จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันศุกร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2553

Responsible Ecological Social Tours

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
พจนา สวนศรี ผู้ประสานงานโครงการ

แนะนำโครงการท่องเที่ยวเพื่อชีวิตและธรรมชาติ
โครงการท่องเที่ยวเพื่อชีวิตและธรรมชาติ ก่อกำเนิดขึ้นในปี 2537 เป็นโครงการการท่องเที่ยว Home Stay บริเวณ สถานที่ของบ้านปราสาท หมู่ที่ 7 ต.ธารประสาทห่างจากตัวเมือง 45 กิโลกรัม จ.นครราชสีมา ภายใต้การสนับสนุนของมูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม ต่อมาในปี 2544 ได้แยกโครงการออกมาดำเนินงานโดยอิสระ มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความรับรู้และความเข้าใจของคนสังคมในเรื่องวัฒนธรรมชุมชนภูมิปัญญาท้องถิ่น

และการอนุรักษ์ทรัพยากรของชาวบ้าน ภายใต้บรรยากาศการเรียนรู้ที่เข้าไปสัมผัสวิถีชีวิตชาวบ้าน โดยการพักอาศัยร่วมชายคอ เข้าร่วมกิจกรรมในวิถีปกติของชาวบ้านรับประทานอาหารที่เป็นเอกลักษณ์ ลักษณะของท้องถิ่น มีชาวบ้านเป็นผู้พาเที่ยว

การดำเนินงานเพื่อให้บรรลุตามจุดเป้าหมายดังกล่าวโครงการฯ เห็นความสำคัญในการทำงานเพื่อเตรียมความพร้อมชุมชนให้เกิดสำนึกของท้องถิ่น เชื่อมโยงกิจกรรมท่องเที่ยวเข้าเป็นส่วนหนึ่ของกระบวนการพัฒนาชุมชนโดยรวม ในส่วนของนักท่องเที่ยว เอกทางโครงการฯ ถือเป็นภาระกิจหนึ่งที่ต้องทำความเข้าใจและให้ข้อมูลถึงการท่องเที่ยวโดยชุมชน ที่นักท่องเที่ยวในฐานะผู้ไปเยือนต้องเคารพวัฒนธรรมและกติกาของท้องถิ่นเช่นกัน

กิจกรรมของโครงการ
1. สร้างความเข้มแข็งของชุมชนในการจัดการการท่องเที่ยว
หัวใจสำคัญของการท่องเที่ยวโดยชุมชน คือการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการท่องเที่ยว โดยให้การท่องเที่ยวตอบสนองการพัฒนาคุณภาพชีวิต สร้างความภาคภูมิใจในตนเอง และเชื่อมโยงกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ความหมายของ CBST (หรือ เรียกอีกนัยว่า Home stay)
การท่องเที่ยวที่ยั่งยืนโดยมีชุมชนเป็นศูนย์กลาง หรือ Community Based Sustainable Tourism (CBST) แตกต่างจาก Ecotourism ตรงที่ CBST เป็นการจัดการท่องเที่ยวที่ชุมชนเป็นคนกำหนดทิศทางการท่องเที่ยว และอยู่ในบทบาทเจ้าของกิจกรรมการท่องเที่ยวไม่ใช่เพียงผู้ให้ความร่วมมือ เช่น สามารถกำหนดการเปิดรับการท่องเที่ยวได้เมื่อชุมชนมีความพร้อม และสามารถปฏิเสธได้เมื่อชุมชนไม่ต้องการ ซึ่งสามารถให้คำนิยามได้ว่า

หมายถึง การท่องเที่ยวที่คำนึงถึงความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อมและสังคม กำหนดทิศทางโดยชุมชน จัดการโดยชุมชน เพื่อชุมชน โดยที่ชุมชนมีบทบาทในการเป็นเจ้าของและมีสิทธิในการจัดการดูและเพื่อให้เกิดความยั่งยืนและก่อให้เกิดการเรียนรู้แก่ผู้มาเยี่ยมเยือน

