง สู่ความเป็นประชิปไตยที่แท้จริง เมื่อพ้นจากราษฎรเป็นพลเมือง ชุมชนจะมีความเข้มแข็ง เราจะไม่เห็นการใช้อามิสรางวัลเล็กๆน้อยๆดึงคนมาชุมนุมอีกต่อไป สำนึกความเป็นพลเมืองจะช่วยคานอำนาจระดับชาติและท้องถิ่น ดุลและคานอำนาจกับอำนาจทุนที่มีพลังมหาศาล และลดการซื้อสิทธิ์ขายเสียงในอนาคต

ขอขอบคุณท่านอธิการบดีที่เห็นความสำคัญดังกล่าว สถาบันพระปกเกล้าหวังจะได้รับความร่วมมือจากทุกท่านต่อไป

ต่อจากนั้นเป็นพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในกระบวนการสร้างความเป็นพลเมือง โดย ศ.ดร. บวรศักดิ์ อุวรรณโณ เลขาธิการ สถาบันพระปกเกล้า รศ. ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ นายศุภณัฐ เพิ่มพูนวิวัฒน์ ผศ. ดร. ธานี วรภัทร์

ความคืบหน้าการปรับปรุงทางเท้าในซอยวิภาวดีรังสิต64แยก7ฝั่งใต้

รายงาน โดย พิทยะ ศรีวัฒนสาร


เมื่อวันที่19 เมษายน 2554 ฝ่ายโยธา สำนักงานเขตหลักสี่ได้เริ่มส่งเจ้าหน้าที่เข้ามาปรับปรุงทางลาดทางเท้าภายในซอยวิภาวดีรังสิต 64 แยก7 ฝั่งใต้ และซอยเล็กข้างบ้านเลขที่ 73/2 หมู่3 วิภาวดีรังสิต64แยก7 เพื่อให้สามารถใช้งานได้ตามปกติ เนื่องจากถูกทิ้งร้างมานานกว่า 10 ปี ทำให้เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์เลื้อยคลานมีพิษหลายชนิด และถูกคุกคามความสงบสุขจากการที่มีคนมักง่ายนำขยะมูลฝอยและกิ่งไม้เข้ามาทิ้ง โดยไม่คำนึงถึงทัศนียภาพโดยรวมของชุมชน


วันที่20 เมษายน 2554 เจ้าหน้าที่ของฝ่ายโยธา สำนักงานเขตหลักสี่ได้เข้ามาปฏิบัติหน้าที่ต่อจากเมื่อวานอีกครั้ง คาดว่าภายในปลายสัปดาห์นี้หรือต้นสัปดาห์หน้าก็คงจะสามารถโรยและบดอัดหินคลุกได้ตามขั้นตอนที่กำหนดไว้


พื้นที่สาธารณะ แม้ว่าจะอยู่ไกลหูไกลตาเพียงใด หากได้รับการร้องขอจากสมาชิกของชุมชน ก็ย่อมได้รับการดูแลและทำนุบำรุงจากหน่วยงานที่รับผิดชอบเป็นอย่างดีและทัดเทียมกัน


นี่คือความซาบซึ้งใจในฐานะพลเมืองของเขตหลักสี่ครับ







วันศุกร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2554

ศิลปะในดินแดนประเทศไทย

เรียบเรียงโดย พิทยะ ศรีวัฒนสาร ตีพิมพ์ครั้งแรกในหนังสือเอกสารประกอบการสอนวิชาไทยศึกษา มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, 2549 การศึกษาประวัติศาสตร์ศิลปะในประเทศไทย นอกจากจะอาศัยผลงานและตำราของศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรีเป็นพื้นฐานแล้ว ยังมีตำราของนักวิชาการจำนวนมาก อาทิ “ศิลปะในประเทศไทย” ของศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล “ศิลปกรรมไทย” ของรองศาสตราจารย์ สงวน รอดบุญ “ประวัติศาสตร์ศิลปในประเทศไทยฉบับคู่มือนักศึกษา” ของ รองศาสตราจารย์ พิริยะ ไกรฤกษ์ “ประวัติศาสตร์ศิลปะไทย:การเริ่มต้นและการสืบเนื่องงานช่างในศาสนา” ของศาสตราจารย์ ดร. สันติ เล็กสุขุม และ“ศิลปกรรมแห่งอาณาจักรศรีอยุธยา”ของประยูร อุลุชาฏะ เป็นต้น

ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศมีความก้าวหน้ามากขึ้น การเข้าถึงความรู้ทางประวัติศาสตร์ศิลปะในประเทศไทยระดับหนึ่ง จึงสามารถสืบค้นได้จากเครือข่าย www.tkc.go.th ของศูนย์กลางความรู้แห่งชาติ (Thailand Knowledge Center-TKC)และเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ๔.๑ ความหมายของศิลปะ ลีโอ ตอลสตอย(Leo Tolstoy) กล่าวว่า ศิลปะ หมายถึง กิจกรรมซึ่งมนุษย์ตั้งใจถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกพึงพอใจยินดีจากประสบการณ์ออกมา โดยไม่คำนึงถึงอรรถประโยชน์ทางวัตถุ และช่วยยกระดับของจิตวิญญาณมนุษย์ให้สูงขึ้น[1] ตามทัศนะของตอลสตอยนั้น สิ่งที่จะจัดเป็นศิลปะได้ต้องประกอบด้วย ๓ ทฤษฎี คือ [2]

ทฤษฎีความโน้มเอียง (Tendency Theory) ระบุว่า สาระแท้จริงของศิลปะ ซึ่งตั้งอยู่บนเนื้อหาที่สื่อออกมานั้น จะต้องมีความสำคัญและมีคุณค่าต่อมนุษย์ ต้องเป็นเรื่องราวที่ดีงาม มีศีลธรรม ชี้นำสังคมได้ โดยอาจมีแรงผลักดันมาจากศาสนา ศีลธรรม สังคมหรือการเมืองก็ได้

ทฤษฎีสุนทรียศาสตร์ (Aesthetic Theory) ระบุว่า สาระสำคัญของศิลปะอยู่ที่ความงามอันน่าพึงพอใจและยินดีของรูปแบบที่ถูกสร้างสรรค์ ไม่ว่าจะเป็นภาพทิวทัศน์ ดอกไม้ ภาพเปลือยหรือท่าเต้นบัลเล่ย์ ฯลฯ

ทฤษฎีสัจนิยม (Realism Theory) ระบุว่า สาระสำคัญของศิลปะอยู่ที่การนำเสนอความจริงที่เป็นจริงและถูกต้องให้ปรากฏตามสภาพอันเที่ยงแท้

พระยาอนุมานราชธนอธิบายว่า ศิลปะ หมายถึง อารมณ์สะเทือนใจที่แสดงออกมาเป็นหนังสือ สี เสียง ท่าทางการเคลื่อนไหวที่งดงาม ทำให้ผู้อ่าน ผู้ดูหรือผู้ฟังรู้สึกเป็นอารมณ์[3]

ราชบัณฑิตยสถาน อธิบายความหมายของศิลปะอย่างสอดคล้องกับบริบททางศิลปวัฒนธรรมไทยว่า ศิลปะ หมายถึง ฝีมือหรือฝีมือทางช่าง หรือการแสดงออกซึ่งอารมณ์สะเทือนใจให้ประจักษ์ โดยหมายถึงวิจิตรศิลป์[4] และอธิบายว่า “วิจิตร” แปลว่า “งามหยดย้อย”[5]

อย่างไรก็ดี ศูนย์กลางความรู้แห่งชาติได้อธิบายคุณสมบัติของศิลปะอย่างน่าสนใจ โดยเห็นว่าการที่นักปราชญ์ยุคคลาสสิคของกรีกชี้ว่า “ศิลปะเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น”นั้นไม่น่าจะเพียงพอ มิฉะนั้นไม่ว่าใครจะสร้างอะไรขึ้นมา ก็จะถือเอาว่าผลงานของผู้นั้นเป็นศิลปะทั้งหมด สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นจะถือว่าเป็นศิลปะได้นั้นต้องประกอบด้วยคุณสมบัติ ๕ ประการ ดังนี้[6]

๑.มีความงามที่เกี่ยวข้องกับรสนิยมของแต่ละคน เชื้อชาติ วัฒนธรรม หรือยุคสมัย ซึ่งจะไม่แน่นอนตายตัว รวมถึงความงามที่มีลักษณะเป็นสากล ได้แก่ รูปเปลือยของกรีกยุคคลาสสิค ภาพรอยยิ้มมีเสน่ห์ของโมนาลิซา แต่ความงามบางอย่างก็มิได้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความสวย อาทิ ภาพรองเท้าของวินเซนต์ แวนโก๊ะ(Vincent van Gogh) เป็นต้น

๒.มีอารมณ์สะเทือนใจ ศิลปะที่สามารถแสดงความงามได้อย่างทรงพลังมักจะให้อารมณ์สะเทือนใจ ความสะเทือนใจรวมถึงอารมณ์อันเกิดจากความเศร้าโศก เสียใจและยินดี

๓.มีแนวคิดและ/หรือมีความคิดสร้างสรรค์ งานศิลปะที่ดีจะต้องมีความคิดที่ดีด้วย ศิลปะในอดีตและศิลปะร่วมสมัยบางประเภท อาจเน้นความงามเป็นหลักและมีความคิดสร้างสรรค์เป็นรอง แต่แนวโน้มทั้งของศิลปะนานาชาติจะให้ความสำคัญกับแนวคิดและความคิดสร้างสรรค์มากขึ้น จนบางครั้งอาจละเลยฝีมือและความงาม

๔.มีทักษะฝีมือเป็นคุณสมบัติพื้นฐานของศิลปะ แม้บางยุคจะไม่เน้นฝีมือช่างเพื่อสร้างความเหมือนและความสวยงาม อาทิ ศิลปะแนวสำแดงอารมณ์(Expressionism) แต่ศิลปินก็สามารถแสดงออกทางอารมณ์ด้วยการปาดป้ายฝีแปรงให้เป็นภาพที่ตนต้องการ

๕.มีความพิเศษเฉพาะตัว เมื่อศิลปินมีทักษะฝีมือ มีความคิดสร้างสรรค์และความพิเศษเฉพาะตัวก็สามารถสร้างความแปลกใหม่ออกมาอย่างโดดเด่นได้ ๔.๒ ศิลปะก่อนสมัยอารยธรรมไทย ๔.๒.๑ ศิลปะวัตถุรุ่นเก่า ศิลปะวัตถุรุ่นเก่าหมายถึงโบราณวัตถุขนาดเล็กจำนวนหนึ่งซึ่งถูกนำเข้ามายังดินแดนในประเทศไทยโดยพ่อค้าหรือนักบวชชาวต่างชาติ และพบในพื้นที่ต่างๆ เช่น ที่เมืองโบราณพงตึก อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี ที่ตำบลเวียงสระ อ.นาสาร จ.สุราษฎร์ธานีและในเมืองพระนครศรีอยุธยา กำหนดอายุอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๖–๑๕ ตะเกียงโรมันสำริด ตะเกียงโรมันสำริด สูง ๒๗ เซนติเมตร พบที่เมืองโบราณพงตึก ฝาตะเกียงทำเป็นรูปเทพเจ้าซีเลนัส(Silenus) ตำนานกล่าวว่าเทพเจ้าองค์นี้ทรงเป็นโอรสแห่งแผ่นดินของชาวกรีก ลักษณะของด้ามจับทำเป็นรูปใบปาล์ม โคนด้ามทำเป็นรูปปลาโลมาหันหน้าหากัน สัณนิษฐานว่าอาจหล่อขึ้นที่เมืองอเล็กซานเดรีย เมืองท่าศูนย์กลางทางการค้าของอาณาจักรอียิปต์ยุคปลายก่อนพุทธศตวรรษที่ ๖ (รูปที่๑) รูปที่๑ ๔.๒.๒ ศิลปะเทวรูปรุ่นเก่า ศิลปะเทวรูปรุ่นเก่าเป็นศิลปะสร้างขึ้นเนื่องในศาสนาฮินดูลัทธิไศวนิกายหรือลัทธิไวษณพนิกาย แพร่กระจายตามชุมชนโบราณชายฝั่งทะเลทางภาคใต้และเมืองโบราณร่วมสมัยกับศิลปะทวารวดีในภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในภาคใต้ ศิลปะแบบเทวรูปรุ่นเก่าพบมากในพื้นที่ของจังหวัดสุราษฎร์ธานี พังงาและนครศรีธรรมราช ภาคเหนือตอนล่างพบที่เมืองศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์ ภาคตะวันออกพบที่เมืองศรีมโหสถ อ.ศรีมโหสถ จ.ปราจีนบุรี กำหนดอายุอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๙-๑๔