รูปแบบการท่องเที่ยว
การท่องเที่ยวชุมชน (Community based)
1. การท่องเที่ยวเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการพัฒนาในชุมชน การท่องเที่ยวสามารถสร้างรายได้เสริมให้กับชาวบ้าน สร้างความภาคภูมิใจในตนเอง และวัฒนธรรมของชุมชน ในขณะเดียวกันการท่องเที่ยวก็สามารถสร้างสำนึกในการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
2. เป็นการท่องเที่ยวที่เน้นการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ระหว่างคนต่างวัฒนธรรม ก่อเกิดมิตรภาพและความเข้าใจของคนในสังคม

พักกับชาวบ้าน (Home Stay)
นักท่องเที่ยวที่เข้ามาเที่ยวในลักษณะนี้ส่วนใหญ่จะเป็นคนสนใจเรียนรู้วิถีชีวิตของชาวบ้าน การพักร่วมชายคาเดียวกับชาวบ้าน ถือเป็นโอกาสอันดีที่เขาเหล่านั้นจะได้สัมผัสชีวิตที่แท้จริงของชาวบ้านในชุมชน เสมือนหนึ่งเป็นลูกหลานและสมาชิกหนึ่งในครอบครัว

รับประทานอาหารท้องถิ่น (Meals)
นักท่องเที่ยวจะได้รับประทานอาหารที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น ซึ่งอาหารบางอย่างสามารถบอกได้ถึงภูมิปัญหาในการรักษาสุขภาพ วัฒนธรรมการกิน และอาหารที่ปรับเปลี่ยนไปตามฤดูกาล นอกจากนี้ความสมบูรณ์ของพืชพันธุ์ธัญญาหาร ยังสัมพันธ์กับบาทการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติของชาวบ้านในชุมชนอีกด้วย

ร่วมกิจกรรมในวิถีชีวิตชาวบ้าน (Activities)

นักท่องเที่ยวจะได้ร่วมกิจกรรมในวิถีชีวิตของชาวบ้าน เช่น การออกไปหาปลากับชาวบ้าน ไปเก็บผลไม้ หรือเกี่ยวข้าว ได้เห็นการทอผ้าไว้ใช้ การดูแลรักษาสุขภาพโดยใช้สมุนไพร การเรียนทำอาหารกับชาวบ้านหรือครอบครัวที่พัก รวมทั้งการพูดคุยแลกเปลี่ยนในประเด็นทางสังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อมก็สามารถทำได้ซึ่งโดยปกติคืนสุดท้ายของการพักในหมู่บ้าน ชาวบ้านจะจัดเวทีพูดคุยกับนักท่องเที่ยวอยู่แล้ว

2. การให้บริการงานฝึกอบรม
จากประสบการณ์ทำงานอย่างต่อเนื่อง ทางโครงการฯ ได้พัฒนาองค์ความรู้ในการทำงานกับชาวบ้านด้านการท่องเที่ยว โดยชุมชนจนสามารถเป็นวิทยากร ให้คำปรึกษา และจัดหลักสูตรการฝึกอบรมให้กับชุมชนที่สนใจ หน่วยงานรัฐบาลและเอกชนที่สนใจงานด้านนี้ซึ่งมีทั้งการฝึกอบรมในห้องเรียน และการฝึกอบรมภาคสนาม

บริการด้านการฝึกอบรม
การให้บริการด้านการฝึกอบรมของโครงการ มีทั้งการให้บริการในการเป็นที่ปรึกษาและการจัดฝึกอบรมปี 2540 เป็นที่ปรึกษาให้กับองค์กรพัฒนาเอกชน 3 แห่งในภาคเหนือเรื่องการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนปี 2543 จัดฝึกอบรมให้กับเจ้าหน้าที่จากกองสงเคราะห์ชาวเขา จำนวน 33 ศูนย์ 13 จังหวัดเรื่องการเตรียมความพร้อมชุมชนในการจัดการท่องเที่ยว ปี 2544 จัดฝึกอบรมให้กับกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมเรื่องการจัดการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ตัวอย่างหัวข้อการฝึกอบรม
* แนวคิดเรื่องการท่องเที่ยว โดยชุมชน
* การศึกษาความเป็นไปได้ของชุมชนในการจัดการการท่องเที่ยว
* การวางแผนเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในการจัดการการท่องเที่ยว
* การสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการการท่องเที่ยว
* ทักษะที่สำคัญในการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน เช่น การสื่อความหมายทางธรรมชาติและวัฒนธรรม, การจัดการองค์กร, การตลาด
* การติดตามและการประเมินผล

ประสบการณ์การทำงานฝึกอบรมที่ผ่านมา

นอกจากประสบการณ์การทำงานเรื่องการท่องเที่ยวโดยชุมชนแล้ว เจ้าหน้าที่ของโครงการเคยมีประสบการณ์ในการให้บริการงานฝึกอบรมกับกลุ่มองค์กรต่าง ๆ เช่น การจัดฝึกอบรมให้กับอาสาสมัครต่างประเทศ ที่จะเข้ามาเป็นอาสาสมัครทำงานประเทศไทยได้เข้าใจวิถีชีวิตและวัฒนธรรมไทย แลการฝึกอบรมให้กับหน่วยงานต่าง ๆ ในประเด็นที่เกี่ยวกับการพัมนาทรัพยากรมนุษย์
“Village Stay programme” 2 weeks programme
CUSO/Canada and VSO/UK Volunteer 1994-2000
“Village Stay programme” 1 weeks programme
JOCV/Japan Volunteer 1998-2001
“Village Stay programme” 2 weeks programme
KOV/Korea Volunteer 2000-2001
“Training of Local Tour Guides and Tour Guide Volunteers” 1997
“Improvement of the Thai Vocational Guidance System” 3 days programme
Department of Employment under the Ministry of Labour and Social Welfare, 1997
“ZOPP on the Establishment of Public Enterprise for Occupational Safety and Health Service” 2 days programme
National Institute for Improvement of Working Conditions and Environment (NICE),1997
“TOT on SERVICE Culture Training”
For staffs Bank for Agriculture and Agricultural Co-operative, 1997-2001
“Principle of Participation in the Operation of Trade Union” 3 days programme Women Labour Union Group, 1997
“Participatory Rural Appraisal and planning
For 6 villages for PLAN International Thailand, 1998
“RRA”
Urban Development Institute, 1998
“Project Development”
Save the Children – Khon Kaen Province, 1998
“Training on Community Based Tourism” March – June 2000
For staffs of Hill Tribe Development Center, Social Welfare Department, Ministry of Interior in 13 provinces

3. การจัดการศึกษาดูงาน
จากทักษะเรื่องการทำงานในพื้นที่ ประสบการณ์งานฝึกอบรมและการมีเครือข่ายงานพัฒนากับองค์กรพัฒนาเอกชน โครงการฯ สามารถจัดการศึกษา – ดูงานที่ผสมผสานระหว่างการเรียนรู้จากพื้นที่ การแลกเปลี่ยนกับคนทำงานและนักวิชาการ สู่การถกเถียงและเปลี่ยนที่สามารถนำไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการทำงานของผู้เข้าร่วมการศึกษาดูงานได้

ศึกษา-ดูงาน
ภูมิหลังของเจ้าหน้าที่และที่ปรึกษาโครงการ คือบุคคลที่ทำงานพัฒนาสังคมมากว่า 15 ปี มีเครือข่ายการทำงานทั้งในประเทศและต่างประเทศ การจัดการศึกษา – ดูงานและการฝึกอบรม เป็นการผสานของการสร้างการรับรู้ ความเข้าใจ และทักษะในการทำงาน โดยที่ใช้ความต้องการของผู้เข้าร่วมเป็นศูนย์กลาง
ประเด็นที่มักจะได้รับความไว้วางใจให้จัดการศึกษา – ดูงานส่วนใหญ่จะเป็นเนื้อหาเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ผลกระทบทางด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมจากโครงการขนาดใหญ่ การมีส่วนร่วมของชุมชน และการทำงานเครือข่าย เป็นต้น