เอกมุขลึงค์ พบที่ อ.ท่าชนะ จ.สุราษฏร์ธานี สูง ๑.๐๙ เมตร เอกมุขลึงค์ที่พบแบ่งออกเป็น ๓ ส่วน คือ ส่วนฐานรูปสี่เหลี่ยม เรียกว่า พรหมภาค หมายถึง พระพรหม ส่วนกลางรูปแปดเหลี่ยม เรียกว่า วิษณุภาค หมายถึง พระวิษณุ และส่วนยอดรูปทรงกระบอกปลายมน เรียกว่า รุทรภาค หมายถึง พระอิศวร รูปพระจันทร์เสี้ยวด้านพระเศียรของพระอิศวรที่ส่วนรุทรภาค ชี้ให้เห็นถึงการได้รับอิทธิพลจากศิลปะคุปตะในพุทธศตวรรษที่ ๑๑-๑๒ [7] (รูปที่ ๒) รูปที่๒ ๔.๒.๓ ศิลปะทวารวดี ศิลปะทวารวดี หมายถึง ศิลปะเนื่องในศาสนาพุทธนิกายหินยานและมหายานที่แพร่หลายในพื้นที่ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือและภาคใต้ของประเทศไทยระหว่างพุทธศตวรรษที่๑๒–๑๖

ในภาคกลางศิลปะทวารวดีพบที่เมืองจันเสน เมืองโคกไม้เดน จ.นครสวรรค์ เมืองคูบัว จ.ราชบุรี เมืองอู่ทอง จ.สุพรรณบุรี เมืองพงตึก จ.กาญจนบุรี เป็นต้น ภาคใต้พบที่ จ.สุราษฎร์ธานี ภาคตะวันออก พบที่เมืองศรีมโหสถ เมืองโคกขวาง จ.ปราจีนบุรี เมืองดงละคร จ.นครนายก เมืองพระรถ เมืองพนัสนิคม จ.ชลบุรี ฯลฯ ภาคเหนือพบที่เมืองหริภุญชัย จ.ลำพูน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบที่เมืองฟ้าแดดสงยาง จ.กาฬสินธุ์ บ้านฝ้าย อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์ เมืองเสมา อ.สูงเนิน จ.นครราชสีมา ฯลฯ พระพุทธรูปปางประทานพร พบที่วัดรอ จ.พระนครศรีอยุธยา ศิลาสูง๑.๔๗เมตร อิทธิพลศิลปะอินเดียสมัยคุปตะและหลังคุปตะ คือ ห่มจีวรบางแนบองค์เหมือนผ้าเปียกน้ำ แม้พระพักตร์ยังคล้ายศิลปะอินเดียอยู่แต่ก็ประทับยืนตรงและพระพักตร์มีลักษณะเป็นพื้นเมืองแล้ว (รูปที่ ๓) รูปที่๓ ๔.๒.๔ ศิลปะลพบุรี ศิลปะลพบุรีหรือเรียกว่า “ศิลปะขอม” หมายถึง รูปแบบศิลปะที่แพร่กระจายในพื้นที่ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทย โดยได้รับแรงบันดาลใจและคติทางประติมานวิทยามาจากอาณาจักรกัมพูชา ซึ่งส่งผ่านมาจากอินเดียอีกชั้นหนึ่ง อิทธิพลของศิลปะลพบุรีผสมผสานในศิลปะที่พบในดินแดนประเทศไทยตั้งแต่พุทธศตวรรษที่๑๒ จนถึงสมัยอยุธยาตอนต้น

แนวคิดเกี่ยวกับศิลปะลพบุรีก่อตัวในตอนปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดย พันตรี ลูเนต์ เดอ ลาจองกิแยร์ (Lunet de Lajonguiêre) เรียกศิลปะซึ่งมีลักษณะคล้ายกับศิลปะในประเทศกัมพูชาว่า“ศิลปะเขมร” แต่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพและศาสตราจารย์ ยอร์ช เซเดส์เรียกว่า “ศิลปะลพบุรี” เพราะเมืองลพบุรีเป็นเมืองสำคัญในช่วงที่อาณาจักรกัมพูชาเคยแผ่อิทธิพลเข้ามา[8] และศาสตราจารย์ หม่อมเจ้า สุภัทรดิศ ดิศกุล ทรงอธิบายว่า “ศิลปะลพบุรี” หมายถึง โบราณวัตถุโบราณสถานเขมรที่ค้นพบในประเทศไทยรวมทั้งศิลปะที่สร้างเลียนแบบระหว่างพุทธศตวรรษที่๑๒-๒๐ อย่างไรก็ดี ศาสตราจารย์ ดอกเตอร์ หม่อมราชวงศ์ สุริยวุฒิ สุขสวัสดิ์เสนอว่า ดินแดนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งถูกเรียกว่าดินแดน“นอกกัมพุชเทศ”นั้น หมายถึง ดินแดนที่อยู่นอกเขตอิทธิพลของอาณาจักรกัมพูชา ศิลปะในดินแดนแถบนี้จึงมิใช่ศิลปะเขมรแท้ๆ และบางครั้งศิลปะในดินแดนประเทศไทยยังส่งอิทธิพลให้แก่ศิลปะเขมรด้วย จึงควรเรียกว่า “ศิลปะร่วมแบบเขมรในประเทศไทย” ประติมากรรม พระพุทธรูปนาคปรกทรงเครื่อง พบที่วัดหน้าพระเมรุ จ.พระนครศรีอยุธยา สูง ๑๘๐ เซนติเมตร ลักษณะพระพักตร์เป็นรูปสี่เหลี่ยม แสดงกิริยาการเคร่งขรึม พระขนง(คิ้ว)เป็นเส้นตรง ทรงจีวรบางมาก แลเห็นจีวรที่พระนาภีและข้อพระบาทเท่านั้น จัดอยู่ในศิลปะแบบบาปวนต่อนครวัด กำหนดอายุอยู่ในพุทธศตวรรษที่ ๑๗ (รูปที่ ๔) รูปที่ ๔ สถาปัตยกรรม สถาปัตยกรรมศิลปะลพบุรี ได้แก่ เทวาลัยประจำชุมชนหรือเทวสถาน (ปราสาทหิน) ธรรมศาลา(ที่พักคนเดินทาง) และอโรคยศาลา(โรงพยาบาล) เทวาลัยประจำชุมชนบนพื้นราบ ได้แก่ ปราสาทเมืองต่ำ จ.บุรีรัมย์ ปราสาทหินพิมาย จ.นครราชสีมา ปราสาทศีขรภูมิ จ.สุรินทร์ ฯลฯ และเทวาลัยบนภูเขา ได้แก่ ปราสาทเขาพนมรุ้ง จ.บุรีรัมย์ ปราสาทเขาน้อย จ.สระแก้ว เป็นต้น

เทวาลัยหรือปราสาทหินที่พบในประเทศไทย มีวัตถุประสงค์ในการสร้างเพื่อประดิษฐานเทวราชาหรือเทวรูปที่สร้างขึ้นเพื่ออุทิศถวายแด่บรรพบุรุษตามความเชื่อในศาสนาฮินดู จนถึงประมาณพุทธศตวรรษที่๑๗ พระเจ้าชัยวรมันที่๖(พ.ศ.๑๖๕๑–๑๖๕๕)ผู้ทรงสนับสนุนศาสนาพุทธนิกายมหายาน จึงโปรดฯให้สร้างปราสาทหินพิมายซึ่งมีภาพแกะสลักที่เกี่ยวเนื่องทั้งเรื่องราวในศาสนาพุทธนิกายมหายานและศาสนาฮินดู ครั้นถึงรัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่๗ (พ.ศ.๑๗๒๔–ประมาณพ.ศ.๑๗๖๓) มีการสร้างสถาปัตยกรรมแบบใหม่ คือ อโรคยศาลาและธรรมศาลาซึ่งเกี่ยวข้องกับศาสนาพุทธนิกายมหายานอย่างชัดเจน สถาปัตยกรรมสำคัญในศิลปะลพบุรี อาทิ ปราสาทพนมรุ้ง

ปราสาทพนมรุ้ง(รูปที่ ๕) อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.บุรีรัมย์ เป็นปราสาทหินทรายสีชมพูขนาดใหญ่บนยอดเขาพนมรุ้ง ตั้งระหว่างเส้นทางจากเมืองพระนครในอาณาจักรกัมพูชามายังเมืองพิมาย เขาพนมรุ้งเป็นภูเขาไฟที่ดับแล้ว ปากปล่องภูเขาไฟปัจจุบันมีสภาพเป็นสระน้ำที่เชิงเขาด้านล่าง คำว่า “พนมรุ้ง” มาจากภาษาเขมรว่า “วนํมรุง” แปลว่า“ภูเขาอันกว้างใหญ่” [9] ศิลาจารึกที่พบบ่งชี้ว่า พระเจ้านเรนทราทิตย์พระญาติของพระเจ้าสุริยวรมันที่๒ (พ.ศ.๑๖๕๖–หลังพ.ศ.๑๖๘๘) อาจทรงเป็นผู้สร้างปราสาทพนมรุ้ง ภาพจำหลักบนทับหลังด้านหน้าครรภคฤหะ(ห้อง)ของปรางค์ประธานถูกสร้างขึ้นตามความเชื่อในลัทธิปศุปตะของศาสนาฮินดูแบบไศวนิกาย รูปฤาษี ๕ ตนหมายถึง พระอิศวรขณะทรงพรตเป็นพระฤาษี แต่รูปจำหลักอื่นๆ อาทิ ทับหลังรูปนารายณ์บรรทมสินธุ์และรูปวิษณุตรีวิกรม ฯลฯ ก็แสดงถึงความเกี่ยวข้องกับศาสนาฮินดูแบบไวษณพนิกาย ลวดลายจำหลักที่ปรากฏจัดอยู่ในศิลปะลพบุรีร่วมสมัยกับศิลปะนครวัดของอาณาจักรกัมพูชา(พ.ศ.๑๖๕๐–๑๗๑๕) รูปที่ ๕ ๔.๒.๕ ศิลปะศรีวิชัย ศิลปะศรีวิชัย หมายถึง ศิลปะที่สร้างขึ้นในภาคใต้ของประเทศไทยระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๓–๑๙ ศิลปะศรีวิชัยได้รับอิทธิพลศิลปะอินเดียทั้งแบบคุปตะ แบบหลังคุปตะ และแบบปาละ-เสนะ ตามลำดับ โบราณวัตถุบางชิ้นของศิลปะศรีวิชัยมีลักษณะคล้ายกับศิลปะวัตถุที่พบในชวาภาคกลางมาก[10] บางท่านเสนอว่าควรเรียก “ศิลปะทักษิณหรือศิลปะในคาบสมุทรภาคใต้ของประเทศไทย” เพราะหลักฐานที่พบแต่ละชิ้นมีลักษณะแตกต่างกันมากแล้วแต่จะได้รับอิทธิพลศิลปะใด[11] ศิลปะแบบศรีวิชัยจำแนกเป็น ประติมากรรมและสถาปัตยกรรม ดังนี้