ตัวอย่างการจัดการศึกษา – ดูงาน
“Global Ecology Study-1” 27 days programme
International Honor programme (IHP) in cooperation with bard college, MA, USA
Bangkok, Krabi, Pangnga, Songkhra in 1995
“Global Ecology Study-2” 41 days programme
International Honor programme (IHP) in cooperation with bard college, MA, USA
Bangkok, Surat Thani, Pangnga in 1997
“The Cooperation on Various Groups for Sustainable Development” 3 days programme
Bangladesh Government Officials
Pangnga in 1995
“Participatory Development of Community Forestry Management” 22 days programme
Doon watershed mangement Project supported by UNDP India
Chainat, Chiang Mai in 1996
“Participatory Natural Resource Management by Grassroots Organization Thailand” 8 days programme
Japan Environment Cooperation (JEC) and Japanese NGOs Center for International Cooperation (JANIC)
In 1996
“Participatory Natural Resource Management by Grassroots Organization, Thailand and Laos PDR” 18 days programme
Japan Environment Cooperation (JEC) and Japanese NGOs Center for International Cooperation (JANIC)
In 1998
“Capacity of Community Organization on the Community Business” 6 days programme
For the lacal leader from Walailak Community in cooperation with Walailak University
In 1997
“Providing Business Consultancy Services to the Community Business” 3 day programme
The Business Group for Thai Society with the support by The Asia Foundation, Thailand
In 1998
“Mekong Development and advocacy” 8 days programme
Oxfarm HongKong
In 1998
“Asian Meltdown, Human Crisis : Global Lessons for Sustainable Recovery” 6 days programme
IN COMMON Canadian Civil Society and Parliamentary Mission to Southeast Asia in cooperation with Canadian Council for International Co-operation (CCIC), Cassnada in 1998
“Shrimp Farming : Impacts on Environment and Local People” 6 days programme The Particpatory Action Research in cooperation with Pacific Asia Resources Center (PARC), Japan
in 1998

นโยบายของโครงการ
1. สร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนในการจัดการการท่องเที่ยว
2. สร้างกระบวนการแลกเปลี่ยน-เรียนรู้ระหว่างนักท่องเที่ยวกับชาวบ้าน
3. เคารพวัฒนธรรมและกติกาของท้องถิ่น
4. สนับสนุนเศรษฐกิจชุมชน
5. คำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการท่องเที่ยว

ลักษณะการท่องเที่ยวของโครงการ
ก่อนจะเกิดโปรแกรมการท่องเที่ยว ทางโครงการฯ ได้ร่วมวางแผนกับชุมชนถึงขีดความสามารถในการรองรับ จำนวนนักท่องเที่ยวที่เหมาะสม และจำนวนครั้งต่อเดือนหรือต่อปี เพื่อไม่ให้กิจกรรมการท่องเที่ยวส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของคนในชุมชน และขีดความสามารถในการรองรับของทรัพยากรธรรมชาติที่ชุมชนใช้ประโยชน์แม้ว่าการท่องเที่ยวจะให้บทบาทของชุมชนเป็นผู้ดำเนินการเป็นหลัก แต่โครงการท่องเที่ยวเพื่อชีวิตและธรรมชาติยังคงต้องทำบทบาทพี่เลี้ยงชุมชนและเป็นผู้เชื่อมโยงระหว่างนักท่องเที่ยวกับชาวบ้าน หากเปรียบชาวบ้านเป็นมัคคุเทศก์ที่สื่อความหมายทางธรรมชาติและวัฒนธรรม มัคคุเทศก์ของโครงการก็คือผู้สื่อความหมายทางสังคม ในการสร้างบรรยากาศการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างเจ้าของบ้านกับผู้มาเยือนการทำงานกับชุมชนและนักท่องเที่ยว ท้ายที่สุดแล้วคือการศึกษาหาองค์ความรู้เรื่องการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในการจัดการการท่องเที่ยวและการศึกษาการตลาดที่เหมาะสม รวมทั้งพฤติกรรมและทัศนคติของนักท่องเที่ยวที่สนใจรูปแบบการท่องเที่ยวดำเนินการโดยชุมชนซึ่งองค์ความรู้ดังกล่าวจะเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการพัฒนางานด้านนี้ต่อไป
หมายเหตุ
1. จำนวนนักท่องเที่ยวแต่ละครั้งไม่เกิน 15 คน
2. ทางโครงการฯ จะจัดกิจกรรมท่องเที่ยวต่อเมื่อมีผู้สนใจเข้าร่วมโครงการอย่างน้อย 6 คน
3. ต้องจองล่วงหน้าอย่างน้อย 2 สัปดาห์
4. ในบางโปรแกรมเริ่มและสิ้นสุดการท่องเที่ยวที่จังหวัดที่เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวของแต่ละภูมิภาคทั้งนี้เพื่อให้นักท่องเที่ยวเลือกพาหนะในการเดินทางเอง และไม่จำเป็นที่ต้องใช้กรุงเทพฯ เป็นศูนย์กลางเสมอไป ซึ่งทางโครงการฯ สามารถจัดการเรื่องตั๋วเดินทางให้หากนักท่องเที่ยวไม่สะดวกในการจัดการการเดินทางเอง

กิจกรรมท่องเที่ยวที่สัมพันธ์กับวัฒนธรรมและประเพณีของชุมชน

เทศกาลออกพรรษา ที่ จ.แม่ฮ่องสอน 29 กันยายน – 3 ตุลาคม 2544
เทศกาลลอยกระทง ที่ จ.สมุทรสงคราม 30-31 ตุลาคม 2544
เทศกาลสงกรานต์ ที่แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ 13-16 เมษายน 2545
กิจกรรมการท่องเที่ยวปกติ
สัมผัสชีวิตความผูกพันระหว่างชุมชนกับสายน้ำ
2 วัน 1 คืน ที่ จ.สมุทรสงคราม
17-18 พฤศจิกายน 2544, 19-20 มกราคม และ 16-17 มีนาคม 2545

สัมผัสวิถีชีวิตที่เรียบง่ายพึ่งพาธรรมชาติของชาวเขาเผ่ากระเหรี่ยง
3 วัน 2 คืน ที่ จ. แม่ฮ่องสอน
20-22 พฤศจิกายน 2544, 26-28 มกราคม และ 23-25 มีนาคม 2545
(เริ่มต้นและสิ้นสุดการเดินทางที่ จ. เชียงใหม่)

สัญจรสู่วิถีล้านนาที่หล่อเลี้ยงและหล่อหลอมด้วยศรัทธาแห่งพุทธศาสนา

3 วัน 2 คืน ที่ จ.เชียงใหม่
11-13 ตุลาคม 2544, 8-10 ธันวาคม 2544, 22-24 มกราคม และ 19-21 มีนาคม 2545

สัมผัสฟ้าสวย….ทะเลใส และออกหาปลากับชาวประมงพื้นบ้าน
3 วัน 2 คืน ที่ จ.พังงา
6-8 พฤศจิกายน, 7-9 ธันวาคม 2544, 25-27 มกราคม, 16-18 กุมภาพันธ์, 23-25 มีนาคม และ 18-20 เมษายน 2545 (เริ่มต้นและสิ้นสุดการเดินทางที่ จ. ภูเก็ต)

เรียนรู้ชีวิตคนทำสวนผสมผสานและการพึ่งพาตนเองของชาวบ้านปราสาทใต้
5 วัน 4 คืน ที่ จ. นครราชสีมา
1-5 พฤศจิกายน 2544, 21-25 มกราคม และ 18-22 มีนาคม 2545
(เริ่มต้นและสิ้นสุดการเดินทางที่ กทม.)