ประติมากรรม พระโพธิสัตว์ปัทมปาณีในรูปของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร สำริด สูง ๖๓ เซนติเมตร อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๓-๑๔ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงค้นพบที่อ.ไชยา สุราษฎร์ธานีเมื่อ พ.ศ.๒๔๔๘ ลักษณะชำรุดเหลือเพียงครึ่งท่อนบนประทับยืนตริภังค์ หนังกวางที่ทรงห่มบ่งชี้ว่าเป็นรูปของพระอวโลกิเตศวร พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรทรงเป็นพระโพธิสัตว์ในพุทธศาสนานิกายมหายาน ทรงกำเนิดจากพระอมิตาภะพุทธเจ้า จึงมีรูปพระอมิตาภะประทับปางสมาธิที่มวยผมหรือศิราภรณ์ ในประเทศจีนพระอวโลกิเตศวรเป็นหญิง คือ เจ้าแม่กวนอิม ชายาของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร คือ นางดารา [12] (รูปที่ ๖) รูปที่ ๖ สถาปัตยกรรม

ระยะแรก เจดีย์หรือสถูปทรงมณฑปที่สร้างเนื่องในศาสนาพุทธนิกายมหายาน อายุราวพุทธศตวรรษที่๑๓-๑๕ ลักษณะคล้าย“จันทิ”ในเกาะชวาภาคกลาง(อินโดนีเซีย) หรือคล้ายปราสาทจามที่เมืองฮัวไลและโบราณสถานศิลปะขอมสมัยกุเลน(รูปที่ ๗)

ระยะที่๒ ระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๖-๑๗ ไม่พบหลักฐานสถาปัตยกรรม แต่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๘-๑๙ พบร่องรอยสถาปัตยกรรมถูกสร้างพอกทับด้านนอกด้วยเจดีย์ที่ได้รับอิทธิพลตามความเชื่อของศาสนาพุทธนิกายหินยานแบบลังกาวงศ์ รูปที่ ๗ ๔.๓ ศิลปะสมัยอารยธรรมไทย ๔.๓.๑ ศิลปะหริภุญชัยและล้านนา ศิลปะหริภุญชัยและล้านนา หมายถึง ศิลปะที่พบในดินแดนล้านนาซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ ๘ จังหวัดของภาคเหนือตอนบนระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๔–๒๓ ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา ลำพู ลำปาง แพร่ น่าน และแม่ฮ่องสอน อาณาจักรล้านนามีศูนย์กลาง คือ เมืองนพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ.๑๘๓๙ โดยพระเจ้ามังราย ตำนานกล่าวว่าอาณาจักรล้านนามีพัฒนาการมาตั้งแต่สมัยพญาลวจกราชแห่งเมืองหิรัญนครเงินยาง(เชียงแสน)เมื่อ พ.ศ.๑๑๘๑[13] ดินแดนล้านนาประกอบด้วย

แคว้นหริภุญชัย ก่อตั้งเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๓-๑๔ มีศูนย์กลางอยู่ในเขตจังหวัดลำพูนและจังหวัดลำปาง ศาสตราจารย์ ดร.สันติ เล็กสุขุมเชื่อว่า ศิลปะหริภุญชัยมีความสัมพันธ์กับศิลปะร่วมสมัยในภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมถึงศิลปะมอญและศิลปะพุกาม [14]

แคว้นโยนก ตั้งอยู่ในเขตจังหวัดเชียงราย มีแม่น้ำกก แม่น้ำลาว แม่น้ำสายและแม่น้ำโขงไหลผ่าน และมีตำนานเล่าขานสืบมา เช่น ตำนานสุวรรณโคมคำและตำนานสิงหนวัติกุมาร เป็นต้น แคว้นโยนกมีอายุในช่วงก่อนพุทธศตวรรษที่ ๑๙

แคว้นน่าน ตั้งอยู่ในเขตจังหวัดน่าน มีแม่น้ำน่านไหลผ่าน ศูนย์กลางของแคว้นน่านอยู่ที่เมืองปัวหรือพลั่วหรือ“วรนคร” มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับแคว้นหลวงพระบางและแคว้นสุโขทัย สินค้าสำคัญ คือ เกลือสินเธาว์ แคว้นน่านถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของแคว้นล้านนาในพุทธศตวรรษที่ ๒๑ ศิลปะล้านนา จำแนกเป็น ประติมากรรม สถาปัตยกรรม และจิตรกรรม ดังนี้

ประติมากรรม จำแนกเป็น ๓ กลุ่มใหญ่ ดังนี้

กลุ่มที่ ๑ เรียกว่า พระพุทธรูปศิลปะล้านนารุ่นแรกหรือที่เรียกว่า “พระพุทธรูป เชียงแสนรุ่นที่๑“ หรือ “สิงห์๑“ พบมากในเมืองเชียงแสนเชื่อว่ามีอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๖-๑๘ พบทั่วไปในเมืองเชียงใหม่ บางองค์มีจารึกระบุปีสร้างประมาณพุทธศตวรรษที่ ๒๑ ลักษณะของประติมากรรมคล้ายศิลปะปาละของอินเดียซึ่งถ่ายทอดมาจากศิลปะพุกาม พระรัศมีดอกบัวตูม เม็ดพระศกใหญ่รูปก้นหอย พระหนุ(คาง)เป็นปม อมยิ้ม อวบอ้วน พระอุระ(อก)นูน ชายสังฆาฏิ(จีวรสั้น)มีปลายเป็นรูปเขี้ยวตะขาบ ฐานบัวหงายบัวคว่ำมีเกสร ประทับนั่งแสดงปางมารวิชัย ขัดสมาธิเพชร(รูปที่ ๘)

กลุ่มที่๒ เรียกว่าพระพุทธรูปล้านนาตอนปลาย หรือ “พระพุทธรูปเชียงแสนรุ่นที่๒“ หรือ “สิงห์๒“ หรือเรียกว่า “พระพุทธรูปแบบเชียงใหม่” ได้รับอิทธิพลศิลปะสุโขทัยเข้ามาผสมผสานจากการที่พระสุมนะเถระขึ้นไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ที่แคว้นน่าน เชียงใหม่และลำพูนเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ ๒๐-๒๑ พุทธลักษณะประกอบด้วยพระรัศมีรูปเปลวไฟ ขมวดพระขนาดเกศาเล็ก พระพักตร์รูปไข่ ชายจีวรยาวถึงพระนาภี นิยมทำปางขัดสมาธิราบ และปางต่างๆ อาทิ ปางอุ้มบาตรและปางไสยาสน์ และนิยมสร้างพระพุทธรูปจากแก้วสีและหินผลึก

กลุ่มที่๓ พระพุทธรูปล้านนา หลังช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๑ ศาสนาและศิลปกรรมรุ่งเรืองมีการปฏิสังขรณ์วัดและสร้างพระพุทธรูปมาก นิยมจารึกข้อความอุทิศส่วนกุศลและนิยมสร้างพระพุทธรูปแบบเชียงแสน๑อีกครั้ง เมืองลำปาง พะเยา ฝาง นิยมสร้างพระพุทธรูปที่มีลักษณะร่วมกันคือ มีไรพระศกคล้ายกัน แต่ลักษณะพระพักตร์และวัสดุต่างกัน เช่น พะเยานิยมสร้างพระพุทธรูปหินทรายบนฐานสูง มีภาพประกอบฐาน หลังพุทธศตวรรษที่๒๒ เกิดความระส่ำระสาย ในอาณาจักรล้านนา ศิลปะการสร้างพระพุทธรูปมีความแตกต่างหลากหลายทำให้ศิลปะที่สร้างขึ้นในช่วงนี้ขาดอัตลักษณ์ (Identity) รูปที่ ๘ สถาปัตยกรรม สถาปัตยกรรมล้านนาระยะแรก พัฒนาขึ้นมาจากการผสมผสานรูปแบบของศิลปะหริภุญชัยและศิลปะพุกามแล้วจึงพัฒนารูปแบบของตนเองในช่วงพุทธศตวรรษที่๑๙ จำแนกเป็น ๒ รูปแบบ คือ

เจดีย์ทรงระฆัง มีฐานสี่เหลี่ยมยกเก็จ เหนือขึ้นไปเป็นชุดฐานบัวในผังทรงกลมซ้อนกัน๓ชั้น เหนือชุดฐานบัวในผังทรงกลมเป็นฐานลูกแก้วอกไก่ซ้อน ๓ ชั้น ถัดขึ้นไปเป็นองค์ระฆังและบัลลังก์ย่อมุม ถัดไปเป็นก้านฉัตร ปล้องไฉน และปลียอดตามลำดับ ทำให้มีรูปทรงเพรียวและแพร่หลายมาก ได้แก่ เจดีย์พระธาตุหริภุญชัย เจดีย์วัดพระบวช เชียงแสน ในสมัยพระเจ้าติโลกราช[15] (รูปที่ ๙)

เจดีย์ทรงปราสาท ลักษณะสำคัญคือเป็นเจดีย์ที่มีเรือนธาตุเป็นแผนผังรูปสี่เหลี่ยม ที่เรือนธาตุมีซุ้มจระนำสำหรับประดิษฐานพระพุทธรูป เหนือขึ้นไปเป็นชุดหลังคาลาดและองค์ระฆัง ได้รับอิทธิพลของสถาปัตยกรรมหริภุญชัย โดยมีเจดีย์วัดกู่กุด(วัดจามเทวี) เป็นต้นแบบ เจดีย์ทรงปราสาทที่สำคัญ ได้แก่ เจดีย์วัดป่าสัก อ.เชียงแสน จ.เชียงราย ลักษณะเด่นคือ เปลี่ยนจากหลังคาลดชั้นในเจดีย์กู่กุดเป็นชั้นหลังคาลาดขึ้นไป ถือเป็นลักษณะเฉพาะของเจดีย์แบบล้านนาอย่างหนึ่ง รูปที่ ๙ จิตรกรรม จิตรกรรมในศิลปะล้านนาหลงเหลือค่อนข้างน้อย จิตรกรรมล้านนาเก่าแก่ที่สุด คือ จิตรกรรมฝาผนังในกรุเจดีย์วัดอุโมงค์เถรจันทร์เมืองเชียงใหม่ ลักษณะเป็นจิตรกรรมเรื่อง พระอดีตพุทธเจ้า ๒๔องค์ อายุราวพุทธศตวรรษที่๒๐[16] ซึ่งสัมพันธ์กับศิลปะสุโขทัยและศิลปะอยุธยาตอนต้น ต่อมาในพุทธศตวรรษที่ ๒๑–๒๒ ศิลปะล้านนานิยมเขียนภาพพระบฏเหตุการณ์ตอนพระพุทธเจ้าเสด็จลงจากดาวดึงส์ ด้วยสีพหุรงค์ เช่น สีเขียว น้ำเงิน เหลือง ขาว แดงและดำ โดยเฉพาะภาพพระพุทธเจ้านั้นนิยมปิดทองและตัดเส้นด้วยสีแดงและดำ[17]

จิตรกรรมศิลปะล้านนาที่เหลือส่วนใหญ่เขียนขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ ได้แก่ จิตรกรรมที่วิหารลายคำ วัดพระสิงห์ จ.เชียงใหม่ เขียนลวดลายด้วยเทคนิคลายทองพื้นแดงฉลุกระดาษ และเทคนิคจิตรกรรมสีฝุ่นเรื่องสังข์ทอง(ทิศเหนือ) สุวรรณหงส์(ทิศใต้)และรูปพระอดีตพุทธเจ้า(ส่วนบนของผนังห้องท้ายวิหารด้านเหนือ)[18] จิตรกรรมวัดภูมินทร์ จ.น่าน(รูปที่ ๑๐) เขียนภาพจากปัญญาสชาดก อาทิ ชาดกเรื่องคันธนะกุมมาน [19] เป็นต้น รูปที่ ๑๐ ๔.๓.๒ ศิลปะสุโขทัย ศิลปะสุโขทัย หมายถึง ศิลปะที่แพร่กระจายอยู่ในเขตภาคเหนือตอนล่างระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๘-๒๐ โดยมีเมืองสุโขทัยเป็นราชธานี ศิลปะสุโขทัยมีลักษณะสำคัญ ดังนี้

ประติมากรรม สมัยสุโขทัยนิยมสร้างพระพุทธรูป ๔ พระอิริยบถ คือ ปางประทับนั่ง ปางประทับยืน ปางลีลาและปางไสยาสน์ พุทธลักษณะทั่วไปของพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย คือ มีพระอังสา(บ่า)ใหญ่ บั้นพระองค์(เอว)เล็ก พระพักตร์เป็นรูปไข่ พระโอษฐ์อมยิ้ม พระขนงโก่ง พระนาสิกโด่ง เม็ดพระศกคล้ายก้นหอย พระรัศมีเป็นเปลวไฟ ฐานเป็นรูปหน้ากระดานเรียบๆ ชายจีวรยาวทำเป็นรูปเขี้ยวตะขาบ จำแนกออกเป็น ๔ หมวด ดังนี้

๑) หมวดใหญ่ /หมวดทั่วไป/ หมวดคลาสสิก พระพักตร์รูปไข่ พระโอษฐ์อมยิ้ม พระขนงโก่ง พระนาสิกโด่ง พระรัศมีเป็นเปลวไฟ พระอังสาใหญ่ บั้นพระองค์เล็ก ขมวดพระเกศาเวียนขวาเป็นก้นหอย ชายสังฆาฏิเป็นรูปเขี้ยวตะขาบ (รูปที่ ๑๑) ๒) หมวดพระพุทธชินราช พระพักตร์ค่อนข้างกลม พระหัตถ์ทั้ง๔ ยาวเสมอกัน ๓) หมวดวัดตะกวนหรือหมวดเบ็ดเตล็ด มีลักษณะของพระพุทธรูปล้านนาและลังกาเข้ามาผสมผสาน พบที่วัดตะกวนเป็นแห่งแรก ต่อมาพบที่วัดพระพายหลวง ฯลฯ ๔) หมวดกำแพงเพชร ลักษณะคล้ายหมวดใหญ่ พระนลาฏ(หน้าผาก)กว้าง พระหนุ(คาง)ค่อนข้างแหลม รูปที่ ๑๑

นอกจากการนับถือศาสนาพุทธนิกายลังกาวงศ์แล้ว ชาวสุโขทัยยังนับถือศาสนาพราหมณ์หรือฮินดู ศิลาจารึกวัดป่ามะม่วงแผ่นที่๔ ด้านที่๑บรรทัด๕๑-๕๔ กล่าวถึงเหตุการณ์ในรัชสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชาลิไทว่า “ปีฉลู ณ วันศุกร ขึ้น...ค่ำ เดือน๘ บูรพาษาฒนักขัตฤกษ์ เวลารุ่งเช้า เมื่อเสด็จประดิษฐานรูปพระมเหศวร พระวิษณุ ไว้ในหอเทวาลัยมหาเกษตร ในป่ามะม่วงนี้...ดาบสพราหมณ์ทั้งหลายบูชาเป็นนิตย์” (รูปที่ ๑๒) รูปที่ ๑๒ สถาปัตยกรรม

สถาปัตยกรรมสมัยสุโขทัยจำแนกเป็น เจดีย์ พระปรางค์และวิหาร เจดีย์สมัยสุโขทัย จำแนกเป็น เจดีย์ทรงลังกาซึ่งสร้างตามแบบอย่างศิลปะลังกา ได้แก่ เจดีย์ วัดช้างล้อม อ.ศรีสัชนาลัย จ. สุโขทัย เจดีย์ทรงปราสาทอิทธิพลของศิลปะพุกามที่วัดเจดีย์เจ็ดแถว อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย [20] และเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ที่วัดมหาธาตุ อ.เมือง จ.สุโขทัย ซึ่งช่างพัฒนามาเป็นศิลปะของสุโขทัยอย่างแท้จริง (รูปที่ ๑๓)

พระปรางค์ในศิลปะสุโขทัยเป็นสถาปัตยกรรมที่ได้รับอิทธิพลทางจากศิลปะเขมร แต่มีรูปทรงที่ค่อนข้างสูงและเพรียวกว่า ได้แก่ พระปรางค์วัดศรีสวายและวัดพระพายหลวง เป็นต้น

วิหารในสถาปัตยกรรมแบบสุโขทัย ได้แก่ วิหารพระอจนะวัดศรีชุม ซึ่งเป็นวิหารทรงมณฑปขนาดใหญ่ ก่อครอบพระพุทธรูปประทับนั่งแสดงปางมารวิชัย รูปแบบสถาปัตยกรรมได้รับอิทธิพลศิลปะลังกาแบบโปลนนารุวะ ภายในวิหารมีอุโมงค์สามารถเดินขึ้นไปถึงพระพาหาพระพุทธรูป พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยากล่าวว่า สมเด็จพระนเรศวรเคยเสด็จฯมาพักทัพและได้ยินเสียงพระพุทธรูปพูดได้ พระราชพงศาวดารเรียกวัดนี้ว่า “วัดฤษีชุม” แต่ชื่อเดิมน่าจะเป็น “ศรี-ชุม” ซึ่งออกเสียงว่า “สะหลี-ชุม” แปลว่าต้นโพธิ์มาก มีการค้นพบภาพจำหลักเล่าเรื่องพุทธชาดกภายในอุโมงค์ของพระมณฑปที่วัดแห่งนี้ด้วย รูปที่ ๑๓ ๔.๒.๘ ศิลปะอู่ทอง ศิลปะอู่ทอง หมายถึง ศิลปะก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยาระหว่างพุทธศตวรรษที่๑๗-๑๙ พบมากในเขตเมืองโบราณอู่ทอง อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรีและปริมณฑล ผลการขุดค้นทางโบราณคดีของศาสตราจารย์ชอง บวสเซอลิเยร์(Jean Boiselier)ระบุว่า เมืองอู่ทองร้างก่อนตั้งกรุงศรีอยุธยาเกือบ ๓๐๐ ปี จึงไม่ควรเรียกศิลปะที่พบในเขตเมืองอู่ทองและปริมณฑลว่า “ศิลปะอู่ทอง” เพราะเป็นสกุลช่างทางศิลปะที่มีสืบเนื่องมาถึงสมัยอยุธยาตอนต้น นักวิชาการบางท่านเสนอให้เรียกว่า “ศิลปะอโยธยา” [21]เพราะเชื่อว่ามีเมืองอโยธยาทางทิศตะวันออกของเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยา[22] และมีผู้เสนอให้ศิลปะอู่ทองว่า “ศิลปะสกุลช่างสุพรรณบุรี-สรรค์บุรี” [23]

ประติมากรรม พระพุทธรูปศิลปะอู่ทองจำแนกเป็น ๓ รูปแบบ ดังนี้ แบบอู่ทองA อิทธิพลศิลปะทวารวดีและศิลปะร่วมแบบเขมรในประเทศไทยผสม ผสานกัน อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๗-๑๘ พระรัศมีดอกบัวตูม พระพักตร์และจีวรคล้ายพระ พุทธรูปแบบทวารวดีแต่ค่อนข้างเหลี่ยมและมีไรพระศก ฐานหน้ากระดานแอ่นเข้าใน (รูปที่ ๑๔) แบบอู่ทองB อิทธิพลของศิลปะร่วมแบบเขมรในประเทศไทยมากขึ้น พระรัศมีเป็น เปลวไฟ อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๘-๑๙ ลักษณะฐานหน้ากระดานแอ่นเข้าใน แบบอู่ทองC อิทธิพลศิลปะสุโขทัยปะปนมาก แต่มีไรพระศก ฐานหน้ากระดาน แอ่นเป็นร่องเข้าข้างใน อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๙-๒๐ พบมากที่กรุวัดราชบูรณะ รูปที่ ๑๔

สถาปัตยกรรม นักวิชาการกล่าวถึงนิยามของสถาปัตยกรรมแบบอู่ทองค่อนข้างจะไม่ชัดเจนนัก ไม่ว่าจะในตำราของศาสตราจารย์ หม่อมเจ้า สุภัทรดิศ ดิศกุล ศาสตราจารย์ สันติ เล็กสุขุมและรองศาสตราจารย์ สงวน รอดบุญ เนื่องจากยังมีข้อถกเถียงทางวิชาการ


ประยูร อุลุชาฏะเสนอชัดเจนว่า เจดีย์สมัยอโยธยามีทั้งสิ้น ๖ รูปแบบ[24]


อย่างไรก็ดี สถาปัตยกรรมที่นักวิชาการยอมรับว่า สร้างขึ้นร่วมสมัยกับศิลปะอู่ทอง ได้แก่ พระปรางค์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.ลพบุรี ซึ่งศาสตราจารย์ ชอง บวสเซอลิเยร์เสนอว่า เป็นพระปรางค์องค์แรกในศิลปะไทยที่ยังมีทับหลังศิลาทรายจำหลักตามแบบอย่างศิลปะลพบุรีอยู่ (รูปที่ ๑๕) รูปที่๑๕ ๔.๓.๔ ศิลปะอยุธยา ศิลปะอยุธยาเป็นศิลปะในดินแดนประเทศไทยแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างระหว่าง พ.ศ.๑๘๙๓-๒๓๑๐ หลักฐานที่ใช้ในการศึกษาศิลปะสมัยอยุธยา ประกอบด้วยโบราณวัตถุ โบราณสถานและเอกสารจำนวนหนึ่ง รวมถึงผลงานการศึกษาค้นคว้าและตำราของนักวิชาการทั้งหลาย อาทิ ประยูร อุลุชาฏะ และศาสตราจารย์ สันติ เล็กสุขุม ในที่นี้จะกล่าวถึงศิลปะอยุธยาเฉพาะงานประติมากรรม สถาปัตยกรรมและจิตรกรรม ดังนี้

ประติมากรรม

ลักษณะของพระพุทธรูปศิลปะอยุธยา จำแนกเป็น[25]

แบบแรก พระพุทธรูปที่สร้างตามแบบอย่างศิลปะอู่ทอง B และอู่ทอง C คือมีไรพระศก จีวรตัดตรง ฐานแอ่นเข้าใน ศิลปะแบบอู่ทองB แพร่หลายก่อนสถาปนากรุงศรีอยุธยาถึงสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ(พ.ศ.๑๙๙๑-๒๐๓๑) อาทิ พระพุทธไตรรัตนนายก(อู่ทองB) พระพุทธรูปในกรุวัดราชบูรณะ(อู่ทองC) และรูปพระโพธิสัตว์ ๕๐๐ ชาติ ซึ่งมีลักษณะของศิลปะลพบุรีหรืออู่ทองผสมผสานกับศิลปะสุโขทัย

แบบที่๒ เริ่มตั้งแต่ในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถครองเมืองพิษณุโลก ศิลปะสุโขทัยได้แพร่เข้ามาสู่กรุงศรีอยุธยาจนถึงสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ ถึงเสียกรุงศรีอยุธยา จัดเป็นศิลปะอยุธยาอย่างแท้จริง ระยะแรกๆยังมีไรพระศกและจีวรตัดตรง แต่ฐานมีการตกแต่งเครื่องประดับมากมาย

แบบที่๓ สมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททองและสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช นิยมสร้างพระพุทธรูปหินทราย รวมทั้งสร้างพระพุทธรูปสำริดที่มีพระเนตรและพระโอษฐ์ทำเป็นขอบ ๒ ชั้นหรือมีพระมัสสุ(หนวด)บางๆ

แบบที่๔ พระพุทธรูปทรงเครื่อง แบ่งเป็น๒ แบบ คือ พระพุทธรูปทรงเครื่องน้อยกับพระพุทธรูปทรงเครื่องใหญ่ ปางที่นิยมสร้างพระพุทธรูปทรงเครื่องในศิลปะอยุธยา ได้แก่ ปางห้ามสมุทร ยกพระหัตถ์แสดงปางประทานอภัย ๒ ข้าง ปางห้ามญาติ ยกพระหัตถ์ขวาแสดงปางประทานอภัย ๑ ข้าง ปางห้ามพระแก่นจันทร์ ยกพระหัตถ์ซ้ายแสดงปางประทานอภัย ๑ ข้าง (รูปที่ ๑๖) รูปที่๑๖ สถาปัตยกรรม จะกล่าวถึงเฉพาะรูปแบบของเจดีย์ ซึ่งจำแนกออกเป็น ๔ สมัย ดังนี้[26]

สมัยที่๑ ตั้งแต่รัชสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่๑-สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ(พ.ศ.๑๘๙๓-๒๐๓๑) นิยมสร้างเจดีย์หรือสถูปทรงปรางค์อาทิ วัดพุทไธสวรรย์ วัดพระราม วัดมหาธาตุ วัดราชบูรณะ และวัดพระศรีรัตนมหาธาตุพิษณุโลก (รูปที่ ๑๗)

สมัยที่๒ ในช่วงปลายรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเสด็จฯครองเมืองพิษณุโลก ทำให้เกิดพระราชนิยมในศิลปะสุโขทัยที่เมืองพระนครศรีอยุธยาเพิ่มมากขึ้น อาทิ เจดีย์วัดพระศรีสรรเพชญ์ วัดใหญ่ชัยมงคล แม้ว่าสมัยเจ้าสามพระยาจะเคยมีการสร้างเจดีย์ทรงลังกาที่วัดมเหยงคณ์มาแล้ว สมัยที่๓ ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททองมีการถ่ายแบบปรางค์เขมรมาสร้างวัดไชยวัฒนาราม และเกิดความนิยมสร้างในการสร้างเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง (วัดชุมพลนิกายาราม)

สมัยที่๔ รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ(พ.ศ.๒๒๗๕-๒๓๑๐) นิยมสร้างเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง อาทิ ปฏิสังขรณ์เจดีย์วัดภูเขาทองบนฐานที่พระเจ้าบุเรงนองสร้างไว้ ฐานและหลังคาอุโบสถทำเป็นเส้นอ่อนโค้ง รูปที่๑๗

จิตรกรรม

จำแนกเป็น ๓ ยุค คือ จิตรกรรมสมัยอยุธยาตอนต้น (พ.ศ.๑๘๙๓–๒๐๗๒) มีอิทธิพลของศิลปะลพบุรี สุโขทัยและลังกาเข้ามาผสมผสาน สีที่ใช้มีลักษณะแข็งและหนัก และใช้เพียงสีดำ ขาวและแดง จิตรกรรมสมัยอยุธยาตอนกลาง (พุทธศตวรรษที่๒๒–๒๓) มีอิทธิพลของศิลปะสุโขทัยมากขึ้น คือ ใช้สีเพิ่มมากขึ้น พบพียงหลักฐานจิตรกรรมในสมุดภาพไตรภูมิ แต่นักวิชาการบางท่านก็จัดให้ภาพเขียนในกรุพระเจดีย์วัดพระศรีสรรเพชญ์ องค์ด้านตะวันออกอยู่ในสมัยนี้ด้วย[27]

จิตรกรรมสมัยอยุธยาตอนปลาย ตั้งแต่รัชสมัยสมเด็จพระเพทราชาถึงสิ้นกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ.๒๒๓๑–๒๓๑๐) มีการจัดองค์ประกอบภาพลักษณะแบบมองจากเบื้องสูง(bird’s eye view) มีการใช้เส้นสินเทารูปสามเหลี่ยมขนาดใหญ่ แบ่งภาพเป็นตอนๆใช้เทคนิคการเขียนภาพแบกพหุรงค์(polychrome) พื้นภาพใช้สีเบาเพื่อการเน้นภาพเขียน มีอิทธิพลศิลปะจีนในภาพธรรมชาติแบบสามมิติ หลักฐานจิตรกรรมสมัยอยุธยาตอนปลาย ได้แก่ จิตรกรรมในตำหนักพระพุทธโฆษาจารย์ วัดพุทไธสวรรย์ (จ.พระนครศรีอยุธยา ) วัดใหญ่สุวรรณาราม และวัดเกาะแก้วสุทธาราม (จ.เพชรบุรี) และวัดประดู่ทรงธรรม[28] เป็นต้น (รูปที่ ๑๘) รูปที่๑๘

๔.๓.๕ ศิลปะรัตนโกสินทร์ ศิลปะรัตนโกสินทร์ ในที่นี้หมายถึงศิลปะแบบไทยประเพณีที่สร้างตั้งแต่มีการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์(พ.ศ.๒๓๒๕)ถึงสมัยรัชกาลที่๓(พ.ศ.๒๓๙๔) นักวิชาการบางท่านเรียกว่า “ศิลปะบางกอก(Bangkok Art)”[29] การศึกษาศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์ค่อนข้างมีหลักฐานและตำราแพร่หลายจำนวนมาก จึงจะกล่าวถึงตามลำดับโดยอ้างอิงข้อมูลในเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศของศูนย์กลางความรู้แห่งชาติ ดังนี้[30]

รัชกาลที่๑ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก(พ.ศ.๒๓๒๕–๒๓๕๒) ประติมากรรมแนวอุดมคติที่นิยมสร้าง คือ พระพุทธรูป ซึ่งสร้างตามสภาวะธรรม เพื่อแสดงถึงความเป็นพุทธะ ไม่สนใจภาพแบบสมจริง (Realism) อาทิ รัชกาลที่ ๑ ทรงโปรดฯให้สร้างพระพุทธรูปขึ้น ๒ องค์ คือ พระพุทธจุลจักรอุทิศถวายพระบรมชนกนาถ และสร้างพระพุทธจักรพรรดิเพื่อบำเพ็ญพระราชกุศลในส่วนพระองค์ ประดิษฐาน ณ หอพระสุราลัยพิมาน พระที่นั่งไพศาลทักษิณ เป็นต้น [31]

ลักษณะเด่นของงานจิตรกรรมในสมัยรัชกาลที่๑ คือ การเขียนภาพ ๒ มิติ(กว้างและยาว) ไม่เน้นกล้ามเนื้อ แสงเงาและรอยยับของผ้า ไม่มีหลักทัศนียวิสัย(perspective) การให้สี ลวดลายประดับ เครื่องแต่งกาย การวางตำแหน่งของคนและวัตถุต่างๆ บ่งบอกถึงสถานภาพและตัวบุคคล เช่น รูปพระพุทธเจ้าจะมีพระวรกายเป็นทองด้วยการปิดทองคำเปลวและมีพระเกตุมาลา ภาพกษัตริย์ก็จะต้องมีผิวเป็นสีอ่อนสะอาด สวมมงกุฎและฉลองพระองค์ (รูปที่ ๑๙) ภาพทหารเลวและไพร่จะมีหน้าตาเข้าขั้นอัปลักษณ์ ภาพชาวบ้านจะมีร่างกายสีคล้ำหน้าตาดูธรรมดา และอยู่บริเวณชายขอบของภาพ มักดูตลกหรือน่าเกลียด มีทั้งภาพวิถีชีวิตที่เรียบง่าย สงบสุขและภาพโป๊เปลือย ภาพการเสพกาม การละเล่นพื้นบ้านและอบายมุขการพนัน รูปที่ ๑๙

รัชกาลที่๒ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (พ.ศ. ๒๓๕๒-๒๓๖๗) ทรงอุปถัมภ์งานช่างไทยต่างๆและยังทรงงานช่างเองด้วย เช่น งานแกะสลักไม้ฝีพระหัตถ์บนบานประตูวัดสุทัศน์เทพวราราม(รูปที่ ๒๐) ในยุคนี้สยามเริ่มติดต่อกับชาติยุโรปทำให้อิทธิพลของศิลปะตะวันตกเริ่มปรากฎขึ้นบ้าง จากสิ่งของที่ชาวตะวันตกนำเข้ามา กลายเป็นเครื่องประดับตกแต่งในราชสำนัก เช่น กระจกใหญ่ ระย้าแก้วและรูปเขียนกษัตริย์โปรตุเกส รูปที่ ๒๐ รัชกาลที่๓ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ.๒๓๖๗-๒๓๙๔) ทรงดำริให้บูรณะปฏิสังขรณ์วัดต่างๆและโปรดฯให้สร้างวัดขึ้นมากมาย การสร้างวัดที่สะท้อนถึงพระราชนิยมในศิลปะจีน เช่น มีการออกแบบลวดลายประดับเลียนแบบศิลปะจีนที่วัดราชโอรส ตั้งแต่ทรงดำรงพระยศเป็นพระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ส่งผลต่อการสร้างและบูรณะวัดอื่นๆในสมัยที่พระองค์ขึ้นครองราชย์ เช่น วัดนางนองที่บางขุนเทียน วัดเฉลิมพระเกียรติที่เมืองนนทบุรี และวัดเทพธิดารามซึ่งสุนทรภู่เคยจำวัดเมื่อครั้งบวชเป็นพระ รวมถึงพระปรางค์วัดอรุณราชวรารามที่สร้างค้างไว้ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๒

ผลงานจิตรกรรมสมัยนี้ มีความรุ่งเรืองโดยศิลปิน เช่น ครูทองอยู่(หลวงวิจิตรเจษฎา) และช่างจีนอย่างครูคงแป๊ะ (หลวงเสนีย์บริรักษ์) ได้เขียนงานในโบสถ์วัดสุวรรณารามและวัดบางยี่ขัน รวมทั้งได้เขียนภาพเพิ่มเติมที่วัดสุทัศน์และวัดเชตุพนวิมลมังคลารามด้วย

สำหรับงานประติมากรรมนั้น หลวงเทพรจนา เจ้ากรมปั้นซ้ายได้ปั้นรูปสมเด็จพระสังฆราช(สุก ไก่เถื่อน) วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ และหลวงกัลมาพิจิตร เจ้ากรมช่างปั้นขวาปั้นรูปสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์(ขุน วัดโมลีโลกย์) ส่วนพระสุก(ช่างเขมร)และหลวงวิจิตรนฤมิตร(ช่างไทย) ได้ร่วมกันปั้นรูปเจ้าพระยาบดินทร์เดชา(สิงห์สิงหเสนี)เพื่อสักการะที่ประเทศกัมพูชา(รูปที่๒๑) [32] ผลงานเหล่านี้มีลักษณะที่เหมือนจริงมากกว่าพระพุทธรูปทั่วๆไป เช่น โหนกแก้มและ กล้ามเนื้อบนพระพักตร์และใบหน้า รูปที่ ๒๑ ๔.๔ ศิลปะไทยภายใต้อิทธิพลตะวันตก ระหว่าง พ.ศ.๒๓๙๔–๒๔๗๕ ประเทศสยามอยู่ระหว่างสภาวะวิกฤตจากการคุกคามของมหาอำนาจกับการพัฒนาประเทศให้ทันสมัยตามแบบอย่างของชาติตะวันตก พัฒนาการของศิลปะไทยจึงลักษณะดังนี้ รัชกาลที่๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. ๒๓๙๔-๒๔๑๑)

ทรงมีพระราชนิยมศิลปะและวิทยาการแบบตะวันตก ทำให้ศิลปินไทยคนสำคัญในเพศบรรพชิต คือ ขรัวอินโข่งมีโอกาสแสดงฝีมือเขียนภาพในมณฑปวัดพระงาม(จ.พระนครศรีอยุธยา) วัดโปรดเกศเชษฐาราม (จ.สมุทรปราการ) วัดบวรนิเวศและวัดบรมนิวาส(กรุงเทพฯ) ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับปริศนาธรรมโดยใช้หลักทัศนียวิทยา(Perspective) ทำให้ภาพมีความลวงตาว่ามีความลึก บรรยากาศสถาปัตยกรรมและวัฒนธรรมตะวันตกในภาพก็คล้ายเมืองในยุโรปเข้ามาผสมผสานกับเรื่องและลวดลายแบบไทยๆ โดยไม่เคยเรียนการเขียนรูปแบบตะวันตกมาก่อน จึงสันนิษฐานว่าขรัวอินโข่งคงจะอาศัยการสังเกตจากภาพพิมพ์ที่ส่งมาขาย


(รูปที่ ๒๒)

ในปีพ.ศ.๒๓๙๙ รัชกาลที่ ๔ ทรงเป็นแบบอย่างเลิกธรรมเนียมโบราณอย่างหนึ่ง คือ โปรดฯให้จิตรกรชาวยุโรป ชื่อ อี. พีซ-เฟร์รี (E.Peyze-Ferry) เขียนพระบรมสาทิสลักษณ์สีน้ำมันบนไม้ และยังทรงประทับให้ช่างภาพฉายพระบรมฉายาลักษณ์(รูปถ่าย)หลายภาพ รวมทั้งยังโปรดฯให้หลวงเทพรจนา(พลับ) ปั้นพระบรมรูปขนาดเท่าจริงใน พ.ศ. ๒๔๐๓ ด้วย[33] รูปที่ ๒๒ รัชกาลที่๕ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. ๒๔๑๑-๒๔๕๓) ศิลปะตะวันตกได้ลดความสำคัญของศิลปะไทยประเพณี เนื่องด้วยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงนำเข้าทั้งนายช่าง วิศวกรและสถาปนิกชาวตะวันตกมาสร้างพระราชวัง พระที่นั่ง พระตำหนักและวัดหลวง และทรงว่าจ้างศิลปินชาวต่างประเทศให้ทำงานส่งเข้ามา สถาปัตยกรรมโดดเด่นในยุคนี้คือ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท (พ.ศ.๒๔๑๙) ที่มีหลังคาส่วนยอดเป็นแบบไทยแต่ตัวอาคารเป็นศิลปะตะวันตก ออกแบบโดย ยอห์น คลูนิช ส่วนพระที่นั่งอนันตสมาคมเริ่มสร้างปี ๒๔๕๐แล้วเสร็จปีพ.ศ. ๒๔๕๙ เป็นสถาปัตยกรรมแบบตะวันตกแนวผสมผสานระหว่างยุคฟื้นฟูศิลปะวิทยา (Renaissance) บาโรก (Baroque) และนีโอ-คลาสสิค (Neo-Classicism) มีสถาปนิกชาวอิตาเลียนชื่อ อันนิบาลเล ริกอตติ (Annibale Rigotti) และ มาริโอ ตามาโย (Mario Tamayo) เป็นผู้ควบคุมการก่อสร้าง (รูปที่ ๒๓) ใน พ.ศ.๒๔๔๙ ระหว่างที่รัชกาลที่ ๕ เสด็จฯประพาสยุโรปเป็นครั้งที่ ๒ ทรงทอดพระเนตรพระราชานุสาวรีย์ของพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ณ พระราชวังแวร์ซาย ในประเทศฝรั่งเศส ซึ่งต่อมากลายเป็นต้นแบบพระบรมรูปทรงม้า โดยฝีมือการปั้นและหล่อของ จอร์จ เออร์เนสต์ ซอลโล (Georges Ernest Saulo) ชาวฝรั่งเศส โดยรัชกาลที่ ๕ ทรงประทับเป็นแบบให้ปั้นที่ฝรั่งเศส สถาปัตยกรรมสำคัญแบบไทยประเพณีในยุคนี้ คือ พระอุโบสถที่วัดเบญจมบพิตร (พ.ศ.๒๔๔๑) ออกแบบโดยสมเด็จฯเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ผู้ทรงได้รับการยกย่องว่าเป็นนายช่างใหญ่แห่งกรุงสยาม รูปที่๒๓ รัชกาลที่ ๖ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว(พ.ศ.๒๔๕๓-๒๔๖๘) ทรงปรารภว่า "ศิลปะสยามกำลังป่วยไข้" จึงทรงมีพระราชกรณียกิจในการอนุรักษ์และฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมประเพณี คือ การตั้งกรมศิลปากร สังกัดกระทรวงวัง นอกจากนี้ยังทรงส่งเสริมนโยบายชาตินิยมเพื่อการฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมสยาม แต่ก็ยังทรงสนับสนุนการสร้างศิลปะแบบตะวันตกต่อไป เช่น บ้านนรสิงห์ (ตึกไทยคู่ฟ้า) และบ้านพระยาอนิรุทธเทวา(บ้านพิษณุโลก) ซึ่งมีรูปแบบโกธิคสกุลช่างเวนิสใหม่(Neo-Venetian Gothic) ออกแบบโดยสถาปนิกอิตาเลียน อันนิบาล ริกอตติ (Annibale Rigotti)

ในปีพ.ศ.๒๔๖๖ รัฐบาลอิตาลีได้คัดเลือกประติมากรระดับศาสตราจารย์ชาวฟลอเรนซ์ชื่อ คอร์ราโด เฟโรจี (Corrado Feroci) ให้เดินทางมาทำงานเป็นช่างปั้นในกรมศิลปากรเพื่อสร้างอนุสาวรีย์ ต่อมาเฟโรจีได้โอนสัญชาติเป็นไทยและเปลี่ยนชื่อเป็น ศิลป์ พีระศรี (รูปที่ ๒๔ ) และเป็นบุคคลสำคัญในการร่างหลักสูตรการเรียนการสอนศิลปะในประเทศไทย โดยยึดต้นแบบจากสถาบันศิลปะแห่งเมืองฟลอเรนซ์ ทำให้หลักสูตรวิชาการทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติจึงถูกวางไว้อย่างเข้มงวด เพื่อให้ได้มาตรฐานแบบศิลปะตามหลักวิชาของตะวันตก (academic art) รูปที่๒๔ รัชกาลที่๗ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว(พ.ศ.๒๔๖๙–๒๔๗๘) มีการสร้างพระราชวังไกลกังวลที่ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ตามแบบอย่างศิลปะตะวันตก ในปี พ.ศ.๒๔๗๕ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ.๒๔๖๘-๒๔๗๗) โปรดฯให้จัดงานฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ครบ ๑๕๐ ปี ทำให้เกิดการอนุรักษ์งานศิลปะโบราณของไทย อาทิ จิตรกรรมฝาผนังในพระระเบียงวัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยรัชกาลที่ ๗ โปรดฯให้เขียนภาพใหม่ทั้งหมดภายใต้การควบคุมของพระเทวาภินิมิต(ฉาย เทียมศิลปไทย) โดยอิงรูปแบบของแนวศิลปะที่พัฒนามาจากงานสกุลช่างขรัวอินโข่งและแนวจิตรกรรมสกุลช่างสมเด็จฯ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์

นอกจากการบูรณะจิตรกรรมวัดพระศรีรัตนศาสดารามแล้ว ยังมีผลงานภาพพระบรม สาทิสลักษณ์สีน้ำมันฝีมือของพระสรลักษณ์ลิขิตและออสวอลด์ ไบรลีย์ (Oswald Bireley)จิตรกรชาวอังกฤษ มีการสร้างโรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมกรุงที่ทันสมัยที่สุดในเอเชีย ออกแบบโดย ม.จ.สมัยเฉลิม กฤดากรและนายนารถ โพธิประสาท และมีการสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ออกแบบโดยศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี (รูปที่๒๕) รูปที่ ๒๕ ๔.๕ ศิลปะไทยร่วมสมัยหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.๒๔๗๕ - ปัจจุบัน แม้ว่าศิลปะจะได้รับการส่งเสริมจากรัฐบาลหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.๒๔๗๕ แต่ศิลปะที่เกี่ยวกับประชาชนโดยตรงยังไม่ค่อยได้รับการยอมรับ ยกเว้นอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยที่มีประชาชนเข้าไปเกี่ยวข้องทั้งในด้านภาพและเนื้อหา แต่ก็มีรูปแบบและบรรยากาศค่อนข้างจะเคร่งขรึม (รูปที่ ๒๖) รูปที่๒๖ หลังสงครามโลกครั้งที่๒ (หลัง พ.ศ.๒๔๘๘) ศิลปะแนวลัทธิประทับใจ(Impressionism Art) มีอิทธิพลต่อการเสนองานศิลปะของศิลปินไทยจนถึงประมาณพ.ศ.๒๕๐๑ งานที่ได้รับรางวัลในงานแสดงศิลปกรรมแห่งชาติล้วนเป็นงานแนวนี้ทั้งสิ้น อาทิ ผลงานของจำรัส เกียรติก้อง จากภาพสีน้ำมันรูปหญิงเปลือยเต็มตัว กำลังหันมาสบตาคนดูอย่างท้าทาย และภาพชายฉกรรจ์ (ภาพเหมือน แสวง สงฆ์มั่งมี พ.ศ.๒๔๙๓)ที่แสดงฝีแปรงฉับพลัน แสดงบุคลิกของประติมากรได้อย่างมีพลัง [34] (รูปที่ ๒๗) รูปที่ ๒๗ ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรีเสนอว่า งานศิลปะตามแนวลัทธิประทับใจและแนวสัจนิยม(Realism) เปรียบเสมือนบันไดขั้นแรกที่ศิลปินสมัยใหม่จะต้องก้าวผ่าน[35] ท่านได้ได้ทุ่มเทกับงานวิชาการและริเริ่มจัดการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ทำให้มีบทบาทในแวดวงศิลปะเพิ่มขึ้นและได้รับยกย่องเป็น "บิดาแห่งศิลปะร่วมสมัยในประเทศไทย"

ศิลปะในยุคหลัง พ.ศ.๒๕๐๐-ปัจจุบัน เป็นช่วงเวลาที่เต็มไปด้วยความเปลี่ยนแปลงและส่งผลต่อวงการศิลปะอย่างยิ่ง อาทิ การทรงงานศิลปะสมัยใหม่ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว “การบูม(Booming)"ของยุคนิทรรศการศิลปะ การประท้วงผลการตัดสินรางวัลการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ การเคลื่อนไหวของศิลปินรุ่นใหม่ บทบาทของอารี สุทธิพันธุ์ ในฐานะศิลปินสมัยใหม่ที่ขึ้นมาท้าทาย "ค่ายศิลปากร" (รูปที่๒๙) ด้วยผลงานศิลปะลัทธิสำแดงแนวนามธรรม(Abstract Expressionism) รวมทั้งการปรากฏตัวของจ่าง แซ่ตั้งและประเทือง เอมเจริญในฐานะศิลปินอิสระนอกสถาบัน เป็นต้น รูปที่๒๘ สรุป ลีโอ ตอลสตอย ชี้ให้เห็นว่า ศิลปะต้องถ่ายทอดเรื่องราวที่ดีงาม มีศีลธรรมและชี้นำสังคมได้ โดยอาจมีแรงผลักดันมาจากศาสนา ศีลธรรม สังคมหรือการเมือง ศิลปะจะต้องประกอบด้วยความงามอันน่าพึงพอใจและยินดีของรูปแบบที่ถูกสร้างสรรค์ นำเสนอความจริงที่เป็นจริงและถูกต้องให้ปรากฏ

เมื่อนำทัศนะข้างต้นมาพิจารณาจะพบว่า ศิลปะที่พบในดินแดนประเทศไทยตั้งแต่สมัยอารยธรรมเริ่มแรกจนถึงสมัยรัชกาลที่๓ เป็นศิลปะแนวอุดมคติที่ช่างสร้างสรรค์ขึ้นมาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อชี้นำสังคม รวมถึงตอบสนองความเชื่อและความศรัทธาทางศาสนา เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านจริยธรรม ภายใต้การอุปถัมภ์หรือการเกณฑ์แรงงานจากไพร่ อย่างค่อนข้างสอดคล้องกับแนวคิดของตอลสตอย

หลักการของศิลปะแนวอุดมคติแบบตะวันออกนั้น มุ่งสร้างสรรค์ผลงานโดยคำนึงถึงกรอบคิดทางคัมภีร์หรือตำราทางศาสนา ประเด็นที่ตอลสตอยระบุว่า ศิลปะต้องนำเสนอความจริงและความถูกต้องให้ปรากฏ ก็จะพบว่าศิลปะในดินแดนประเทศไทยมิได้สร้างขึ้นตามลักษณะที่ถูกต้องและเป็นจริงตามหลักทางสรีระวิทยาและหลักทัศนียวิทยาอย่างครบถ้วน ดังนั้นจึงอาจขาดคุณสมบัติของการเป็น “ศิลปะ” ตามทัศนะข้างต้น

นอกจากบรรทัดฐานตามแนวคิดของตอลสตอยแล้ว แม้จะนำนิยามทางศิลปะที่นักวิชาการท่านอื่น อาทิ พระยาอนุมานราชธนและราชบัณฑิตยสถานมาพิจารณา ก็พบว่ายังไม่มีนิยามใดที่ทันสมัยและครอบคลุมคุณสมบัติของศิลปะได้ เมื่อศูนย์กลางความรู้แห่งชาติอธิบายคุณสมบัติ ๕ ประการของศิลปะว่า ต้องมีรสนิยมของแต่ละคน เชื้อชาติ วัฒนธรรม หรือยุคสมัย มีอารมณ์สะเทือนใจจากความเศร้าโศก เสียใจและปลื้มปิติยินดี รวมทั้งมีแนวคิดและความคิดสร้างสรรค์ มีทักษะฝีมือ และมีความพิเศษ แปลกใหม่ โดดเด่น กรอบความคิดนี้จึงครอบคลุมสิ่งที่เรียกว่า “ศิลปะ” ในดินแดนประเทศไทย

ศิลปะในดินแดนประเทศไทยซึ่งถูกสร้างขึ้นตั้งแต่พุทธศตวรรษที่๑๒ มีหลักฐานแสดงให้เห็นถึงอิทธิพลความเชื่อทางศาสนาจากอินเดียเข้ามาผสมผสาน ทำให้มีอัตลักษณ์เป็นของตนเองตามยุคสมัยตั้งแต่ศิลปะวัตถุรุ่นเก่า ศิลปะทวารวดี ศิลปะเทวรูปรุ่นเก่า ศิลปะศรีวิชัย ศิลปะลพบุรี ศิลปะล้านนา ศิลปะสุโขทัย ศิลปะอู่ทอง ศิลปะอยุธยา และศิลปะรัตนโกสินทร์

ครั้นถึงปลายพุทธศตวรรษที่๒๔ จึงเริ่มมีอิทธิพลทางความคิดและเทคนิควิทยาจากประเทศตะวันตกเข้ามาผสมผสานตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๔ ทำให้ศิลปะเริ่มคลี่คลายมาสู่การรับใช้สังคม และเริ่มละทิ้งแนวทางแบบอุดมคติมาเป็นแนวทางแบบสัจนิยมมากยิ่งขึ้น สามารถเห็นได้เด่นชัดมากยิ่งขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕-๖ โดยเฉพาะเมื่อทางการ “นิยม” ว่าจ้างศิลปินชาวตะวันตกเข้ามาสร้างสรรค์ผลงานศิลปะถึงในประเทศ ส่งผลให้ศิลปะโบราณของไทยแทบจะสูญหายไป แต่ศิลปินยิ่งใหญ่สองท่าน คือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์และศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี มีส่วนทำให้งานศิลปะในประเทศไทย แบ่งแยกออกเป็น ๒ แนวทาง คือ ศิลปะแบบไทยประเพณี หรือ “ศิลปะแนวกรมศิลปากร” กับศิลปะแบบตะวันตกที่ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี ได้ริเริ่มถ่ายทอด

การที่ไทยเป็นประเทศเปิดกว้างและมีความอดทนต่อปฏิสัมพันธ์ทางความคิด ศิลปวิทยาการและวัฒนธรรมที่ชาวต่างชาตินำเข้ามานานนับพันปี ทำให้แนวทางด้านศิลปะในประเทศไทยพร้อมที่จะผสมผสานความเป็นนานาชาติด้านสาระและแนวคิดแห่งการสร้างสรรค์ใหม่ๆที่ประเทืองคุณค่า อารมณ์และจิตวิญญาณของมนุษยชาติ ภายใต้กรอบโครงที่มาจากการหล่อหลอมทางวัฒนธรรม บรรณานุกรม โบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร , สำนัก. ปราสาทพนมรุ้ง. กรุงเทพฯ: เอ. พี. กราฟิกดีไซน์และการพิมพ์, ๒๕๔๓. ประยูร อุลุชาฏะ. ศิลปกรรมแห่งอาณาจักรศรีอยุธยา. กรุงเทพฯ: ธเนศวรการพิมพ์, ๒๕๑๖. ประวัติศาสตร์ศิลปะ, ภาควิชา. เอกสารประกอบการอบรมโครงการมัคคุเทศก์กับโบราณสถาน. คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร. ๗-๙ พฤษภาคม ๒๕๔๗. พิริยะ ไกรฤกษ์. ประวัติศาสตร์ศิลปในประเทศไทยฉบับคู่มือนักศึกษา. กรุงเทพฯ: อมรินทร์ การพิมพ์, ๒๕๒๓. พิริยะ ไกรฤกษ์และ เผ่าทอง ทองเจือ. “ประวัติศาสตร์ศิลปหลังพ.ศ.๒๔๗๕โดยสังเขป, ” ศิลป กรรมหลังพ.ศ.๒๔๗๕. กรุงเทพฯ: ศรีบุญพับลิกเคชัน, ๒๕๒๕. ภาณุพงษ์ เลาหสม. จิตรกรรมฝาผนังล้านนา. กรุงเทพฯ: ด่านสุธา, ๒๕๔๑. มโน กลีบทอง. “วัฒนธรรมร่วมแบบเขมรในประเทศไทย, ” พัฒนาการอารยธรรมไทย. กรุงเทพฯ: รุ่งศิลป์การพิมพ์, ๒๕๓๖. ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๒๕. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญ ทัศน์, ๒๕๒๕. สงวน รอดบุญ. ศิลปกรรมไทย. กรุงเทพฯ: การศาสนา, ๒๕๒๙. สมชาย ณ นครพนม. “ล้านนา: ถิ่นฐานและวัฒนธรรมไทยเหนือ ” พัฒนาการอารยธรรมไทย, กรุงเทพฯ: รุ่งศิลป์ , ๒๕๓๖. สันติ เล็กสุขุม, ศาสตราจารย์ ดร.. ศิลปะภาคเหนือ: หริภุญชัย-ล้านนา, กรุงเทพ: ด่านสุธา, ๒๕๓๘. ลีโอ ตอลสตอย. ศิลปะคืออะไร. แปลโดยสิทธิชัย แสงกระจ่าง. กรุงเทพฯ: สแมค คอร์ปอเรชัน จำกัด, ๒๕๓๘. สุภัทรดิศ ดิศกุล, ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้า. ศิลปะในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : อมรินทร์ พริ้นติ้ง, ๒๕๓๔. เสนอ นิลเดช. ศิลปะสถาปัตยกรรมล้านนา. กรุงเทพฯ: ด่านสุธาการพิมพ์, ๒๕๓๙.

Bibliography Chinda Podimuang. “Chapter 5 The Arts of Thailand, ” A Survey of Thai Arts and Architectural Attractions: a Manual for Tourist Guides, Bangkok: Chulalongkorn University, 1998. Coedès, G., “ Nouvelles Inscriptons de Si T’ep (K.978-979) “ Inscription du Cambodge Vol. VIII. École Française D’Extrême-Orient, Paris, 1964. Higham, Charles and Ratchanie Thosarat. Prehistoric Thailand: From Early Settlement to Sukhothai. Bangkok: River Book. 1984. Web Site http://teacher.stjohn.ac.th/jstip/01_thaidance.htm http://www.tkc.go.th:8080/tvm/artisicmovement/questions.jsp/number=1

เชิงอรรถ [1] ลีโอ ตอลสตอย , ศิลปะคืออะไร, แปลโดย สิทธิชัย แสงกระจ่าง (กรุงเทพฯ: สแมค คอร์ปอเรชัน จำกัด, ๒๕๓๘), ๑๑และ ๘๕. [2] สิทธิชัย แสงกระจ่าง, เรื่องเดียวกัน, ๘๑–๘๓. [3] http://teacher.stjohn.ac.th/jstip/01_thaidance.htm [4] ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๒๕, (กรุงเพฯ: อักษรเจริญท ศน์, ๒๕๒๕), ๗๘๓. [5] ราชบัณฑิตยสถาน, เรื่องเดียวกัน, ๗๖๕. [6] http://www.tkc.go.th:8080/tvm/artisicmovement/questions.jsp/number=1 [7] พิริยะ ไกรฤกษ์, ประวัติศาสตร์ศิลปในประเทศไทยฉบับคู่มือนักศึกษา, (กรุงเทพฯ: อมรินทร์การพิมพ์, ๒๕๒๓), ๒๓–๒๔. [8] มโน กลีบทอง , “วัฒนธรรมร่วมแบบเขมรในประเทศไทย, ” พัฒนาการอารยธรรมไทย, (กรุงเทพฯ: รุ่งศิลป์การพิมพ์, ๒๕๓๖), ๘๓. [9] สำนักโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร , ปราสาทพนมรุ้ง, (กรุงเทพฯ: เอ.พี. กราฟิกดีไซน์และการพิมพ์, ๒๕๔๓), ๑๐๓. [10] ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้า สุภัทรดิศ ดิศกุล, เรื่องเดียวกัน, ๑๔. [11] ดูรายละเอียดใน พิริยะ ไกร ฤกษ์, เรื่องเดียวกัน . [12] ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้า สุภัทรดิศ ดิศกุล, เรื่องเดียวกัน , ๖๖. [13] เสนอ นิลเดช, ศิลปะสถาปัตยกรรมล้านนา, (กรุงเทพฯ: ด่านสุธาการพิมพ์, ๒๕๓๙), ๑๐–๑๑. [14] สันติ เล็กสุขุม, ศิลปะภาคเหนือ: หริภุญชัย-ล้านนา, (กรุงเทพ: ด่านสุธา, ๒๕๓๘), ๒๗. [15] สมชาย ณ นครพนม, “ล้านนา: ถิ่นฐานและวัฒนธรรมไทยเหนือ, ” พัฒนาการอารยธรรมไทย, (กรุงเทพฯ: รุ่งศิลป์ , ๒๕๓๖), ๑๕๕. [16] สงวน รอดบุญ, ศิลปกรรมไทย ,(กรุงเทพฯ: การศาสนา, ๒๕๒๙), ๑๐๕. [17] สมชาย ณ นครพนม, เรื่องเดียวกัน, ๑๕๖. [18] ภาณุพงษ์ เลาหสม, จิตรกรรมฝาผนังล้านนา, (กรุงเทพฯ: ด่านสุธา, ๒๕๔๑), ๗๐–๗๓ . [19] สงวน รอดบุญ, เรื่องเดียวกัน, ๑๐๕ [20] เดิมศาสตราจารย์ หม่อมเจ้า สุภัทรดิศ ดิศกุลทรงอธิบายว่า เจดีย์ทรงปราสาทเป็นเจดีย์แบบศรีวิชัย ดูศาสตราจารย์ หม่อมเจ้า สุภัทรดิศ ดิศกุล, เรื่องเดียวกัน, ๒๙. [21] ดูสงวน รอดบุญ, เรื่องเดียวกัน, ๑๐๘–๑๑๒. [22] ประยูร อุลุชาฏะ(ข) , ศิลปกรรมแห่งอาณาจักรศรีอยุธยา, (กรุงเทพฯ: ธเนศวรการพิมพ์, ๒๕๑๖), ๑. [23] ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้า สุภัทรดิศ ดิศกุล, เรื่องเดียวกัน, ๓๐-๓๑. [24] ประยูร อุลุชาฏะ , ศิลปกรรมแห่งอาณาจักรศรีอยุธยา,, ๘–๑๑. [25] ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้า สุภัทรดิศ ดิศกุล, เรื่องเดิม, ๓๒-๓๔. [26] เรื่องเดียวกัน. [26] เรื่องเดียวกัน. [26] เรื่องเดียวกัน, ๓๕-๓๗. [27] สงวน รอดบุญ, เรื่องเดียวกัน, ๑๔๔. [28] เรื่องเดียวกัน, ๑๔๕–๑๔๖. [29] Chinda Podimuang, “Chapter 5 The Arts of Thailand, ”, A Survey of Thai Arts and Architectural Attractions: a Manual for Tourist Guides, (Bangkok: Chulalongkorn University, 1998), 59. [30] ดูThai virtual museum contem art book. microsoft internet explorer ใน www.tkc.go.th [31] www.tkc.go.th [32] ปัจจุบันมีรูปที่หล่อจำลองไว้อยู่ที่วัดจักรวรรดิราชาวาส อ้างจาก www.tkc.go.th [33] ก่อนหน้านี้คนไทยไม่กล้าเขียนรูปเหมือนหรือปั้นรูปเหมือนของบุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่ เนื่องจากเกรงจะถูกนำไปทำคุณไสย อ้างจากดูThai virtual museum contem art book. microsoft internet explorer ใน www.tkc.go.th [34] พิริยะ ไกรฤกษ์และ เผ่าทอง ทองเจือ, “ประวัติศาสตร์ศิลปหลังพ.ศ.๒๔๗๕โดยสังเขป, ” ศิลปกรรมหลังพ.ศ.๒๔๗๕, (กรุงเทพฯ: ศรีบุญพับลิกเคชัน, ๒๕๒๕), ๓๑. [35] เรื่องเดียวกัน.

วันพฤหัสบดีที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2554

พิทยะร้องเพลงเล่นเรือเมื่อฝนตกหนักน้ำท่วมขังกรุงเทพฯเช้าตรู่ วันที่ 23 มีนาคม 2554

รายงานโดย พิทยะ ศรีวัฒนสาร




สภาพถนนแจ้งวัฒนะตรงข้ามกับห้างโลตัสและบิ๊กซี





ในซอยชินเขต2 ย่านแยก "แวศยา" จุดนี้ถ้าสามารถหาพื้นที่ทำอุโมงยักษ์ระบายน้ำได้ก็จะเป็นกุศลต่อผู้คนย่านนี้เป็นอย่างยิ่ง






ทางขึ้นโทลเวย์แยกหลักสี่(เข้ากรุงเทพฯ)การจราจรคับคั่ง




ทางลงโทลเวย์รังสิต(ไปประตูน้ำพระอินทร์)




หลุดออกมาที่ต่างระดับหินกอง สระบุรี พิทยะครึ้มอกครึ้มใจร้องเพลงเรือคลอไปกับวิทยุ

วันพุธที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2554

ขอหินคลุกในซอยแยกของถนนวิภาวดีรังสิต 64 แยก 7

โดย พิทยะ ศรีวัฒนสาร

(ความเดิม)เมื่อวันที่ 31 มนาคม 2554 ผู้เขียนได้เดินทางไปที่ฝ่ายโยธา สำนักงานเขตหลักสี่ เพื่อขอความอนุเคราะห์ในการเทหินคลุกในซอยเล็กข้างบ้าน ซึ่งเดินเป็นทางสัญจรสาธารณะร่วมกันของสมาชิกหมู่บ้านในฝัน แต่เมื่อบ้านหลังอื่นๆอีก2หลังถูกธนาคารยึดและขายทอดตลาดจนขณะนี้อาจตกอยู่ในการครอบครองของเศรษฐีมีทรัพย์คนใดคนหนึ่งและปล่อยพื้นที่ให้รกร้างมานาน 20 ปีเศษ



บัดนี้นายช่างโยธาจากสำนักงานเขตหลักสี่ได้เดินทางเข้ามาสำรวจพื้นที่เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งผู้เขียนเชื่อว่า คงจะมีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องตามมาในเวลาอันใกล้นี้

(ภาพเก่า)ไฟกำลังโหมไหม้กิ่งไม้ หญ้าแห้ง เศษวัสดุและขยะบริเวณบ้านร้างในซอยวิภาวดีรังสิต 64 แยก7



(ภาพเก่า)ตายอม "คนขี้โม้-ขี้เมา" เผาครั้งสุดท้าย ทำเก๋ไก๋ เดินออกจากที่เกิดเหตุ ผู้เขียนถามว่าเผาทำไมคนอื่นจะเดือดร้อน แกตอบวกวนฟังไม่ได้ศัพท์
เผาเสร็จก็เดินไปเดินมาในซอยวิภาวดีรังสิต64 หลังจากนั้นไม่นานตายอมก็จากไปชั่วนิรันดร์

พี่เบิ้มมือปราบ บ้านอยู่ฝั่งตรงข้ามมาช่วยดับไฟ หลังจากรถดับเพลิงกลับไปแล้ว พี่เบิ้มเคยให้ลูกน้องเก่างัดเข้าไปดับไฟในบ้านสถาปนิกเยื้องๆ เพราะแม่บ้านตั้งหม้อแกงอุ่นอาหารแล้วออกไปข้างนอก โดยไม่มีคนดู ผล คือ เกิดไฟลุกท่วมกลิ่นเหม็นคลุ้ง บ้านเกือบโดนไฟไหม้







หมู่บ้านในฝัน ซอยวิภาวดีรังสิต 64 แยก 7 ฝั่งใต้ ถูกทอดทิ้งมานานจนกระทั่ง คนในหมู่บ้านมหานครนิเวศน์ส่วนหนึ่งคิดว่าจุดนี้เป็นที่ทิ้งขยะสาธารณะไปแล้ว จึงมีคนมักง่าย พากันเอาขยะ กิ่งไม้(ตัดแต่งรอรับหน้าฝน) เศษวัสดุ โซฟาเก่า ศาลเจ้าดิน โฟม(หุ้มเครื่องใช้ไฟฟ้าประเภท ทีวี ตู้เย็น) ฯลฯ มาทิ้ง มอเตอร์ไซด์รับจ้างบางคนมักง่ายใช้พื้นที่ดังกล่าวเป็นที่ปัสสาวะและทิ้งกล่องและถุงยางอนามัยที่ใช้เลย

บางครั้งคนงานของ TWTก็นำเศษอาหารหลังงานเลี้ยงปีใหม่มาทิ้งปากซอย ส่วนคนเก็บของเก่าก็เอาขยะจากTWTมาทิ้งในบ้านร้าง ทำให้ผู้เขียนต้องคุ้ยเอาเบอร์โทรฯจากใบส่งสินค้าของโรงงาน แล้วโทรแจ้งให้หัวหน้าคนงานรับผิดชอบขนไปทิ้งให้ถูกที่ถูกทาง มี2-3ครั้งที่ผู้เขียนจ้างคนเก็บของเก่าให้ช่วยมัดขยะให้เป็นระเบียบและขนไปรอรถขนขยะที่ถังขยะประจำบ้านเสียเอง


ครั้งหนึ่งเมื่อผู้เขียนเห็นคนขับรถซาเล้งขนกิ่งมามาทิ้งในเขตบ้านร้างก็ตะโกนห้ามและบอกว่าให้ขนกลับไป ไม่อย่างนั้นจะจับ ปรากฏว่าซาเล้งคันนั้นก็ขนกลับไปจริง แต่กลับมาพร้อมกับชายคนหนึ่ง ซึ่งพอเข้ามาใกล้ผู้เขียนจึงจำได้ว่า เขาเป็นตำรวจนครบาลนอกเครื่องแบบ ซึ่งเคยช่วยขับรถออกจากบ้านให้ขณะที่ผู้เขียนยังเป็นมือใหม่หัดขับ และแสดงท่าทางไม่พอใจเป็นอย่างยิ่ง ทำให้ต้องรีบยกมือไหว้และกล้ำกลืนยอมให้ทิ้งกิ่งไม้ดังกล่าว
กิ่งไม้หลังการตัดแต่งสร้างความงามในบ้านของเศรษฐี เป็นเชื้อไฟอย่างดีในหน้าแล้ง โดยผู้นำมาทิ้งไม่สนใจว่า สิ่งนี้จะสร้างทุกข์อย่างไรแก่ผู้อื่นในเวลาต่อมา ผลงานการเผาครั้งที่4-5ของตายอม ซึ่งบัดนี้ลาโลกไปแล้ว แต่อย่างไรก็ดี ลึกๆ ผู้เขียนก็ยังเกรงว่า อาจจะมี "มือดี" รายใหม่เกิดขึ้นในอนาคตหากซอยนี้ไม่ได้รับการพัฒนาให้ทัดเทียมชุมชนอื่นๆ


เชื้อเพลิงอย่างดีถ้าได้ลมส่งละก็ไม่เหลือ



เช้าวันหนึ่ง ผู้เขียนเคยผลักอกตายอมที่ชอบด้อมๆ มองๆ เข้ามาในบ้าน ทิ้งๆ ที่ต่อว่าไปหลายครั้ง สายหน่อยพอจะออกจากบ้านก็ตกใจเพราะมีคนเห็นตายอมจุดไฟเผาหญ้าแห้งและลุกลามเข้ามาใกล้บ้าน ผู้เขียนรีบวิ่งไปบอกรปภ.บริษัทTWTด้านหน้าซอยKLM เนื่องจากไฟกำลังลุกติดที่สายไฟและหม้อแปลงหน้าบริษัท วันนั้นบริษัทTWT ใช้เครื่องดับเพลิงฉีดเคมีดับไฟหมดไฟหลายสิบอัน


จุดนี้ข้างซอยที่ผู้เขียนจอดรถประจำหลังบ้าน ผู้เขียนเคยใช้พื้นที่นี้จอดรถมากว่า 10 ปี เนื่องจากมีความร่มรื่น พอทำประตูใหม่เสร็จก็เอารถเข้าบ้านได้ ประกอบกับอายุมากขึ้นจึงผลัดวันประกันพรุ่งในเรื่องการถากถางด้วยตนเองจนต้องร้องขอความอนุเคราะห์จากเขตหลักสี่ให้เข้ามาดำเนินการปรับปรุงและพัฒนา


ถัดมาเล็กน้อย ต้องเขียนป้ายตามประสาว่า "อย่ามาปัสสาวะแถวนี้ เดี๋ยวคนไม่ดีจะทำตาม" ก็ได้ผลอยู่บ้าง


เศษวัสดุเกือบกลบฝาท่อระบายน้ำแล้ว


ทิ้งจนไหล่ทางจมหายไป ซึ่งผู้เขียนรอให้ได้ไหล่ทางและฟุตบาธ จากนั้นก็จะได้ร้องขอความอนุเคราะห์ในเรื่องสวนแนวตั้งต่อไป


สารพัดสาระเพจะนำมาทิ้ง ซึ่งอันที่จริงจากประสบการณ์ของผู้เขียนนั้น บรรดาขยะของเหลือใช้จากเคหสถานทั้งหลาย หากชุมชนเก็บมัดจัดระเบียบให้ดี แล้ววางข้างถังขยะ เสียบ้าง กทม.ก็ยินดีขนไปทิ้งให้อยู่แล้ว