แง่คิดสรุป…มุมมองของคนทำงาน
พจนา สวนศรี
ผู้ประสานงานโครงการ

“ช่างฝันเกินไป…ไม่มีใครเขาอยากซื้อทัวร์เพื่อมาลำบากหรอก”
แรกเมื่อฉันเริ่มคิดทำเรื่องท่องเที่ยวโดยชุมชน มีหลายเสียงท้วงติงไม่เห็นด้วยเรื่องรูปแบบการท่องเที่ยวที่เน้นการท่องเที่ยวในหมู่บ้านพัก บ้านชาวบ้าน กินอาหารแบบที่ชาวบ้านกิน และออกไปไร่ ไปนา หาปลากับชาวบ้าน
บางคนนิยามทัวร์ที่ฉันทำว่า “ทรมานทัวร์”
อย่างไรก็ดีฉันได้ทำงานท่องเที่ยวในแบบที่ฉันคิดและหวังมาย่างเข้าปีที่ 8 แล้ว
“ทัวร์แบบนี้กำลังนำหายนะเข้าสู่หมู่บ้าน ทำให้ความเป็นส่วนตัวของชาวบ้านถูกรุกราน จากการเข้ามาของนักท่องเที่ยว” เสียงเตือนของมิตรที่คิดจะเก็บรักษาหมู่บ้านไว้ให้คงสภาพเดิมให้มากที่สุด
“ตราบใดที่เรายังคุมนักท่องเที่ยวไม่ได้ ก็ไม่ควรให้นักท่องเที่ยวเข้ามาเพล่นพล่านในบ้านเรา”
เป็นอีกเสียงหนึ่งที่ทัดทานไม่ให้ฉันเดินหน้าประชาสัมพันธ์เรื่องการท่องเที่ยวในแบบที่ทำอยู่
อย่างไรก็ตามสองสิ่งที่เป็นแรงบันดาลใจให้ฉันเดินหน้าเรื่องการท่องเที่ยวโดยชุมชนคือ ชาวบ้านและนักท่องเที่ยวนั่นเอง
ชาวบ้านที่ฉันทำงานด้วย เขาเหล่านั้นมีความสุข สนุกกับกิจกรรมที่ทำ มองเห็นคุณค่าของกิจกรรมที่ทำมากกว่าเงินตราแม้ว่าจะมีเรื่องรายได้เข้ามาเกี่ยวข้อง แต่ก็ไม่ได้ทำให้น้ำใจชาวบ้านตามวิถีแบบไทยเปลี่ยนแปลงไป
นักท่องเที่ยวที่เลือกจะเข้ามาเที่ยวในรูปแบบที่เน้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสัมผัสชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านในแบบที่ชาวบ้านเป็น แม้ว่าจะมีจำนวนน้อย แต่ว่าแต่ละคนที่มาล้วนพกพาความอยากรู้ อยากเห็นอย่างอ่อนน้อมและเคารพวัฒนธรรมท้องถิ่น นักท่องเที่ยวเรียนรู้จากชาวบ้านในทางกลับกันชาวบ้านก็ได้เรียนรู้แง่คิดมุมมองจากนักท่องเที่ยวด้วยเช่นกัน
ภูมิคุ้มกัน !!!
ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะเปิดหมู่บ้านให้แขกแปลกหน้าเข้ามา ยิ่งในวัฒนธรรมไทยที่ให้ความสำคัญกับคำว่า “คนที่มีหัวนอนปลายเท้า” กล่าวคือ รู้ว่าคนเหล่านั้นมีที่มาที่ไปอย่างไร
“ทำไมชาวบ้านจึงต้องการให้นักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยวในหมู่บ้าน?”
หลายคนอาจเดาว่าชาวบ้านต้องการรายได้เป็นแรงจูงใจ
ในการงานที่ทำฉันกลับพบว่ารายได้เป็นสิ่งที่ชาวบ้านต้องการเป็นลำดับท้าย ๆ สิ่งที่ชาวบ้านแข่งขันมานั่งคุยกันเพื่อสร้างองค์กรในการจัดการท่องเที่ยว คือความภาคภูมิใจในวัฒนธรรมของตน
ที่เกาะยาว ชาวบ้านต้องการเผยแพร่เรื่องราวการอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่งของชาวบ้านคีรีวง ชาวบ้านภาคภูมิใจในการเป็นชุมชนพึ่งตนเอง
แม่ฮ่องสอน ชาวกระเหรี่ยงมีชีวิตที่ผูกพันกับป่ามาช้านาน มีภูมิปัญหาในการดูแลรักษาป่า และดำเนินชีวิตที่เรียบง่ายพึ่งพาธรรมชาติ
แม่แจ่ม ชาวบ้านยังคงสืบทอดวัฒนธรรมดั้งเดิมของตนไว้อย่างมั่นคง โดยมี “ศรัทธาต่อพุทธศาสนา” เป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจของคน
แม่กลอง ชุมชนริมคลองที่มีชีวิตผูกพันกับสายน้ำ ความอุดมสมบูรณ์ของธัญญาหารทั้งพืชผัก ผลไม้ และอาหารทะเล รวมทั้งการสืบทอดวัฒนธรรมพื้นบ้าน เช่น หุ่นกระบอกและดนตรีไทยสู่เยาวชนคนรุ่นหลังต้องเตรียมความพร้อมชุมชน !!!
แม้ว่าชุมชนจะมีของดีอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นของตน แต่ต้องมีการเตรียมความพร้อมชุมชนในการจัดการท่องเที่ยว เพื่อให้การท่องเที่ยวเข้ามาสอดรับกับความต้องการของชาวบ้าน ให้การท่องเที่ยวสร้างความร่วมมือร่วมใจในการทำงานร่วมกันของคนในชุมชน ผู้อาวุโสถ่ายทอดความรู้สู้คนรุ่นใหม่ ผู้หญิงทำอาหารเตรียมบ้านพัก ผู้ชายต้อนรับพาเที่ยวหมู่บ้าน การกระจายบทบาทการทำงาน จัดสรรปันส่วนรายได้อย่างเป็นธรรมสร้างกองทุนกลางในการพัฒนาหมู่บ้าน แม้ชาวบ้านทุกครัวเรือนในชุมชนจะไม่ได้ทำกิจกรรมท่องเที่ยวแต่ก็ต้องสร้างให้เขารู้สึกเป็นเจ้าของกิจกรรมนี้และได้ประโยชนจากการท่องเที่ยวเช่นเดียวกันซึ่งเป็นบทบาทของโครงการท่องเที่ยวเพื่อชีวิตและธรรมชาติที่ฉันทำงานอยู่ เราไม่ได้ทำเพียงแค่การประชาสัมพันธ์ให้คนมาท่องเที่ยวเพียงอย่างเดียว ในทางกลับกันเรากลับรู้สึกว่าเป็นภาระความรับผิดชอบของโครงการฯ ที่ต้องทำงานร่วมกับชาวบ้านทั้งก่อนมีการท่องเที่ยว ระหว่างดำเนินกิจกรรมท่องเที่ยว และเมื่อกิจกรรมการท่องเที่ยวสิ้นสุดลงสร้างความเข้าใจแก่นักท่องเที่ยว !!! เป็นอีกภาระหนึ่งที่สำคัญเพราะการท่องเที่ยวโดยชุมชนเป็นการเปลี่ยนกระบวนทัศน์ใหม่ของการท่องเที่ยว ที่เน้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้มากกว่าการบริการ อีกทั้งนักท่องเที่ยวเองก็ต้องปรับตัวและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เหมาะสมและเคารพวัฒนธรรมของท้องถิ่นที่ไปเยือน จึงมีหลายเรื่องที่ต้องทำความเข้าใจกับนักท่องเที่ยวก่อนการตัดสินใจและลงไปในชุมชน
บางคนบอกว่าฉันสร้างกฎเหล็กที่ฝืนธรรมชาติของการท่องเที่ยว
ฉันคิดว่า…หากเราคาดหวังให้การท่องเที่ยวยั่งยืน เราก็ต้องสร้างกติกา ปรับเปลี่ยนทัศนคติและพฤติกรรมการท่องเที่ยวใหม่ งานท่องเที่ยวโดยชุมชนภายใต้โครงการท่องเที่ยวเพื่อชีวิตและธรรมชาติ เกิดและเติบโตท่ามกลางการทำงานทั้งสองด้าน คือด้านที่ทำงานกับชุมชน สร้างความเข้มแข็งของชุมชนในการจัดการท่องเที่ยว และด้านที่ทำเรื่องการประชาสัมพันธ์-การตลาด เพื่อให้คนสนใจการท่องเที่ยวรูปแบบนี้ให้มากขึ้น
หลายครั้งฉันถูกตั้งคำถามว่า “จะทำธุรกิจหรือทำงานพัฒนา?”
เหมือนกับถูกบังคับว่าต้องเลือกทำอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียว
แต่ฉันก็เชื่อเสมอว่าธุรกิจและการพัฒนาไปด้วยกันได้ หากธุรกิจนั้นเป็นธุรกิจเพื่อสังคมกำไรสูงสุดมิใช่เพื่อประโยชน์ส่วนตนอย่างเดียว แต่แบ่งปันให้กับสังคมอย่างเป็นธรรม
ฉันคงมีความสุขมากถ้างานท่องเที่ยวโดยชุมชนสามารถเป็นธุรกิจเพื่อสังคมได้
ทุกวันนี้เรายังต้องเขียนโครงการหาเงินมาทำงานกับชุมชน
เพราะการทำงานเรื่องนี้ต้องการการลงทุนทางสังคม นั่นคือการเตรียมความพร้อมชุมชน
ไม่เร่งรัดชุมชนให้เข้าสู่การท่องเที่ยวโดยที่ชุมชนยังไม่มีความพร้อม
โครงการของเราดำเนินงานธุรกิจที่ขาดทุนมาอย่างต่อเนื่อง
หวังว่าเราจะได้เพื่อนที่เข้าใจ เงินที่นักท่องเที่ยวจ่ายบอกตามตรงว่าเราได้กำไรประมาณ 30% เป็นกำไรที่ยังไม่ได้หักค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ คนทำงานที่นี่มีทั้งอาสาสมัครและเจ้าหน้าที่ประจำ ที่มีเงินเดือนเพียงพอต่อการดำรงชีพ เราไม่ได้หวังความร่ำรวยจากการทำงานนี้ เราเพียงแต่ต้องการหาคำตอบว่า การท่องเที่ยวเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้สามารถเกิดขึ้นได้หรือไม่ โดยที่ชุมชนมีส่วนร่วมและได้ประโยชน์จากการท่องเที่ยวคุณคือคนที่ฉันกำลังค้นหาอยู่หรือเปล่า
ร่วมเป็นหนึ่งในนักท่องเที่ยวที่ต้องการบอกกับสังคมว่า นักท่องเที่ยวที่ดีก็มีและนี่คือการท่องเที่ยวที่คุณแสวงหามานาน โดยการไปเที่ยวกับโครงการของเรา

ดังที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น กิจกรรม Home Stay เป็นเรื่องละเอียดละอ่อน มีผลกระทบอยู่ทั้งด้านบวก และด้านลบรวมถึงปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ที่ผู้ประสงค์จะดำเนินการต้องคำนึงถึงเป็นเบื้องต้น

ผลกระทบในเชิงบวก
- ก่อให้เกิดการกระจายรายได้เข้าสู้ท้องถิ่น
- เป็นการเผยแพร่วัฒนธรรมของชุมชน
- นักท่องเที่ยวมีโอกาสเรียนรู้และศึกษาวิถีการดำเนินชีวิต วัฒนธรรมของชุมชน อันจะก่อให้เกิดการอนุรักษ์ หวงแหนและภูมิใจในวัฒนธรรม

ผลกระทบในเชิงลบ
- วัฒนธรรมชุมชนมีโอกาสเปลี่ยนแปลงได้ง่ายหากชุมชนไม่เข้มแข็ง
- ชุมชนจะมุ่งหวังรายได้ อันจะก่อให้เกิดการประกอบ การด้านที่พักในเชิงธุรกิจ
- เกิดการพัฒนาสภาพแวดล้อมชุมชนเกินขอบเขตวิถีชีวิต ความเป็นอยุ่และวัฒนธรรมดั้งเดิม เพื่อมุ่งอำนวยความสะดวกให้กับนักท่องเที่ยว
- ที่พักสัมผัสวัฒนธรรมชนบทหรือ Home Stay ยังไม่มีกฎหมายหรือมาตรการรองรับ

1 ความคิดเห็น: